Lymphatic system เป็นระบบในเนื้อประสานชนิดพิเศษ ที่ประกอบด้วยเซลล์ เนื้อเยื่อและอวัยวะซึ่งมีหน้าที่พื้นฐาน เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย โดยพบเนื้อเยื่อน้ำเหลือง(lymphatic tissue) กระจัดกระจายหรือรวมกันเป็นกลุ่ม (diffuse or nodularlymphatic tissue) เซลล์ที่สำคัญของระบบนี้ คือ LYMPHOCYTES ซึ่งมีหน้าที่เฉพาะต่อระบบภูมิคุ้มกันเซลล์นี้มีขนาดเล็กแบ่งตามหน้าที่มี 2 ชนิด (จากลักษณะรูปร่าง แบ่งแยกไม่ได้)คือ

           I. B-lymphocytes (B-cells)  เข้าใจว่าถือกำเนิดมาจากไขกระดูก และ bursaof Fabricius in birds (ใน mammals) เซลล์ชนิดนี้มีความสามารถเปลี่ยนไปเป็นplasma cells ซึ่งสร้างและหลั่ง humoral antibodies ต่อต้านเฉพาะ สิ่งแปลกปลอมที่เรียกว่า antigens เมื่อ Antigen - Antibodies รวมตัวกัน อาจทำให้เกิดขบวนการphagocytosis or opsonization หรือกระตุ้นให้เกิด complement activation เป็นผลให้มีchemotaxis ของ เม็ดเลือดขาวชนิด Neutrophils เกิดการทำลาย (lysis) ของสิ่งแปลกปลอม
           II. T-lymphocytes (T-cells) กำเนิดมาจากต่อมไธมัส (Thymus) เซลล์นี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับgraft rejection (กำจัดสิ่งที่แปลกปลอมที่มาสัมผัสหรืออยู่ร่วม) คือ เมื่อสิ่งแปลกปลอมมาสัมผัสT-cells จะหลั่ง cytokines เป็นสารที่กระตุ้น macrophages ออกมากำจัดสิ่งแปลกปลอมบ่อยครั้งที่ T-cells ออกมาทำงานร่วมกับ B-cells
              ปัจจุบัน T และ B cells แบ่งย่อยออกเป็นหลายชนิดตามชนิดการทำงานเฉพาะ จึงมีชื่อเรียกต่างกันเช่นB-memory cells, T helper cells, cytotoxic T cells และ suppressor T cellsเป็นต้น

       เนื้อเยื่อน้ำเหลือง  (lymphatic  tissue)    แบ่งตามลักษณะโครงสร้างและการกระจายของ lymphocytes  ในเนื้อเยื่อออกเป็น  2 ชนิดคือ
               1.  DIFFUSE  LYMPHATIC  TISSUE
               2.  DENSE  (NODULAR) LYMPHATIC  TISSUE



DIFFUSE  LYMPHATIC (LYMPHOID)  TISSUE
    พบในต่อมน้ำเหลืองทุกชนิดทั่วร่างกายและกระจายอยู่ในเนื้อประสานที่รองรับเนื้อผิว เช่น ชั้น lamina propria หรือsubepithelial connective tissue ของผนังทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ตัวอย่างdiffuse lymphatic tissue เช่น บริเวณผนังลำไส้เล็กส่วน Ileum ที่เรียกว่าPeyer's patches (รูปที่ 45)  ในเนื้อต่อมน้ำเหลืองส่วนparacortical area
(รูปที่50)  เนื้อต่อมไธมัสส่วน cortex และเนื้อม้ามส่วน periarterial lymphaticsheath เป็นต้น

