จะเห็นได้ว่า การผ่าตัดมีมากมายหลายวิธี จะต้องเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย บางครั้งเป็นการยากในการตัดสินใจ ต้องตกลงกันให้ได้ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยร่วมกัน และที่สำคัญต้องอาศัยเหตุผลต่าง ๆ มาประกอบการพิจารณา (Hentz, 1985)
            1.  The level of amputation มีความสำคัญมาก ตัวอย่างในกลุ่ม distal subtotal loss ต้องการความยาวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หรือส่วนปลายหายไป ต้องการเฉพาะผิวหนังที่มีความรู้สึกที่ดีมาปิด แต่ถ้าเป็นระดับ proximal subtotal loss ก็ต้องมี MCP joint reconstruction ร่วมด้วย
            2.  Age ในผู้ป่วยเด็กอายุน้อย ต้องคำนึงถึงการเจริญเติบโตต่อไปด้วย และในผู้ป่วยสูงอายุ ต้องคำนึงถึงอันตราย โรคแทรกซ้อนของการผ่าตัดที่ใช้เวลานาน
            3.  The patient's vocational and avocational needs อาชีพการทำงานของผู้ป่วยก็มีความต้องการต่างกัน ในมือผู้ใช้แรงงานต้องมีความมั่นคงแข็งแรงผิดกับพวก technician ต้องมีความรู้สึกที่ดีเคลื่อนไหวได้มากสำคัญกว่า ส่วนพวกเลขานุการก็ต้องคำนึงถึงด้านความสวยงาม
            4.  The status of the contralateral limb ในรายที่มีการบาดเจ็บของมือทั้ง 2 ข้าง ต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน
            5.  The dominance of the injured hand ในมือที่ถนัดต้องได้รับการเลือกวิธีที่ให้ผลดีที่สุดใช้งานได้มากที่สุด
            6.  The status of the other digits นิ้วอื่นที่ไม่ใช้นิ้วหัวแม่มือต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วย เพราะอย่างน้อย นิ้วหัวแม่มือที่สร้างใหม่ต้องสามารถทำ opposition กับนิ้วที่เหลือได้ หรือพิจารณานิ้วอื่นที่ขาดนำมาทำ policization


| คำนำ | วิธีการแบ่งลักษณะของนิ้วหัวแม่มือที่ขาด | จุดประสงค์ของการผ่าตัดแก้ไข |
| วิธีการผ่าตัด | เทคนิคการผ่าตัด | การเลือกวิธีผ่าตัด | เอกสารอ้างอิง |
| HOME | MD.CU.CAI. | HAND CHULA |