ระบบทางเดินลมหายใจประกอบด้วยปอด 1 คู่ และท่อทางผ่านอากาศขนาดใหญ่ ซึ่งต่อมาแตกแขนงลดลำดับขั้นเล็กลงจนปลายสุดให้เป็นถุงลม (alveolus) ผ่านเข้า-ออก ระหว่างช่องโพรงจมูกกับเนื้อปอด(Figure105) ระบบนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนท่อทางผ่านลมหายใจ (conductingportion) และส่วนที่มีการหายใจแลกเปลี่ยนก๊าซ O2 และ CO2(respiratory portion) อย่างไรก็ดี มีท่อทางผ่านลมหายใจขนาดใหญ่อยู่นอกเนื้อปอด(extrapulmonary part) ส่วนขนาดเล็กพบในเนื้อปอด (intrapulmonary part) เส้นผ่าศูนย์กลางท่อนำอากาศหายใจมีขนาดยืดหดได้บ้าง ขึ้นอยู่กับจำนวนกล้ามเนื้อเรียบที่ล้อมรอบทางเดินอากาศส่วนนั้นๆ

หน้าที่สำคัญของระบบทางเดินหายใจ
    1. ให้เป็นทางผ่านเข้า-ออกของลมหายใจ(air conduction)
    2. กลั่นกรองอากาศหายใจ(airfiltration) ทำให้ลมหายใจสะอาด (cleansing) ชุ่มชื้น (humidifying) และควบคุมอุณหภูมิของอากาศที่ผ่าน (adjusting its temperature) ซึ่งหน้าที่เหล่านี้ เป็นการทำงานร่วมกันของเนื้อผิวที่ดาดท่อทางเดินอากาศและเนื้อประสานใต้ต่อเนื้อผิว โดยบรรจุหลอดเลือดฝอย และต่อมมีท่อหลั่งน้ำเมือกข้นและใส
    3. แลกเปลี่ยนก๊าซO2 กับ CO2(gas exchange) เกิดขึ้นระหว่างผนังถุงลม กับหลอดเลือดฝอย

