การจำแนกชนิดของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Classification of the connective tissue)
แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1. Embryonic connective tissue
1.1 Mesenchymal connective tissue (ภาพที่ 2)
1.2 Mucous connective tissue (ภาพที่ 3)
2. Adult connective tissue
2.1 Connective tissue proper
2.1.1 Loose (areolar) connective tissue (ภาพที่ 4 , ภาพที่ 5)
2.1.2 Reticular tissue (ภาพที่ 6)
2.1.3 Adipose tissue (เนื้อไขมัน)
หน้าที่ของเนื้อไขมัน
- แหล่งสะสมและผลิตพลังงานให้กับร่างกาย
- เบาะหรือฉนวนป้องกันการสะเทือน (cushion) ให้กับอวัยวะส่วนนั้น

เนื้อไขมันแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. White (unilocular) adipose tissue (ภาพที่ 7A)
ประกอบเป็น 20% และ 25% ของน้ำหนักตัวของเพศชายและหญิง ตามลำดับ พบมากบริเวณชั้นลึกของผิวหนัง พวกเซลล์ไขมันมีขนาดใหญ่ ภายใน cyto-plasm บรรจุ single lipid droplete ขนาดใหญ่ ที่เบียดนิวเคลียสจนชิดติดขอบเยื่อผิวเปลือกเซลล์ (ภาพที่ 7C)
2. Brown (multilocular) Adipose tissue (ภาพที่ 7B)
เป็นเนื้อไขมันชนิดพิเศษ มองด้วยตาเปล่าติดสีเข้ม เกิดจากสี hemoglobin ในหลอดเลือดฝอย และสี cytochromes ที่มีจำนวนมาก มี fat droplet ขนาดเล็กจำนวนมากบรรจุอยู่ใน adipocyte (Fat cell, Fc) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า white adipocytes (ภาพที่ 7C) พบเนื้อไขมันชนิดนี้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เกิดใหม่ และพวกสัตว์จำศิลบางชนิด พบน้อยในคนที่เจริญเติบโตเต็มที่ ใน human fetus อายุ 28 อาทิตย์ไปแล้ว และในเด็กเกิดใหม่ พบเนื้อไขมันชนิดนี้บริเวณคอและ interscapular region โดยมีประมาณ 2-5% ของน้ำหนักตัว, Nu = Nucleus of an adipocyte
หน้าที่
เกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
White adipocyte (ลูกศรชี้) กำลังขยายสูง (ภาพที่ 7C)
มีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100 ไมโครเมตร หรือมากกว่า ในระดับ LM เป็นรูป signet ring ปัจจุบันเข้าใจว่า adipocyte กำเนิดมาจาก mesenchymal cells บางตำรากล่าวว่ากำเนิดมาจาก pericyte (เซลล์โอบล้อมผนังหลอดเลือดฝอย) เนื่องจาก adipocyte สะสมไขมันพวก triglyceride อยู่ใน fat droplet ดังนั้น
หน้าที่ของเซลล์ไขมัน คือ
- energy storage (เก็บสะสมพลังงาน)
- thermal insulator อยู่ใต้ผิวหนัง
- cushion ป้องกัน mechanical shock ในอวัยวะสำคัญ เช่น ไต และเบ้าตา

เนื่องจากเนื้อไขมันมีหลอดเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก อัตราส่วนการลสะสมและเผาผลาญของ triglycerides ชี้วัดโดยอาหารที่กินเข้าไปและการใชัพลังงาน นอกจากนั้นพวกฮอร์โมนและระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic มีอิทธิพลเด่นชัดต่อเมทาบอริสมของเซลล์ไขมัน

2.1.4 Dense connective tissue
2.1.4.1 regularly arrange (ภาพที่ 8A , ภาพที่ 8B)
2.1.4.2 irregularly arrange (ภาพที่ 9)
3. Specialized connective tissue
3.1 Cartilagenous and osseous connective tissue (บทที่ 6)
3.2 Haemopoietic tissue (บทที่ 5)