PREVIOUS
ENDOCRINE CELLS OFG - I TRACT & PANCREAS

      Gastroenteropancreatic (GEP) system คือระบบที่เกี่ยวกับพวกเซลล์ต่อมไร้ท่อในระบบทางเดินอาหาร กระเพาะ ลำไส้และตับอ่อน นอกจากนี้ยังนับพวกเซลล์เหล่านี้(GEP cells) เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเซลล์ ที่เรียกว่า Amine PrecursorUptakeand Decarboxylation (APUD) cells คือเป็นเซลล์ที่ไม่เฉพาะแต่สร้างและหลั่งฮอร์โมนซึ่งมีผลต่อกระเพาะลำไส้แล้ว ยังหลั่ง paracrine substancesโดยสารดังกล่าวแตกต่างจากฮอร์โมนตรงที่ paracrine substances ซึมผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์ที่ไปยังพวกเซลล์เป้าหมาย (target cells) แทนที่ผ่านเข้าน้ำเลือดแบบฮอร์โมนตัวอย่างparacrine substances คือ somatostatin มีหน้าที่หยุดยั้งพวกเซลล์ต่อมไร้ท่อของกระเพาะ ลำไส้ และตับอ่อนไม่ให้สร้าง และหลั่งฮอร์โมนตัวอื่นๆ

      ผิวที่ดาดท่อทางเดินอาหารสร้างฮอร์โมนที่สำคัญ 4 ชนิด (อาจพบมากกว่านี้) คือsecretin, gastrin, cholecystokinin (CCK) และ gastric inhibitory peptide(GIP) โดยฮอร์โมนเหล่านี้สร้างและหลั่งมาจากพวกเซลล์ต่อมไร้ท่อและซึมผ่านlamina propria เข้าสู่กระแสเลือดไปยัง plasma membrane ของพวกเซลล์ที่เป็นเป้าหมายพวกเซลล์ต่อมไร้ท่อของทางเดินอาหารมักกระจัดกระจาย หรือโดดเดี่ยวตลอดแผ่นเนื้อผิวที่บุทางเดินอาหารในการเตรียมชิ้นเนื้อ H&E บ่งชี้พวกเซลล์นี้ยาก มี granules ของ GEP cellsบางตัว สามารถบ่งชี้ด้วยการย้อมสีเกลือเงิน ทำให้เรียกเซลล์เหล่านี้ว่า argentaffinหรือ argyrophilic cells นอกจากนี้พวก granules ของ GEP cells บางชนิดสาธิตด้วยการย้อมเกลือโครเมทเรียกเซลล์พวกนี้ว่า enterochromaffin cells

สรุป : FUNCTIONS OF GASTRICGLANDS

สรุป : FUNCTIONSOF DIGESTIVE SYSTEM เริ่มจาก
LIVER (ตับ)
องค์ประกอบของตับ
     ตับเป็นต่อมทั้งชนิดมีท่อและไร้ท่อ และยังเป็นอวัยวะภายในร่างกายที่ใหญ่ที่สุดรับ venous blood จากกระเพาะ ลำไส้ ตับอ่อนและม้าม ผ่านทาง hepatic portalvein เข้าสู่เนื้อตับ ดังนั้น ตับจึงเป็นอวัยวะแรกที่รับหรือสัมผัสกับ metabolicsubstances จากอาหาร หรือสารพิษซึ่งดูดซึมผ่านมาจากลำไส้สู่เนื้อตับ

     เปลือกหุ้มตับ คือ Glisson's capsule มีบางส่วนยื่นแทรกเข้าไปในเนื้อตับให้เป็นsepta แบ่งเนื้อตับออกเป็นกลีบ (lobe) และย่อยลงมาเป็น lobules เมื่อตัดเป็นชิ้นเนื้อlobules มีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยม(Figure 91)ปลายแขนงของ hepatic artery และ hepatic portal veins พบอยู่บริเวณมุมที่3 lobules มาบรรจบกันเรียกบริเวณนี้ว่า portal canal (triads or area)(Figure93) ปัจจุบันแบ่งลักษณะกลีบขนาดเล็กของเนื้อตับออกเป็นหลาย แบบ (Figure96) ขึ้นอยู่กับการพิจารณาว่า จะแบ่งตามหน้าที่ หรือการไหลเวียนของน้ำดีเช่น แบ่งเป็น