ท่อทางเดินอากาศหายใจประกอบด้วย
    1.CONDUCTING PORTION ส่วนนี้ถูกพยุงด้วยกระดูกแข็งหรือกระดูกอ่อนขึ้นอยู่กับชนิดของท่อ เพื่อทำให้ท่อนี้ไม่แฟบ ท่อทางเดินอากาศส่วนนี้ แบ่งย่อยออกเป็น
       i) extrapulmonary region ประกอบด้วย nasal cavities (ช่อง - โพรงจมูก),pharynx (คอหอย), larynx (กล่องเสียง), trachea (หลอดลม) และ bronchi (หลอดขนาดเล็ก)
       ii) intrapulmonary region เริ่มตั้งแต่ intrapulmonary bronchi, bronchiolesและ terminal bronchioles
    ลักษณะโครงสร้างทางวิทยาฮิสโตของท่อส่วนนี้
       A. Nasal Cavity ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
           1. Respiratory region (บริเวณที่เกี่ยวกับการหายใจ) ส่วนนี้ดาดด้วย respiratory(pseudostratified ciliated columnar) epithelium with goblet cells (Figure113)โดยมีเนื้อประสานรองรับ ส่วนชั้น submucosa บรรจุหลอดเลือดจำนวนมากและ seromucous glands
           2. Olfactory Region (บริเวณที่เกี่ยวกับประสาทพิเศษดมกลิ่น)(Figure107) ส่วนนี้ ดาดด้วยเนื้อผิวที่หนาคือ pseudostratified ciliated columnarepithelium without goblet cells ประกอบด้วยเซลล์อย่างน้อย 3 ชนิด คือ basalcells, sustencular (supporting) cells และ olfactory cells รองรับด้วยชั้นlamina propria ที่บรรจุหลอดเลือดฝอยและ Bowman's glands จำนวนมาก โดยต่อมมีท่อเหล่านี้สร้างและหลั่งน้ำใส(water mucus) มาเคลือบบนเนื้อผิว ส่วน olfactory cells รับ sensory stimuliผ่านไปยังaxons ที่รวมกันเป็นกลุ่มเส้นประสาทเข้าสู่ cribriform plate ของกระดูก ethmoidให้เป็นเส้นประสาท คู่ที่ 1 คือ olfactory nerve
       B. Larynx (กล่องเสียง)(Figure 108) แบ่งย่อยออกเป็น3 ส่วนคือ vestibule, ventricle และ infraglottic cavity มี ventricular และvocal folds เป็นขอบเขตส่วนบน และล่างของ ventricle โดยทั่วไปกล่องเสียงดาดด้วยrespiratory epithelium ยกเว้น ventricular fold ที่ดาดด้วย stratifiedsquamous non-keratinized epithelium (Figure 109)ผนังกล่องเสียงพยุงด้วยกระดูกอ่อน extrinsic และ intrinsic muscles และบรรจุต่อมมีท่อชนิดหลั่งและสร้างmucous และ seromucous secretion ออกมา
       C. Trachea (หลอดลม)(Figure 111) เป็นท่อที่มีผนังพยุงด้วยกระดูกอ่อนชนิดhyaline cartilage รูปเกือกม้าหรือตัวซี จำนวน 15-20 อัน หุ้มโดยส่วนของวงด้านหลังที่วางทับบนหลอดอาหาร(Oesophagus)(Figure 110) เชื่อมด้วยกล้ามเนื้อเรียบtrachealis muscle ปนกับ fibro-elastic tissue เพื่อให้อาหารที่ผ่านหลอดอาหารโป่งออกไปทาง- หลอดลมได้เล็กน้อย
           ลักษณะโครงสร้างของผนังหลอดลมโดยทั่วไป(Figure106) แบ่งออกเป็น 4 ชั้นคือ
           i) Mucosa ประกอบด้วย respiratory epithelium และ lamina propria
           ii) Muscularis ชั้นนี้เริ่มพบในหลอดลมที่อยู่ในเนื้อปอด เพราะทำหน้าที่ควบคุมเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดลมและแรงต้านของอากาศที่ผ่านท่อ
           iii) Submucosa layer ประกอบด้วยเนื้อประสานและมักพบ mucoserous glandsบรรจุอยู่ จำนวนมาก-น้อยขึ้นอยู่กับขนาดของท่อ
           iv) Cartilagenous layer เป็นชั้นพยุงท่อไม่ให้แฟบ พบได้ 2 ลักษณะ คือเป็นรูปเกือกม้าหรือรูปตัวซีและ irregular plates ขึ้นอยู่กับชนิดของหลอดลม
           v) Adventitia ประกอบด้วยเนื้อประสาน
         ลักษณะโครงสร้างของผนัง trachea ชั้น mucosa ประกอบด้วย respiratoryepithelium ที่มี goblet cells จำนวนมาก (Figure113)รองรับด้วยชั้น lamina propria ที่ มี elastic tissue เด่นชัด ไม่พบชั้นmuscularis ชั้น submucosa บรรจุ serous และ mucous gland ชั้นกระดูกอ่อนเป็น15-20 horseshoe-shaped rings ของ hyaline cartilage โดยมีผนังด้านหลังเป็นtrachealis muscle (Figure 111)เชื่อมปิดปลายทั้งสองข้างของกระดูกอ่อนรูปตัวC ชั้นสุดท้ายคือ adventitia
       D. Extrapulmonary Bronchi มีลักษณะโครงสร้างทางวิทยาฮิสโตคล้ายกับ tracheaสามารถแยกได้โดยศึกษาตำแหน่ง ทางมหกายวิภาค นั่นคือเป็นส่วนของหลอดลม ที่เริ่มแยกออกเป็น2 ท่อจาก trachea และยังคงอยู่นอกเนื้อปอด
       E. Intrapulmonary Bronchi (Figure 112)เป็นหลอดลมที่มีขนาดเล็กลงพบในเนื้อปอด ชั้น mucosa ดาดด้วย respiratoryepithelium with goblet cells มี lamina propria ที่มีใย collagen เป็นองค์ประกอบรองรับชั้นmuscularis บรรจุแผ่น กล้ามเนื้อเรียบ 2 อัน พันล้อมรอบท่อในลักษณะ helixชั้นsubmucosa ประกอบด้วย เนื้อประสานที่บรรจุ seromucous glands ต่อมน้ำเหลืองขนาดเล็กและ pulmonary arteriesชั้นกระดูกอ่อนมีลักษณะเป็น irregularly shapedhyaline cartilage plates ที่เชื่อมรอยต่อด้วยเนื้อประสานชั้น adventitiaเป็น dense collagenous connective tissue ที่ต่อเนื่องกับเยื่อหุ้มกระดูกอ่อน
       F. Bronchioles(Figure 114)ท่อนำอากาศหายใจขนาดเล็กที่ไม่มีกระดูกอ่อนพยุงเป็นโครงร่างใน bronchioles ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ (ประมาณ1 mm) ชั้น mucosaเนื้อผิวที่ดาดเป็นชนิด ciliated columnar epithelium with a few goblet cellsส่วนใน bronchioles ที่มีขนาดเล็กลงดาดด้วย ciliated simple low columnarto simple cuboidal epithelium (Figure 115)ที่แทรกด้วย nonciliated clara cells(Figure 116)เข้าใจว่า Clara cells แทนที่ goblet cells ชั้น lamina propria ไม่พบต่อมมีท่อชั้นmuscularis เป็นชั้นกล้ามเนื้อเรียบที่หนาและเห็นเด่นชัด
       G. Terminal Bronchioles(Figure 117) มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า0.5 mm ท่อส่วนนี้ชั้น mucosa ดาดด้วย simple cuboidal epithelium(some ciliated) ที่มี clara cells แทรก ชั้นเนื้อประสานและกล้ามเนื้อเรียบที่ผนังมีจำนวนลดลงมาก
    2.RESPIRATORY PORTION เป็นส่วนที่เริ่มมีการแลกเปลี่ยนก๊าซ และต่อมาจาก Terminal bronchiole
       A. Respiratory Bronchiole เนื้อผิวที่ดาดท่อมีลักษณะคล้ายกับ terminalbronchioles เว้นแต่มีช่องว่างหรือกระพุ้งให้ถุงลม (alveoli) มาเปิดร่วม(Figure118)เริ่มมีการแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นครั้งแรก
       B. Alveolar Duct (Figure 119) ผนังท่อส่วนนี้ประกอบด้วยปากถุงลมมาเปิดจึงไม่มีลักษณะเป็นผนังตนเองalveolar duct ยาวและตรงโดยมีเนื้อผิวชนิด simple squamous epithelium ดาดที่ปากถุงลมเป็นระยะๆปลายสุดของ alveolar duct คือ alveolar sacs
       C. Alveolar Sac (Figure 120)ประกอบด้วยกลุ่มของถุงลม
       D. Alveolus (Figure 121) เป็นถุงลมผนังดาดด้วยเนื้อผิวชั้นเดียวโดยมีbasal lamina ร่วมกับเส้นเลือดแดงฝอย ซึ่งเป็นชนิด continuous capillariesเซลล์เนื้อผิวที่ดาดถุงลมมี 2 ชนิด คือ
           i. Type I alveolar cells (Figure 122)ลักษณะเป็น simple squamous cells หรือ lining cells พบจำนวนมากทำหน้าที่ดาดผนังถุงลม
           ii. Type II alveolar cells หรือ septal cells(Figure123) มีลักษณะเป็น cuboidal cells (EM ของ Type ii alveolar cell (Figure124) มักพบบริเวณมุมของถุงลมและมีจำนวนน้อย ทำหน้าที่สร้าง surfactantเพื่อลดแรงดึงผิวของถุงลม ผนังถุงลมบางบริเวณ มี alveolar pores (ช่องติดต่อระหว่างถุงลม)นอกจากนั้นพบ dust cells (macrophages)(Figure125),(Figure 126) fibroblasts และ connectivetissue elements

