ระบบทางเดิน (หรือย่อย) อาหารและอวัยวะต่อมมีท่อที่สร้างน้ำย่อย (เทลง สู่ทางเดินอาหาร) ประกอบด้วย
  • ORAL CAVITY (ช่องปาก) เริ่มตั้งแต่ริมฝีปาก(lips) และอวัยวะชนิด ต่างๆ ที่อยู่ภายในช่องปาก
  • MAJOR GLANDS OF THE DIGESTIVESYSTEM ได้แก่ ต่อมน้ำลายขนาดใหญ่ 3 คู่ สร้างน้ำลาย (ptyalin) เทลงสู่ช่องปากตับอ่อน (pancreas) สร้างน้ำย่อยเทลงสู่ ลำไส้เล็กส่วนต้น ตับ (liver) สร้างน้ำดีช่วยในการemulsified fat และถุงน้ำดี (gall bladder) เป็นที่เก็บน้ำดี
  • ALIMENTARY CANAL เริ่มตั้งแต่Esophagus (หลอดอาหาร), Stomach (กระเพาะอาหาร), Small intestine (ลำไส้เล็ก: Duodenum, jejunum, ileum), Large intestine (ลำไส้ใหญ่ : Colon, caecum,rectum) จนถึง Anal canal (ช่องทวาร) โดยทั่วไปผนังทางเดินอาหาร มีลักษณะโครงสร้างพื้นฐานคล้ายกันคือ แบ่งออกเป็น 4 ชั้น มีแต่ชั้นแรกที่ติดกับ lumen ที่มีลักษณะแตกต่างกันบ้างพอที่จะแยกแต่ละส่วนของ ทางเดินอาหารได้

  • ORAL CAVITY (ช่องปาก)
    ทำหน้าที่รับอาหาร, น้ำ และทำให้อาหารมีขนาดเล็กลงเพื่อสะดวกในการย่อย แบ่งออกเป็น 2 ช่องคือ

  • Vestibule ล้อมรอบด้านหน้าด้วยริมฝีปากและด้านข้างเป็นแก้ม (cheeks) ด้านในล้อมรอบด้วย dental arch
  • Oral cavity proper ล้อมรอบด้านนอกด้วยฟันด้านล่างเป็นพื้นปาก ด้านบนเป็นเพดานแข็ง และอ่อน ส่วนนี้บรรจุลิ้น (tongue)ฟัน (teeth) ต่อมทอนซิล (tonsil) และท่อเปิดออก ของต่อมสร้างน้ำลาย (salivaryglands)

  • LIPS (ริมฝีปาก) แบ่งออกเป็น2 ส่วน

  • External surface คลุมด้วยผิวหนังชนิดบางบรรจุต่อมขน ต่อมเหงื่อ และต่อมไขมัน
  • Transitional zone (vermillionzone, ริมฝีปากสีชมพู) พบในคนเท่านั้น เนื้อผิวที่คลุมเป็น wet stratifiedsqamous non-keratinized epithelium ใต้ต่อเนื้อผิวบรรจุ เนื้อประสานและ minorsalivary glands

  • TEETH (ฟัน) (Figure63)