ลักษณะโครงสร้างของเนื้อตับ(Parenchyma of liver) (Figure 91) และ (Figure92) มีองค์ประกอบดังนี้
     1.Hepatocytes (Figure 92 A) เรียงตัวเป็นแผ่นเมื่อตัดตามขวางของเนื้อตับ กลีบเล็ก มีลักษณะการเรียงตัว เป็นแท่งเรียก hepatic cordแผ่กระจายออกจากศูนย์กลางซึ่งเป็นที่อยู่ของ central vein
     2.เนื้อประสาน ทำหน้าที่พยุง โครงสร้างของเนื้อตับ
     3.หลอดเลือดดำ-แดง เส้นประสาท ท่อน้ำเหลือง และท่อน้ำดีฝอยและขนาดเล็ก

HEPATOCYTE(Figure92 B), (Figure 93)
     ต่อเนื่องเป็นแผ่นและให้เป็นองค์ประกอบสำคัญของ liver lobule (เนื้อตับกลีบเล็ก)เซลล์ตับมีขนาดใหญ่ประมาณ 20 - 30 ไมโครเมตร รูปหลายเหลี่ยม พบประมาณ 80%ของเซลล์ทั้งหมดในเนื้อตับ นิวเคลียสกลมใหญ่อยู่กลางเซลล์ cytoplasm ติดสีกรดระดับ กล้องจุลทรรศน์ธรรมดาพบ basophilic regions ซึ่งเป็นที่อยู่ของ roughendoplasmic reticulum ในระดับกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนบ่งชี้ organelles และinclusions (Figure 94) ได้แก่ RER, SER, mitochondria(800-100 อันต่อหนึ่งเซลล์), peroxisomes (200-300 อันต่อหนึ่งเซลล์), lysosomes(พบใกล้กับ bile canaliculi), glycogen granules, lipid droplets etc.

SINUSOIDS (Figure92 B), (Figure 94)
     Hepatic sinusoids บุด้วย discontinuous endothelium มี discontinuous basallamina รองรับ จากหลักฐานบ่งชี้ว่า endothelial cells ไม่ต่อเนื่องกันเพราะพบLargefenestrae (รูขนาดใหญ่) ใน cytoplasmic endothelial cells และไม่มี แผ่นเยื่อ(diaphragm) กั้น และ Large gaps (ช่องขนาดใหญ่) พบอยู่ระหว่าง endothelialcells
     hepatic sinusoids แตกต่างจาก sinusoids ในอวัยวะชนิดอื่นคือการพบเซลล์ชนิดที่สอง stellate sinusoidal macrophage หรือ Kupffer cell (Figure92 B) ซึ่งถือกำเนิดมาจาก blood monocytes ดังนั้นจึงนับว่าเป็นสมาชิกของmononuclear phagocyte system
     Kupffer cells ไม่มี junction เชื่อมกับ endothelial cells ที่อยู่ข้างเคียงแขนงของเซลล์ แผ่จับผนังของ sinusoidal lumen จากการที่พบชิ้นส่วนของเซลล์เม็ดเลือดแดงอยู่ในcytoplasm ของ kupffer cells ทำให้เข้าใจว่าหน้าที่ของเซลล์พวกนี้น่าจะเกี่ยวกับการเก็บกินพวกเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ชราภาพหรือไม่สมบูรณ์ เมื่อหลุดมาจากเนื้อม้ามมายังเนื้อตับ

