เนื่องจากทั้ง big toe และ second toe มีขนาดไม่พอดี ภายหลัง Morrison et al (1980) ก็ได้ดัดแปลงวิธีใหม่ โดยเอาบางส่วนของนิ้วหัวแม่เท้า ประมาณ 2/3 ของเส้นรอบวงมาพร้อมกันทั้งผิวหนัง เล็บ เส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำ และเส้นประสาทมาปิดที่นิ้วหัวแม่มือที่เสริมความยาวด้วย iliac bone graft เขาเรียกวิธีนี้ว่า "Wrap around flap" แต่ก็ยังมีปัญหาของ bone graft resorption และ fracture ของ bone graft (Foucher et al 1980, Leung and Ma 1982) ภายหลังจึงนำเอาบางส่วนของ distal phalanx ที่อยู่ใต้เล็บเส้นของนิ้วหัวแม่เท้ามาด้วย ดังนั้นจะมี vascularized bone อยู่ปลายทั้ง 2 ของ bone graft ทำให้มี resorption น้อยลง
เนื่องจากวิธีนี้ไม่ได้เอาข้อต่อของนิ้วเท้าขึ้นมา ดังนั้นควรจะใช้วิธีนี้กับรายที่ขาดระดับ distal ต่อ MCP joint ถึงจะให้ผลการรักษาที่ดี ในรายที่ขาดสูงกว่านี้ ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ แต่ให้ function ที่ไม่ดีนัก เพราะผู้ป่วยสามารถขยับแต่ CMC joint อย่างเดียว อีกอย่างเนื่องจากไม่ได้เอา epiphyseal plate ขึ้นมาด้วย จึงไม่เหมาะที่ใช้กับเด็กที่ยังมีการเจริญเติบโต
ปัญหาอีกอย่างของการทำ wrap around flap คือมี painful scar ที่บริเวณ planta surface ของ big toe จากแผล skin graft ระยะหลังก็แก้ปัญหาโดยการทำ cross finger flap จาก second toe ไปปิด
ผมเองมีความเห็นว่า "Wrap around flap" เป็นวิธีที่ดีมากในการทำ reconstruction โดยเฉพาะในรายที่ขาดระดับ distal ต่อ MP joint ผู้ป่วยมีความพอใจทั้งทางด้านใช้งานและความสวยงามที่มือและที่เท้า เมื่อเทียบกับ toe transfer
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
|
|
|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
|
|
|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
|
|
|
|
![]() |
![]() |
|
|
|
|
|
|