DENSE  (NODULAR) LYMPHATIC  (LYMPHOID) TISSUE
    พบรวมเป็นกลุ่มหรือก้อน(nodules) แทรกอยู่ในส่วน diffuse lymphatic tissue แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
       1. Primary (1o)  nodules ประกอบด้วย  small  lymphocytes เกาะกลุ่มเป็นก้อนในชิ้นเนื้อที่ย้อม  H&E ติดสีเข้ม
       2. Secondary (2o)  nodules เมื่อ primary nodules สัมผัสกับสิ่งแปลกปลอมซึ่งผ่านเข้ามาในต่อมน้ำเหลือง lymphocytes  เกิดปฏิกริยาเปลี่ยนแปลงทำให้บริเวณตรงกลางของ1o nodules  ติดสีจางเรียกว่าเกิดมี  germinal center  แทรกภายใน primary nodule ทำให้เห็นบริเวณขอบนอกซึ่งประกอบด้วย small  lymphocytes   เรียกว่า  corona หรือ mantle zone (รูปที่ 47)  โดยทั่วๆ ไป  germinal centers บรรจุ  B-lymphocytes (ส่วนใหญ่), plasma  cells, macrophages  etc.

อวัยวะต่อมน้ำเหลืองแบ่งตามลักษณะเปลือกที่หุ้มออกเป็น 3 ชนิด คือ
    1. non-encapsulated  lymphoid  tissue ได้แก่ Peyer's patchesพบที่ผนังของ ลำไส้เล็กส่วน Ileum
    2. partially  encapsulated  lymphoid  tissue ได้แก่ ต่อมทอนซิล(tonsils) (รูปที่ 46) มีเปลือกหุ้มที่บริเวณฐาน ผิวบนปกคลุมด้วยเนื้อผิว  เช่น  palatine tonsil (รูปที่49) ,  lingual tonsil  และ pharyngeal  tonsil (รูปที่48)          ต่อมทอนซิลสองชนิดแรกเนื้อผิวที่คลุมเป็นstratified squamous (non-keratinized) epithelium ชนิดหลังคลุมด้วย pseudostratifiedcolumnar epithelium มักพบต่อมทอนซิลบริเวณทางเข้าออกของช่องปากและคอหอย (pharynx)  เพราะมีหน้าที่ดักจับเชื้อโรคที่ปะปนกับอาหารหรืออากาศที่หายใจเข้าไป ถ้าเกิดมีการอักเสบติดเชื้อเรียกว่า  Tonsillitis
    3. Completely  encapsulated  lymphoid  tissue มีเปลือกหุ้มโดยรอบและมีส่วนของเปลือกแทรกเข้าไปแบ่งเนื้อต่อม ออกเป็นส่วนๆ แต่ไม่ตลอดเรียกว่าtrabeculae อวัยวะต่อมน้ำเหลืองชนิดดังกล่าวได้แก่ ต่อมน้ำเหลือง (lymph nodes),ต่อมไธมัส (Thymus) และม้าม (spleen)
       3.1 Lymph nodes (ต่อมน้ำเหลือง)  (รูปที่50)  พบตามทางเดินของท่อน้ำเหลือง (lymphatic  vessels) โดยรับ afferent lymph vessels  แทงผ่านผิวเปลือกทางส่วนโค้งของต่อมไปยังsubcapsular  sinuses (รูปที่ 51), subtrabecularsinuses,  medullary sinuses  ตามลำดับ  และออกจากต่อมน้ำเหลืองตรงบริเวณขั้ว(hilum)  ซึ่งเป็นบริเวณที่เว้าโดยผ่านออกทาง efferent lymph  vessel ควบคู่ไปกับเส้นเลือด  เนื้อของต่อมน้ำเหลืองแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Cortex (ด้านนอก)  และ Medulla (ด้านใน)   ในเนื้อ cortex ประกอบด้วย  diffuse  lymphoid  tissue (paracortical or deepcortical area),  1o nodular  และ  2onodular  area ส่วนเนื้อ medulla ประกอบด้วย medullary cords และ medullarysinuses หน้าที่ของต่อมน้ำเหลืองส่วนใหญ่ เกี่ยวกับ  lymph  filtration(กรองน้ำเหลืองเพื่อดักจับเชื้อโรคสิ่งแปลกปลอมและทำลาย โดยการทำงานของ macrophages)สร้าง lymphocytes  ชนิด  B-cells    และผลิต antibodies   โดย plasma  cells  เพราะเกี่ยวข้องกับhumoral  mediated  immune  responses
           ในเนื้อต่อมน้ำเหลืองบริเวณที่พบ  B  และ  T  lymphocytes อาจสรุปได้ดังนี้
               -  B  lymphocytes  พบมากในส่วน  cortex  (บริเวณgerminal  centers)  และ medullary  cords
               -  T lymphocytes  พบมากในส่วน  deep  cortex (thymus-dependent cortex) หรือ paracortex  area
               -   ทั้ง B และ T lymphocytes  พบบริเวณที่  deep และ  nodular  cortex  มาบรรจบกัน