PERISINUSOIDAL SPACE(Space of Disse) (Figure 92 B),(Figure94), (Figure 95)
    เป็นช่องพบอยู่ระหว่างbasal surfaces ของพวกเซลล์ตับและ basal surfaces ของ endothelial cells และkupffer cells ซึ่งดาด liver sinusoids มี microvillous processes ของเซลล์ตับยื่นเข้าไปอยู่ในช่องว่างนี้อย่างไม่เป็นระเบียบ(Figure95) อาจพบ lipocyte or adipose cell or Ito cell บรรจุอยู่ใน space ofDisse เข้าใจว่าเซลล์ดังกล่าวทำหน้าที่เก็บ สะสมวิตามินเอ เพื่อนำส่งไปใช้ยังretina ของตา
    หน้าที่ของSpace of Disse คือเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสารต่างๆ ระหว่างน้ำเลือดกับ สารที่เซลล์ตับสร้างและหลั่งออกมาดังนั้นโปรตีนและ lipoproteins สร้างมาจากเซลล์ตับเมื่อ ถูกกระตุ้นจะหลั่งออกสู่กระแสเลือดโดยผ่านเข้าทางperisinusoidal space ก่อน ซึ่งเทียบเท่า กับเป็นวิธีการหลั่งสารฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อของเซลล์ตับนั่นเอง

BILE CANALICULI (ท่อน้ำดีฝอย)(Figure100), (Figure 101)
    เป็นช่องขนาดเล็กมากพบอยู่ท่ามกลางผนังของพวกเซลล์ตับ canaliculus นี้บรรจุ microvilli ของเซลล์ตับและถูกล้อมรอบด้วย zonulae occludentes เพื่อกั้นไม่ให้น้ำดีผ่านซึม ออกมาอยู่ในadjacent intercellular space พบ bile canaliculi เป็นวงล้อมรอบ hepatocyte(Figure98)จากนั้นน้ำดีผ่านเข้าสู่ small bile ducts (canal of Hering หรือ intralobularcanal) ซึ่งท่อดังกล่าว ยังพบอยู่ระหว่างเซลล์ตับ ต่อมาน้ำดีเทลงสู่ bileduct ที่เข้ามาอยู่ใน portal canals (Figure 92A) &(Figure 99)

เลือดที่มาเลี้ยงเนื้อตับมี2 เส้น
    1. hepaticportal vein นำเลือด 75% จากอวัยวะภายในช่องท้องเข้าสู่เนื้อตับ
    2. hepaticartery นำเลือด 25% เข้าสู่เนื้อตับ
    ภายในเนื้อตับเลือดที่มาจากแขนงเส้นเลือดทั้งสองพบและผสมกันตรงบริเวณ sinusoidal capillaries ต่อมาเทออกจากเนื้อตับ ทาง hepaticvein สู่ inferior vena cava

FUNCTIONS OF LIVER
  • EXOCRINE GLAND หลั่งน้ำดี (BILE)
  • ENDOCRINE GLAND หลั่งน้ำตาล LIPOPROTEINSvia BLOOD
  • SYNTHESIS : PLASMA PROTEINS, CHOLESTEROLS
  • METABOLISM : LIPIDS, PURINES, ALCOHOL,GLUCONEOGENESIS
  • STORAGE : GLYCOGEN, VITAMIN A&B
  • DETOXIFICATION
  • INACTIVATED EXOGENOUS COMPOUNDS
  •      ตับเป็นต่อมมีท่อเพราะสร้างน้ำดี (bile) ผ่านออกมทาง biliary tree ส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อนั้นเซลล์ตับสร้างalbumin, lipoproteins, nonimmune & and b-globulins, prothrombin และglycoproteins หลายชนิด เช่น fibronectin รวมทั้ง glucose ผ่านตรงเข้าสู่เส้นเลือดฝอยในเนื้อตับไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ตับเป็นแหล่งสะสม glycogen วิตามินเอและบี หน้าที่สำคัญอีกอย่างของตับคือ เกี่ยวกับเมตาบอลิซึมพวก lipid-soluble drugs (รวมทั้ง detoxification)และ steroids (สร้าง cholesterols) ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณ smooth endoplasmicreticulum ของเซลล์ตับ นอกจากนั้นใน mitochondria, cytosol สร้าง urea จากammonium ions