    ในระดับมหกายวิภาค ประกอบด้วย crown(ส่วนบน) และ root (รากฟัน) ฟันบรรจุอยู่ในช่องกระดูก (bony socket or alveolus)มีเนื้อประสานชนิด dense collagenous connective tissue ที่เรียกว่า periodontalligament ยึดฟันประกอบเนื้อเยื่อที่มีแคลเซียม มาเกาะ 3 ชนิด และแกนของฟัน(pulp) ซึ่งเป็น gelatinous type of mesenchymal tissue บรรจุหลอดเลือดแดง-ดำท่อน้ำเหลืองเส้นประสาท และพวกเซลล์เนื้อประสาน
    เนื้อเยื่อที่มีแคลเซียมเกาะ(calcified tissue) 3 ชนิด ได้แก่
  • Enamel เป็นเนื้อฟันที่แข็งที่สุดพบเฉพาะส่วน crown สร้างมาจาก ameloblasts ซึ่งเซลล์นี้จะไม่พบ เมื่อฟันโผล่ขึ้นเหนือเหงือกแล้ว
  • Dentin พบเป็นองค์ประกอบอยู่ในcrown และ root ล้อมรอบแกนฟัน (pulp)สร้างมาจาก odontoblasts ต่อมาภายหลังคงเหลืออยู่แต่แขนงที่ยาวเป็นแท่งเรียง ตามขวาง เรียกว่า dentinal tubules
  • Cementum พบเฉพาะรากฟัน มีdentin ล้อมรอบ สร้างมาจาก cementoblasts ต่อมาเซลล์พวกนี้ถูกขังอยู่ ในเนื้อแคลเซียมจึงเปลี่ยนชื่อเป็น cementocytes ส่วนพวกใยเนื้อสานของ periodontal ligamentฝังอยู่ใน cementum และเนื้อกระดูก

  • TONGUE (ลิ้น) (Figure65)

    เป็นอวัยวะกล้ามเนื้อลาย มีลักษณะเป็นแท่งแบนปลายเคลื่อนที่ได้อิสระ ส่วนโคนลิ้นติดกับคอหอย (pharynx) มีต่อม serous และmucoserous glands (Figure 66) อยู่ใต้ต่อเนื้อผิวที่คลุมลิ้น และแทรกในกล้ามเนื้อลาย ลิ้นแบ่งออกเป็น 2 บริเวณ
  • Oral region(anterior two-thirds, ในช่องปาก) เนื้อผิวคลุมส่วนบนเปลี่ยนแปลงไปเป็น lingualpapillae (ตุ่มรับรส) มี 4 ชนิด ได้แก่
  • Pharyngealregion (Posterior one-thirds) เนื้อผิวที่ดาดมี lymphatic nodulesแทรกจำนวนมาก ซึ่งเป็นองค์ประกอบอยู่ใน lingual tonsils
  • SALIVARY GLANDS (ต่อมน้ำลาย)
        เป็น compound(branched) tubuloacinar glands หน่วยในการสร้างและหลั่ง (secretory unit)คือ acinus ซึ่งประกอบด้วย serous cells (acini) หรือ mucous cells (acini)ในการเตรียมชิ้นเนื้อ H&E serous cells มีลักษณะแตกต่างจาก mucous cellsตรงที่ cytoplasm ติดสีเข้มเพราะบรรจุ granules ที่ติดสี ส่วน mucous cellsไม่ติดสีเห็นใส เนื่องจากบรรจุ mucinogen granules ซึ่งถูกละลายโดยสารเคมีในขบวนการเตรียมเนื้อเยื่อนอกนั้นลักษณะนิวเคลียสของ mucous cells แบบติดกับฐานของเซลล์ ส่วนนิวเคลียสของserous cells กลม Excretory unit (หน่วยนำสารออก) เริ่มจากปลายสุดของ secretoryunit คือ intercalated ducts ซึ่งท่อนี้ยังดาดด้วย secretory cells จากนั้นสารที่หลั่งไหลผ่านไปตามท่อที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรียก striated ducts ที่เรียกเช่นนี้ เพราะในระดับกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาเห็นลายตรงบริเวณฐานของเซลล์ที่ดาดท่อชนิดนี้ ซึ่งตรงกับส่วนพับของ basalplasma membrane ยื่นเข้าไปอยู่ใน cytoplasm จำนวนมากและแทรกด้วยแท่ง mitochondria(ศึกษาจากอิเลคตรอน) เซลล์ที่ดาดใน striated ducts เป็นทรงลูกเต๋า ต่อจากท่อส่วนนี้ให้เป็นexcretory duct มี lumen กว้าง เซลล์ที่ดาดเป็น tall columnar ชนิด pseudostratifiedปลายสุดของหน่วยท่อหลั่งออก คือ main excretory duct เซลล์ที่ดาดท่อเปลี่ยนเป็นชนิดstratified columnar epithelium
    ต่อมน้ำลายที่สำคัญและมีขนาดใหญ่3 คู่ เนื้อต่อมมีลักษณะโครงสร้างสังเขป ดังนี้
  • Parotid gland (Figure70 A B) เป็นต่อมน้ำลายข้างกกหู ซึ่งมีขนาดใหญ่สุด มีท่อเปิดออกในช่องปากเนื้อของต่อมประกอบด้วย serous acini มี intercalated ducts ยาวแต่แคบ ส่วนstriated ducts ยาวและเห็นเด่นชัด
  • Submandibular gland(Figure71)พบอยู่ใต้ต่อขากรรไกรล่าง เป็น mixed seromucous acini ในคนส่วนใหญ่เป็น serousacini มีท่อมาเปิดออกที่พื้นปากข้างต่อ frenulum ของลิ้น มี intercalatedduct จำนวนน้อยกว่า parotid gland แต่มี serous demilune (Figure72) เด่นชัด
  • Sublingual gland (Figure69) พบอยู่ใต้ลิ้น เป็นต่อมน้ำลาย ขนาดเล็กสุด มีท่อมาเปิดร่วมกับ submandibularduct หรือออกตรงที่พื้นปาก เนื้อต่อมส่วนใหญ่เป็น mucous acini มี intercalatedducts และ striated ducts จำนวนน้อย เพราะสั้นมากหรืออาจจะไม่พบเลย
  • น้ำลาย (SALIVA)
        เป็น hypotonicwater ประกอบด้วย mucous, น้ำย่อยชนิดต่าง ๆ เรียกรวมว่า Ptyalin enzymesซึ่งส่วนใหญ่ คือ amylase และ lysozyme (น้ำย่อยที่ฆ่าเชื้อโรค) นอกนั้นมีantibodies และ inorganic ions
    หน้าที่โดยทั่วไปของต่อมน้ำลายสรุปได้เป็นดังนี้
  • สร้าง Ptyalin enzyme
  • เป็นเมือกหล่อลื่นอาหาร (lubrication)
  • เป็นตัวละลาย (solvent action)
  • กำจัดเชื้อโรคทำให้ช่องปากให้สะอาด(Cleaning)
  • GENERAL STRUCTURAL WALLOF G-I TRACT
    (ลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของท่อทางเดินอาหาร)