Blood-Air-Barrier(สิ่งกีดขวางการผ่านเข้า-ออกของก๊าซระหว่างอากาศในถุงลมและ น้ำเลือดในหลอดเลือด)
     เป็นส่วนของผนังถุงลมซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดบางและชนิดหนา(Figure127) โดยทั่วไป blood-air-barrier ประกอบด้วย

เลือดที่ผ่านเข้าเนื้อปอดมี 2วงจร คือ Pulmonary circulation และ Bronchial circulation
    Pulmonarycirculation เป็นวงจรของ pulmonary artery ออกจาก Right ventricle ของหัวใจซึ่งเป็นเลือดชนิด deoxygenated blood เส้นเลือดนี้แตกแขนงไปตามแขนงของ bronchiและ bronchiole แขนงปลายสุดให้เป็นร่างแหของเส้นเลือดฝอย ที่ผนังถุงลมเรียกalveolar capillary network ณ บริเวณนี้มีการแลกเปลี่ยน CO2 &O2 ระหว่างน้ำเลือดและอากาศในถุงลม ผลทำให้เลือดได้รับ Oxygenมากขึ้น และเข้าสู่เส้นเลือดฝอยบริเวณผนังถุงลมคือ pulmonary venous capillaries,veins และ 4 pulmonary veins ตามลำดับน้ำเลือด จึงเป็นชนิด oxygenated bloodเข้าสู่หัวใจบริเวณ Left atrium เส้นเลือดที่รับ O2 กลับมามักพบอยู่ห่างจากท่อทางเดินอากาศคืออยู่บริเวณรอบนอกของ bronchopulmonary segments
    Bronchialcirculation เป็นวงจรของ bronchial arteries ซึ่งเป็นแขนงออกมาจาก aortaไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของเนื้อปอด ยกเว้นผนังของถุงลม ปลายแขนงของเส้นเลือดแดงนี้คือbronchial capillaries ซึ่งมาบรรจบรวมกับ pulmonary capillaries ตรงบริเวณรอยต่อระหว่างconducting และ respiratory passages

ท่อน้ำเหลือง
    มี 2 วงจรและคู่ไปกับวงจรของเส้นเลือดวงจรหนึ่งรับน้ำเหลืองจากเนื้อปอด ผ่านมาตามท่อเดินอากาศไปสู่ขั้วปอด วงจรที่สองรับน้ำเหลืองจากผิวของเนื้อปอดผ่านเข้าไปในเนื้อประสานของ visceral pleura (serous membrane ซึ่งประกอบด้วยmesothelium และ underlying connective tissue) เส้นประสาท ไม่สามารถบ่งชี้ในระดับกล้องจุลทรรศ์ธรรมดาเส้นประสาทประกอบด้วย sympathetic และ parasympathetic divisions ของ autonomicnervous system (ANS)

สารบัญหลัก
บทที่แล้ว
บทต่อไป
แบบทดสอบ