    PORTAL (TRIADS, AREA)CANAL

    Portal triads ประกอบด้วย
  • Portal vein รับ venous blood จากผนังท่อทางเดินอาหาร ตับอ่อน และม้าม ไปยังตับผ่าน เข้าสู่ liver sinusoids
  • Hepatic artery แขนงแยกมาจาก celiactrunk รับ oxygenated blood ไปยังตับผ่านเข้าสู่ liver sinusoids
  • Bile duct รับน้ำดีที่สร้างมาจากเซลล์ตับออกจากเนื้อตับทาง hepatic bile duct
  • GALL BLADDER (ถุงน้ำดี)
         ถุงน้ำดี บรรจุน้ำดี 40-70 มิลลิลิตร เป็นแหล่งเก็บและทำน้ำดีให้เข้มข้น แต่สร้างน้ำเมือก (mucin) ผนังของถุงน้ำดีมี 3 ชั้น คือ mucosa, muscularis externa,adventitia (มีบางส่วนเป็น Serosa) น้ำดีที่มาจากถุงน้ำดีผ่านออกทาง spiralvalve สู่ cystic duct ต่อมารวมกับน้ำดีที่ผ่านมาจาก Hepatic duct รวมให้เป็นcommon bile duct ผ่านสู่ sphincter of Boyden และ Oddi เทออกทาง ผนังของลำไส้เล็กส่วนduodenum ตรงบริเวณ Duodenal papilla ฮอร์โมนพวก secretin, cholecystokinin(CCK) และ gastrin จาก enteroendocrine cells กระตุ้นเพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
    ลักษณะโครงสร้างของผนังถุงน้ำดี(Figure97)
  • ชั้น mucosa ดาดด้วย simple columnarepithelium และมีส่วนยื่นออกเป็น mucosal folds เนื้อผิวรองรับด้วย laminapropria ซึ่งบรรจุ fenestrated capillaries และ small venules จำนวนมาก แต่ไม่มีท่อน้ำเหลืองนอกจากนั้นพบกลุ่มของ lymphocytes, plasma cells ไม่พบชั้น muscularis mucosaeและ submucosa เหมือนกับผนังของลำไส้
  • ชั้น muscular externa ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบปะปนกับใยเนื้อประสานชนิดcollagen และ elastic
  • ชั้น serosa เป็นชั้น adventitiaคลุมด้วย serous membrane
  • BILE (น้ำดี)
         ประกอบด้วยน้ำ cholesterol & phospholipids (i.e., lecithin), bile salts(หรือ bile acids), bile pigments และ electrolytes พบว่า bile salts เป็นemulsifying agents ช่วยในการย่อยและดูดซึมพวกไขมันจากลำไส้และยังช่วยให้cholesterol และ phospho- lipids ของน้ำดีคงอยู่ในรูปสารละลาย  90% ของ bile salts ถูกดูดซึมกลับคืนเข้าสู่ เนื้อตับทาง portal blood เช่นเดียวกับcholesterol และ lecithin, electrolytes และ น้ำถูกดูดซึมคืนกับมาใช้อีก ส่วนbile pigments ถูก detoxify ให้เป็น bilirubin นำมาทิ้งลงในลำไส้
    BILE FLOWS (การหลั่งของน้ำดี)เริ่มจาก
  • HEPATOCYTES (SYNTHESIZE BILE)
  • BILE CANALICULI
  • TERMINAL DUCTULES (CANALS OF HERING)
  • INTERLOBULAR BILE DUCTS
  • HEPATIC DUCT & CYSTIC DUCT
  • COMMON BILE DUCT
  • DUODENAL PAPILLA
  •      น้ำดีสร้างมาจากเซลล์ตับ ส่งผ่านไป bile canaliculi -----> canal of Hering-----> interlobular bile ducts ----->hepatic duct ต่อมารวมกับ cystic duct-----> common bile duct เทลงสู่ -----> duodenal papilla.