       3.2  Thymus (ต่อมไธมัส)  (รูปที่52) ลักษณะเป็นกลีบ พบบริเวณ superior mediastinum อยู่หน้าต่อ greatvessels มีเปลือกบางหุ้ม ไม่มีทั้ง afferent lymph vessels และ nodular lymphoidtissue เนื้อต่อมแบ่งออกเป็น cortex และ medulla มีหน้าที่สร้าง T-lymphocytesซึ่งเกี่ยวกับ cell-mediated immune response และ Thymosin (เข้าใจว่าสร้างมาจากepithelioreticular cells) ลักษณะสำคัญของต่อมไธมัสคือ มี Thymic (Hassall)corpuscle ในบริเวณ medulla (รูปที่ 53) พบBlood-Thymic Barrier บริเวณ cortex ของเนื้อต่อมไธมัส เพราะมีผนังกีดขวางการเข้าออกของเลือดเข้าสู่เนื้อไธมัสที่ประกอบด้วย capillary endothelium, endothelial basal lamina, thin perivascularconnective sheath (บรรจุ macrophages จำนวนมาก),  basal lamina ของepithelioreticular cells และ epithelioreticular cell sheath
           ต่อมไธมัสเจริญดีระยะหลังคลอด เมื่อถึงระยะวัยหนุ่มสาว (puberty) เกิด involute(เหี่ยวย่น) ต่อมาถูกแทรกโดยเนื้อไขมัน แต่ยังสร้าง T-cells
       3.3  Spleen (ม้าม) (รูปที่ 54) มีเปลือกหุ้มที่หนาเพราะมีกล้ามเนื้อเรียบปะปนกับเนื้อประสาน (fibromuscular capsule) และเป็นต่อมน้ำเหลืองที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย
           เนื้อม้ามแบ่งออกเป็น 3 บริเวณคือ
               3.3.1 Red pulp ประกอบด้วย
                   (i) pulp or splenic cords (of Billroth)  มี  meshwork  of reticular cells และ fibers  ให้เป็นโครงร่างของ  cords  ซึ่งบรรจุเซลล์เม็ดเลือดแดง macrophages, lymphocytes,  plasma  cells  และ  granulocytes
                   (ii) pulp or splenic sinuses เป็น sinusoidal vessels ชนิดพิเศษเพราะดาดด้วยendothelial cells ที่มีลักษณะยาว โดยมีแกนยาวขนานไปตามความยาวของเส้นเลือดมีจุดสัมผัสระหว่างเซลล์ด้วยกันน้อย ทำให้เกิดมี intercellular spaces เด่นชัดจึงเป็นผลให้เซลล์เม็ดเลือดเลือดแดงผ่านเข้า-ออก sinuses ได้รวดเร็ว นอกจากนั้นยังพบแขนงของmacrophages ยื่นอยู่ระหว่าง endothelial cells และเข้าไปใน lumen ของ sinusesเพื่อดักจับสิ่งแปลกปลอมที่ปนมากับน้ำเลือด ส่วน basal lamina ที่รองรับ endotheliumนั้นไม่ต่อเนื่องกัน
               3.3.2 White  pulps (รูปที่ 55) ประกอบด้วย
                   (i) Periarterial Lymphatic Sheath (PALS) เกิดจาก lymphocytes กระจายอยู่ในผนังของcentral artery ซึ่งเป็นแขนงของ spleen artery ที่เข้าไปอยู่ในเนื้อม้าม เมื่อตัดตามขวางPALS มีลักษณะเป็นรูปกลม พบล้อมรอบ central artery และบรรจุ T-lymphocytes
                   (ii) Splenic (lymphatic) nodules or Malpighian corpuscles คือบริเวณ lymphoidnodules ที่แทรกอยู่ใน PALS ซึ่งส่วนใหญ่บรรจุ B-lymphocytes และมักพบเป็นชนิดsecondary nodules คือมี germinal centers และ mantle zones เมื่อตัดตามขวางทำให้ดูเสมือนcentral artery อยู่ eccentric ต่อ splenic nodules
               3.3.3 Marginal  zone เป็นบริเวณเชื่อมต่อระหว่าง red pulp และ whitepulp และบรรจุพวก lymphocytes, macrophages และ blood cells
       หน้าที่ของม้ามเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันและแหล่งสร้างและทำลายเซลล์เม็ดเลือดที่ชราภาพหรือใช้การไม่ได้  ดังนั้น  ในระบบภูมิคุ้มกันม้าม เป็นแหล่งสร้างlymphocytes,  humoral  antibodies และกำจัด macromolecular antigens จากน้ำเลือด หน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเม็ดเลือดซึ่ง เกิดขึ้น ในระยะตัวอ่อนในเด็กและผู้ใหญ่ม้าม เป็นแหล่งกำจัดเม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือดที่ไม่ปกติและชราภาพ  เป็นผลทำให้ธาตุเหล็ก (iron)  กลับคืนมาใช้ในน้ำเลือดอีกครั้ง
 

