6.  Microvascular free toe transfer

จะเห็นได้ว่า thumb reconstruction หลาย ๆ วิธีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังคงมีปัญหาอยู่ บางวิธีผู้ป่วยต้องรับการผ่าตัดหลายครั้ง บางวิธีมีปัญหาเรื่องการใช้งานไม่ดีพอ มีปัญหาเรื่องความรู้สึกที่ปลายนิ้ว และบางวิธีมีปัญหาทางด้านความสวยงาม ซึ่งเราจะไม่คำนึงถึงไม่ได้ เช่น นิ้วที่สร้างใหม่มีขนาดโตอ้วนเกินไป ไม่มีเล็บเป็นต้น ดังนั้น Microsurgery จึงมีบทบาทเข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการย้ายนิ้วเท้า ขึ้นมาแทนที่นิ้วหัวแม่มือ วิธีนี้สามารถให้ผลการรักษาที่ดีทั้งทางด้าน functional และ cosmetic เป็นการผ่าตัดเสร็จในครั้งเดียว แต่ก็มีข้อเสีย คือ ต้องมีผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะทางจุลศัลยกรรม ใช้เวลาในการผ่าตัดนาน ลงทุนค่อนข้างสูง และข้อสำคัญคือ มีโอกาสล้มเหลวได้สูงกว่าวิธีอื่น ดังกล่าวมาข้างต้น

ในปี 1900 Nicoladoni ได้คิดวิธีการนำนิ้วหัวแม่เท้ามาแทนนิ้วหัวแม่มือ แต่เป็นการผ่าตัดแบบ staged transfer ในสมัยนั้นมีการทำวิธีนี้ แต่ไม่ค่อยแพร่หลายนัก จนในปี ค.ศ. 1966 Buncke ได้รายงานการย้ายนิ้วเท้ามาแทนที่นิ้วมือในลิงได้สำเร็จ โดยใช้ Microsurgery technique และต่อมา Cobbett (1966) ก็ได้ย้ายนิ้วหัวแม่เท้าไปแทนที่นิ้วหัวแม่มือได้สำเร็จเป็นรายแรกของโลก

แต่ภายหลังในปี 1973 มีกลุ่ม American Replantation Mission to China ได้พบว่า Yang แพทย์ชาวจีน ได้ทำการย้ายนิ้วเท้าที่ 2 ไปแทนที่นิ้วหัวแม่มือได้สำเร็จในปี ค.ศ.1966 แต่ไม่ได้รายงานไว้และ Leung (1983) ก็ได้รายงานการใช้ second toe และให้ข้อคิดเห็นว่า คนทางเอเซียนิยมใช้ second toe มากกว่า big toe เพราะคำนึงถึง cosmetic appearance ของ foot มาก

ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันระหว่างการใช้ big toe หรือ second toe transfer โดยทั่วไป big toe มีลักษณะเหมือนนิ้วหัวแม่มือมากกว่า มีกำลังและความมั่นคงมากกว่า แต่การสูญเสียหรือ cosmetic appearance ของเท้า จากการเอา big toe ไป มีการสูญเสียมากกว่า (รูป 47-48)
 

pic 47
pic 48
 
สำหรับ cosmetic appearance ที่มือนั้น ทั้ง big toe และ second toe ก็มีขนาดไม่พอเหมาะทั้งคู่ มาระยะหลัง Foucher (1980) ได้ใช้ technique "twisted two toes" โดยเอาบางส่วนของ big toe และ neurovascular flap จาก second toe มารวมกัน จะได้ขนาดใกล้เคียงกับนิ้วหัวแม่มือเดิม

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งของการทำ big toe หรือ second toe transfer ก็คือนิ้วเท้านั้นจะมี hyper-extension ของ MTP joint และมี hyper-flexion ของ IP joint ทำให้เวลาย้ายมาไว้ที่มือ จะดูไม่ค่อยสวยนักและการใช้งานไม่ดี จึงมีวิธีการแก้ไขโดยทำ angled osteotomy และ capsuloplasty ของ MTP joint ให้มีลักษณะ flexion

ผมเองมีความเห็นว่า คนไทยยินยอมให้ใช้ second toe มากกว่า big toe เพราะสภาพเท้าดูไม่น่าเกลียดหลังจากเอา second toe ออกไป แต่ถ้าดู cosmetic appearance ที่มือแล้ว การใช้ big toe จะมีความสวยงามมากกว่า และใช้งานได้ดีมาก โดยเฉพาะในรายที่ขาดสูงถึงระดับ proximal 1/3 ของ metacarpal หรือระดับ CMC joint ซึ่งไม่มี thena prominent เหลืออยู่ควรใช้ big toe transfer ดีกว่า
 

ตัวอย่างผู้ป่วยที่ทำ second toe to thumb transfer (รูปที่ 49-62)
 
pic 49
pic 50
pic 51
pic 52
pic 53
pic 54
pic 55
pic 56
pic 57
pic 58
pic 59
pic 60
 
 
 
pic 61
pic 62
 
 
 
 
BACK
NEXT

| คำนำ | วิธีการแบ่งลักษณะของนิ้วหัวแม่มือที่ขาด | จุดประสงค์ของการผ่าตัดแก้ไข |
| วิธีการผ่าตัด | เทคนิคการผ่าตัด | การเลือกวิธีผ่าตัด | เอกสารอ้างอิง |
| HOME | MD.CU.CAI. | HAND CHULA |