    ผนังแบ่งออกเป็น 4 ชั้น (Figure73), (Figure 74) เริ่มนับจากภายใน lumenออกมาด้านนอก ได้แก่

    1. ชั้น MUCOSA อยู่ด้านในสุดมีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับbarrier, secretory และabsorptive function แบ่งย่อยออกเป็น 3 ชั้น
  • SUPERFICIAL EPITHELIUM เป็นwet epithelial lining กั้น lumen ท่อทางเดินอาหาร เนื้อผิวสร้างและหลั่งน้ำย่อยหลายชนิดฮอร์โมน น้ำเมือก และแอนตี้บอดี้ บางบริเวณดูดซึมอาหาร ที่ย่อยแล้วเข้าสู่วงจรของน้ำเลือด
  • LAMINA PROPRIA ประกอบด้วยเนื้อประสานบรรจุต่อมมีท่อหลอดเลือดเพื่อดูดซึมอาหาร และสารภูมิคุ้มกัน ดังนั้น บางบริเวณจึงพบ diffuselymphatic tissue, lymphatic nodules, eosinophils และ macrophages
  • MUSCULARIS MUCOSAE เป็นขอบเขตกั้นระหว่างชั้นเนื้อผิวกับชั้นใต้ ต่อ mucosa ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบบางๆ 2 ชั้นเรียง inner circular และ outer longitudinal layer มีหน้าที่ทำให้ชั้น mucosaเคลื่อนโดยไม่ขึ้นกับ การเคลื่อนทั้งผนังของท่อทางเดินอาหาร นอกจากนั้นยังมีความสามารถขวางกั้นไม่ให้เซลล์มะเร็ง เมื่อเกิดในชั้นเนื้อผิวลามออก จากชั้น laminapropria ได้ง่าย
  • 2. ชั้น SUBMUCOSA อยู่ใต้ต่อชั้นmucosa ประกอบเนื้อประสานที่ค่อนข้างหนา และเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ บรรจุหลอดเลือด ท่อน้ำเหลือง เส้นประสาทและปมประสาท (submucosal หรือ Meissner'splexus) ในชั้นนี้บางบริเวณพบ ต่อมมีท่อ เช่น ใน esophagus และลำไส้เล็กส่วนduodenum หรือพบกลุ่มของเนื้อเยื่อน้ำเหลือง (Figure84)
    3. ชั้น MUSCULARIS EXTERNA ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบค่อนข้างหนา 2 ชั้นคือ inner circular และ outer longitudinallayer มีบางบริเวณที่ชั้น circular muscle หนาขึ้น และสร้างเป็น sphincterหรือ valve ได้แก่บริเวณ pharyngoesophageal sphincter,gastroduodenal sphincter,ileocecal valve และ internal sphincter นอกจากนั้นพบหลอดเลือด ท่อน้ำเหลืองเส้นประสาทและปมประสาท (Myenteric หรือ Auerbach's plexus, (Figure76) ผนังลำไส้ใหญ่มีชั้นกล้ามเนื้อเรียบ เรียงตามยาว และหนาขึ้นสร้างเป็นแผ่นยาว3 แผ่นเรียก teniae coli
    4. ชั้น SEROSA OR ADVENTITIAเป็นชั้นนอกสุด ท่อทางเดินอาหารบางส่วน ชั้นนี้ติดกับผนังทรวงอก หรือช่องท้องได้แก่esophagus, duodenum, ascending colon และ descending colon ทำให้ชั้นนี้ประกอบด้วยเนื้อประสานชนิดหลวม และเรียกว่า adventitia ลำไส้ส่วนอื่นๆ ที่เหลือยึดติดกับmesentery และถูกคลุมด้วย serous membrane (serosa) ซึ่งประกอบด้วย mesothelium(simple squamous epithelium) และมีเนื้อประสานดาด อยู่ด้านใน พบหลอดเลือดขนาดใหญ่ท่อน้ำเหลือง เส้นประสาทในชั้นเนื้อประสาน แต่ในบางบริเวณบรรจุเนื้อไขมันจำนวนมาก


    SECRETION (การหลั่ง)

    ตลอดผนังท่อทางเดินอาหารบรรจุต่อมมีท่อจำนวนมากดังนั้นการหลั่งจึงเป็นหน้าที่สำคัญอันหนึ่งของระบบนี้ สิ่งที่สร้างและหลั่งออกมาคือน้ำเมือก(mucous) น้ำย่อย (enzymes) น้ำและสารหลายชนิด เพื่อช่วยในการย่อย และหล่อเลื่อนกากอาหารโดยต่อมมีท่อเหล่านี้เกิด จากการหวำของ luminal epithelium สร้างเป็น


    ABSORPTION (การดูดซึม)

    โครงสร้างที่ยื่นออกมาทั้งชั้น mucosaและชั้น submucosa เข้าไปอยู่ใน lumen ของ ท่อทางเดินอาหาร ทำให้เพิ่มเนื้อผิวของการดูดซึมสารอาหารของลำไส้ โครงสร้างดังกล่าว มีขนาดและการเรียงตัวต่างกันเช่น
  • Rugae เป็น longitudinallyoriented mucosal and submucosal folds พบในกระเพาะ
  • Plicae circulares (valvesof kerckring) เป็น circumferentially oriented submucosal folds (Figure81 B) และ (Figure 82 B) พบเกือบตลอดความยาวของลำไส้เล็ก
  • Villi (Figure82) และ (Figure 83) เป็น mucosal projectionพบบริเวณผิวของลำไส้เล็กทั้งหมด ทำหน้าที่เป็น แหล่งย่อยอาหารที่สำคัญ
  • Microvilli (Figure81 A) เป็น microscopic projections พบหนาแน่นบริเวณ spical surface ของabsorptive cells ซึ่งดาดลำไส้เล็ก และยังทำหน้าที่เพิ่มเนื้อที่ในการดูดซึมสารอาหาร
  • Glycocalyx ประกอบด้วย glycoproteinsพบคลุมผิวบน plasma membrane ของเซลล์เนื้อผิว ทำหน้าที่เพิ่มพื้นที่ ในการดูดซึมและเป็นที่อาศัยของน้ำย่อย โดยเฉพาะ disaccharidase และ dipeptidase ที่หลั่งออกมาจากต่อมในผนังลำไส้เล็ก