    PANCREAS (ตับอ่อน)(Figure102)
        เป็น mixedexo-endocrine gland ซึ่งแตกต่างจากตับ ตรงที่พวกเซลล์ตับสร้าง และหลั่งทั้งสารที่ผ่านออกท่อและออกทางกระแสเลือด ส่วนตับอ่อนมีองค์ประกอบพวกเซลล์ทั้งสองชนิด แยกจากกันเด่นชัดคือ
           A. Exocrine component(Figure 103) ประกอบด้วยserous acini ทำหน้าที่สร้างและหลั่งน้ำย่อยหลายชนิด โดยออกมาในรูปของ inactiveenzymes or proenzymes (บรรจุอยู่ใน zymogen granules) เมื่อถูกกระตุ้นจะให้เป็นactive enzymes เช่น trypsinogen, amylase, lipase etc. น้ำย่อยเหล่านี้ช่วยย่อยอาหารในลำไส้เล็กส่วนต้นลักษณะเด่นของต่อมส่วนนี้คือ มี ductal cells อยู่ภายใน acinus เรียกว่า centroacinarcells (Figure 103), (Figure104) ส่วน acinar (serous) cells พบ cytoplasmic basophilia เด่นชัดตรงsubnuclear region แต่ acidophilic zymogen granules อยู่บริเวณ apical cytoplasm
           B. Endocrine component(Figure 102) พวกเซลล์มีลักษณะขดรวมกันเป็นกลุ่มติดสีจางกระจายอยู่ใน exocrine pancreas เรียกว่า Islets of Langerhan พบประมาณ 1-2% ของปริมาตรของเนื้อตับอ่อน พวกเซลล์ของ islet สร้างและหลั่งฮอร์โมนอย่างน้อย 3 ชนิดได้แก่
               Insulin สร้างจาก B cells ซึ่งพบ 70% ของเซลล์ทั้งหมด หน้าที่ของ ฮอร์โมนนี้เกี่ยวกับกระตุ้นให้เกิดuptake of glucose, ultilization and storage of glucose, phosphorylationof glucose และ synthesis of glycogen ถ้าขาด Insulin เกิดโรคเบาหวาน (diabetesmellitus)
               Glycagon สร้างจาก A cells พบ 15-20% ของเซลล์ทั้งหมด ฮอร์โมนนี้ทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับInsulin
               Somatostatin สร้างจาก D cells พบ 5-10% ของเซลล์ทั้งหมด ฮอร์โมนนี้คล้ายกับฮอร์โมนที่สร้างมาจาก*hypothalalmus ซึ่งควบคุมการทำงานของ growth hormone อย่างไรก็ดีการทำงานของsomatostatin ของ Islet ยังไม่กระจ่างชัด แต่เคยมีการสาธิตให้เห็นว่าฮอร์โมนนี้ยับยั้งการหลั่งของglucagon และ insulin
     

    Figure 63Figure 64Figure 65Figure 66Figure 67Figure 68Figure 69Figure 70
    Figure 71Figure 72Figure 73Figure 74Figure 75Figure 76Figure 77Figure 78
    Figure 79Figure 80Figure 81Figure 82Figure 83Figure 84Figure 85Figure 86
    Figure 87Figure 88Figure 89Figure 90Figure 91Figure 92Figure 93Figure 94
    Figure 95Figure 96Figure 97Figure 98Figure 99Figure 100Figure 101Figure 102
    Figure 103Figure 104
    สารบัญหลัก
    บทที่แล้ว
    บทต่อไป
    แบบทดสอบ