Figure 45Figure 46Figure 47Figure 48Figure 49Figure 50
Figure 51Figure 52Figure 53Figure 54Figure 55

Mononuclear-phagocyte-system
(Monocyte-macrophage-systemor MPS)
    Monocytes (รูปที่56) เป็นพวกเซลล์เม็ดเลือดขาวที่จัดอยู่ใน Mononuclear-phagocyte systemแรกเริ่ม monocytes นั้นอาศัยอยู่ในน้ำเลือด โดย precursors ของ monocytesพบในไขกระดูกเมื่อ monocytes ออกมาอยู่ในเนื้อเยื่อชนิดต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่เก็บกับสิ่งแปลกปลอมเปลี่ยนชื่อเป็น tissue macrophages(รูปที่ 57)ซึ่งมีอยู่2 ชนิด คือ ชนิดอิสระ (free) และอยู่กับที่ (fixed) โดยชนิดหลังเรียก histiocytesพวกเซลล์ในระบบนี้ ได้แก่    ในระบบนี้ไม่รวมvascular endothelial cells หรือ reticular cells หรือ fibroblasts ของอวัยวะต่อมน้ำเหลืองที่บางครั้งอาจแสดงการเก็บกินสิ่งแปลกปลอมได้ ซึ่งในอดีตรวมให้เป็น concept ใน reticulo-endothelialsystem

หน้าที่ของ Monocytes
    Monocytesที่อยู่ในน้ำเลือดมีหน้าที่ไม่มากแต่จะมีปฏิกิริยาต่อการพบ necrotic material(necrotaxis), invading micro-organism (chemotaxis) เมื่อเนื้อเยื่อเกิดมีการอักเสบmonocytes จึงออกจากเส้นเลือดไปอยู่ในเนื้อเยื่อนั้นๆ และเปลี่ยนแปลงไปเป็นmacrophages เพื่อทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมโดยขบวนการ hydrolytic enzymes.ที่บรรจุอยู่ใน lysosome ของเซลล์ เรียกขบวนการนี้ว่า phagocytosis.
    นอกจากนั้นหน้าที่บางอย่างของmonocytes ยังเกี่ยวกับการร่วมทำงานกับ ขบวนการภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่นantigen presentation, การทำลาย antigens ในขั้นสุดท้าย และ เรื่องที่เกี่ยวกับlymphocyte activation ซึ่งเกิดจากการเสริมและการเพิ่ม macrophage phagocyticactivity เป็น ผลให้ lymphocytes สร้าง factors ขึ้น
 

Figure 56Figure 57Figure 58Figure 59Figure 60Figure 61Figure 62
สารบัญหลัก
บทที่แล้ว
บทต่อไป
แบบทดสอบ