  • ESOPHAGUS (หลอดอาหาร)(Figure73) , (Figure 75) , (Figure77)

    เป็น muscular tube ชั้น mucosaดาดด้วย stratified squamous non-keratinized epithelium (Figure77) ในคนยาวประมาณ 25 เซนติเมตร รับอาหารเป็น bolus (ก้อนอาหารเหลว) ผ่านมาจากoropharynx เข้าสู่กระเพาะ ชั้น lamina propria บรรจุ esophageal cardiacglands และพบบ่อยในส่วนปลาย ของหลอดอาหาร ชั้น muscularis mucosa ค่อนข้างหนาโดยเฉพาะในส่วนต้นของ oesophagus เพราะทำหน้าที่ช่วยในการกลืนอาหาร
  • ชั้น submucosa ร่วมกับชั้นmuscularis mucosae สร้างเป็น longitudinal folds ทำให้ lumen ของท่ออาหารย่นเมื่อตัดตามขวางชั้นนี้บรรจุ esophageal glands proper ซึ่งพบมากบริเวณครึ่งบนของผนัง
  • ชั้น muscularis externaแตกต่างจากลำไส้ส่วนอื่นเพราะเศษหนึ่งส่วนสามทางส่วนบนเป็นกล้ามเนื้อลาย และต่อเนื่องกับกล้ามเนื้อของoropharynx บริเวณเศษหนึ่งส่วนสามทางส่วนกลางประกอบด้วย กล้ามเนื้อลาย และเรียบทางส่วนปลายที่เหลือเป็นกล้ามเนื้อเรียบ
  • ชั้น adventitia เป็นชั้นนอกสุดติดกับผนังทรวงอก เมื่อผ่านเข้าช่องท้องถูกคลุมด้วย serosa
  • STOMACH (กระเพาะ, (Figure77)
        รับอาหารจากหลอดอาหารและคลุกเคล้ากับน้ำย่อยจากกระเพาะให้เป็นของเหลวเรียกว่า chyme ก่อนที่เคลื่อนลงสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น กระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ cardia, fundus และ pylorusผนังกระเพาะมีลักษณะพื้นฐาน ดังกล่าวมาแล้ว ผิวด้านในกระเพาะเป็น rugae มีรูเปิดออกของgastric glands (Figure 78) , (Figure79) ที่ผิวของกระเพาะ เรียกว่า gastric pit or foveolae พบ gastric glandsอยู่ในชั้น lamina propria พวกเซลล์(Figure 80)ที่เป็นองค์ประกอบของ gastic glands ได้แก่ parietal (oxyntic) cells, mucousneck cells, APUD cells หรือ enteroendocrine cells (กล่าวภายหลัง), chiefcells (พบมากในส่วนของ fundic glands) บางตำราเพิ่ม undifferentiated cellsและหรือ regenerative cells

