การจำแนกชนิดของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Classification of the connective tissue)
แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1. Embryonic connective tissue
1.1 Mesenchymal connective tissue (ภาพที่ 2)
1.2 Mucous connective tissue (ภาพที่ 3)
2. Adult connective tissue
2.1 Connective tissue proper
2.1.1 Loose (areolar) connective tissue (ภาพที่ 4 , ภาพที่ 5)
พบตรงบริเวณ subcutaneous tissue ใต้ต่อผิวหนัง หรือรองรับเนื้อผิวที่ดาดท่อทางเดินอาหารและลำไส้ ในส่วนซึ่งเรียกว่า lamina propria ประกอบด้วย ground substance, fibroelastic fibers ซึ่งอยู่กันอย่างหลวมและไม่เป็นระเบียบ เช่น E = Elastic fiber (ภาพที่ 8B) ส่วนพวกเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่พบ เช่น Mast cell (M, ในกรอบเล็ก)
Subcutaneous tissue เป็น Loose connective tissue
ในภาพแสดง สิ่งที่อยู่ภายนอกเซลล์ ได้แก่
เส้นใยอิลาสติก (Ef) มีลักษณะคล้ายเส้นด้าย และแถบกลุ่มเส้นใยคอลาเจน (Co) ส่วน Mast cell (M) เป็นเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันขนาดใหญ่ มีนิวเคลียสกลมอยู่กลางเซลล์ cytoplasm มีจำนวนมาก ภายในบรรจุ granules ขนาดเท่ากันจำนวนมาก (ย้อม H&E ไม่เห็น) จะเห็นเด่นชัดเมื่อย้อมสีพิเศษ องค์ประกอบของ granules เป็นพวก heparin, histamine, eosinophilic chemotactic substance, leukotriene และ serotonin (มีเฉพาะใน granule ของ rat mast cells) มักพบ mast cells อยู่ใกล้กับบริเวณหลอดเลือดดำขนาดเล็ก เพราะเมื่อเกิด degranulation สารเคมีที่หลั่งออกมาจะมีผลต่อหลอดเลือดที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
หน้าที่ของ mast cellsเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทางชีวเคมีของ mast cell granules เมื่อเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บจะกระตุ้น mast cells ให้ปล่อย granules ออกมา โดย heparin เกี่ยวข้องกับ anticoagulant ส่วน histamine เกี่ยวกับการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบโดยเฉพาะที่ดาดผนังหลอดลมฝอย (bronchioles) ผนังหลอดเลือดดำฝอย แต่ serotonin นั้นเพิ่มแรงดันเลือด เป็นต้น
2.1.2 Reticular tissue (ภาพที่ 6)
2.1.3 Adipose tissue (ภาพที่ 7A, ภาพที่ 7B, ภาพที่ 7C)
2.1.4 Dense connective tissue
2.1.4.1 regularly arrange (ภาพที่ 8A , ภาพที่ 8B)
2.1.4.2 irregularly arrange (ภาพที่ 9)
3. Specialized connective tissue
3.1 Cartilagenous and osseous connective tissue (บทที่ 6)
3.2 Haemopoietic tissue (บทที่ 5)