การจำแนกชนิดของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Classification of the connective tissue) |
แบ่งออกเป็น 3 ชนิด![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Dense connective tissue ชนิด regularly arrangment of collagen fibers (DR) พบในเนื้อแก้วตา (ชั้น substantia propria ของ cornea) เส้นเอ็น (tendon) แผ่นผังพืด (aponeurosis) ลักษณะเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ประกอบด้วยเส้นใยคอลาเจน (C) เป็นส่วนใหญ่ และเรียงตัวเป็นระเบียบ ซึ่งอาจเรียงรวมกันเป็นแท่งหรือแผ่น ในเนื้อสดเห็นเป็นสีขาว ในภาพเห็นนิวเคลียส (N) เป็นของ fibroblast ซึ่งสร้างและหลั่งเส้นใยคอลาเจนออกมา ถ้าพบ fibroblasts ในเส้นเอ็นสมัยก่อน เรียก tenoblast or tendon cell , Str = Stratified epithelium, Sim = Simple epithelium หน้าที่ เกี่ยวกับ local mechanical stress โดยเฉพาะเส้นใยคอลาเจนที่รวมกันเป็นแผ่นหรือมัด เช่น ผังพืด และเส้นเอ็น ส่วนเนื้อแก้วตาเป็นแผ่นบาง มีความโปร่งใส จึงทำหน้าที่เกี่ยวกับการกระจายลำแสงในแต่ละชั้นของเส้นใยคอลาเจน ที่เรียงกันอย่างเป็นระเบียบ |
![]() Dense connective tissue ชนิด dense regularly arrangment ของ elastic fibers พบใน Ligumentum nuchae (Triple stain) เส้นใยที่เรียงกันเป็นระเบียบ เป็นพวกเส้นใยอิลาสติก พบมีนิวเคลียสของ fibroblasts เป็นจุดสีน้ำเงินจางๆ เรียงในแนวขนานกับเส้นใย ในกรอบเล็กแสดง E = Elastic fiber ที่ให้เป็นองค์ประกอบของผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ aorta และย้อมด้วย Verhoeff's ติดสีเข้ม มีลักษณะหยัก ถ้าย้อม H & E เส้นใยอิลาสติกติดสีใสบางครั้ง ถ้าเพิ่มความเข้มของสี H & E และทิ้งไว้นานพอประมาณ และอิลาสติกนั้นเป็นแผ่นใหญ่ จะเห็นเป็นแผ่นอิลาสติกเป็นคลื่นติดสีชมพูเข้มได้ แต่ลักษณะนี้แตกต่างจากแผ่นคอลาเจน ซึ่งเห็นเป็นแถบชมพูและกว้างกว่า (ภาพที่ 5 ) ![]() |
![]() |
![]() ![]() ![]() |