    SMALL INTESTINE (ลำไส้เล็ก)(Figure81) , (Figure 82) , (Figure84)
        ยาวที่สุดคือมากกว่า6 เมตร ประกอบด้วย duodenum (ยาว 25 ซม.), jejunum (ยาว 2.5 ม.) และ ileum(ยาว 3.5 ม.) ชั้น mucosa ทั้งสามส่วนมี villi (Figure83) ซึ่งเป็น ส่วนยื่นของ lamina propria ที่ปกคุลมด้วย simple columnarepithelium พวกเซลล์เนื้อผิว ประกอบด้วย surface absorptive cells or enterocytes,goblet cells (Figure 88) และ APUD cells (สร้างและหลั่งฮอร์โมนหลายชนิดเช่นsecretin, cholecystokinin, gastric inhibitory peptide และ gastrin) พบ simpletubular glands of the mucosa (the crypts of Lieberkuhn, Figure 85) โดยมีปากท่อเปิดออกตรงบริเวณช่องระหว่างvilli ต่อมมีท่อดังกล่าวประกอบ ด้วย simple columnar cells, APUD cells, regenerativecells, goblet cells และ Paneth cells (Figure 86)เซลล์ชนิดสุดท้ายบรรจุ secretory granules เข้าใจว่าเป็น antibacterial enzymeชื่อ lysozyme ชั้น lamina propria ของลำไส้เล็กส่วน ileum บรรจุกลุ่มเนื้อเยื่อน้ำเหลืองจำนวนมากเรียก Peyer's patches (Figure84) ในชั้น submucosa ของลำไส้เล็ก ส่วน duodenum บรรจุ duodenal (Brunner's)glands สร้างและหลั่ง alkaline (ด่าง), mucin-containing fluid เพื่อเคลือบผิวบนของลำไส้เล็กบางตำรากล่าวว่าสร้าง urogastrone เป็น polypeptide ที่ยับยั้งการสร้าง HClและช่วยส่งเสริมการแบ่งตัวของเซลล์

    LARGE INTESTINE (ลำไส้ใหญ่)(Figure87) , (Figure 89) , (Figure90)
        แบ่งออกเป็นcecum, appendix (ส่วน blind pouch ยื่นออกมาจากปลาย caecum ต่อกับ colon),ascending, transverse, descending และ sigmoid colon, rectum และ anal canalลำไส้ใหญ่ไม่มี villi แต่มี crypts of Lieberkuhn อยู่ในชั้น lamina propriaเนื้อผิวที่ ดาด lumen มี goblet cells แทรกจำนวนมาก พวกเซลล์ที่พบอยู่ในcrypts ได้แก่ goblet cells, surface absorptive cells, regenerative cellsและบางครั้งพบ APUD cells ไม่พบ Paneth cells ในลำไส้ใหญ่ แต่อาจพบได้ใน appendix,มีแผ่น longitudinal layer of smooth muscle 3 แผ่นในชั้น muscularis externaเรียกว่า teniae coli ทำให้ลำไส้ใหญ่ เกิดมี haustra coli (sacculations)ชั้น serosa มี appendices epiploicae (ถุงไขมัน) ลักษณะที่เด่นชัดของ appendix(Figure89), (Figure 90 A) คือมี longitudinalmuscle layer ที่สมบูรณ์ (ไม่มี teniae coli) และมีกลุ่มเนื้อเยื่อน้ำเหลืองจำนวนมากในชั้นsubmucosa อาจพบ fecal material ใน lumen ของ appendix

    ANAL CANAL (ช่องทวาร)
        ผิวด้านในlumen มีรอยย่นพับเป็นทางยาวเรียก anal columns โดยมีส่วนปลายเปิดออกที่รูทวาร(anus) และยังสร้างเป็น anal valves โดยมี anal sinuses แทรกเนื้อผิวที่ดาดrectum เป็นชนิด simple columnar(Figure 90 B)แต่จะเปลี่ยน เป็น simple cuboidal epithelium บริเวณ anal valve และเปลี่ยนเป็นstratified squamous epithelium ตรงรอยเชื่อมต่อกับผิวหนังซึ่งบรรจุ circumanal(large apocrine) glands, ต่อมขน และต่อมไขมัน ชั้น submucosa มีหลอดเลือดมาเลี้ยงจำนวนมากส่วนชั้น muscularis externa มี internal anal sphincter muscle มาเสริม ชั้นadventitia เชื่อมกับเนื้อเยื่อที่อยู่ล้อมรอบ

    GO TONEXT PAGE