คงเป็นที่ทราบกันดี และยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า นิ้วหัวแม่มือเป็นนิ้วที่สำคัญที่สุดของมือ ทำให้มือนั้นสามารถทำหน้าที่หยิบ (pinch grip) หรือจับ (grasping) ได้เป็นปกติและมีกำลัง ฉะนั้น มือที่ปราศจากนิ้วหัวแม่มือ อาจเกิดจากความพิการแต่กำเนิด หรือนิ้วหัวแม่มือขาดหายไป เนื่องจากการบาดเจ็บ หรือถูกตัดทิ้งจากการเป็นเนื้องอกก็ตาม ต้องทำการผ่าตัดรักษาแก้ไข (reconstruction) ให้มือนั้นมีนิ้วหัวแม่มือกลับคืนมา มิฉะนั้นมือนั้นจะมีการสูญเสียสมรรถภาพการทำงานไปอย่างมาก

นับว่าโชคดี ปัจจุบันนี้มีวิวัฒนาการทางด้าน microvascular technique เราสามารถต่อนิ้วที่ขาดได้ ซึ่ง thumb amputation นั้น ไม่ว่าจะเป็น complete หรือ incomplete ก็ตามเป็นข้อบ่งชี้ที่ต้องพยายามทำ replantation เพราะถ้าทำ thumb replantation ได้สำเร็จ แม้ว่านิ้วหัวแม่มือนั้นจะสั้นลง หรือข้อ MCP หรือ IP joint จะเคลื่อนไหวไม่ได้ก็ตาม ก็ยังให้การใช้งานของนิ้วหัวแม่มือนั้นดีกว่าการทำ thumb reconstruction
 

ตัวอย่างผู้ป่วยนิ้วหัวแม่มือขาดที่ได้รับการต่อนิ้วสำเร็จ
pic 1
pic 2
pic 3
 
ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่านิ้วหัวแม่มือขาดระดับใด จึงควรพิจารณาทำการตกแต่งแก้ไข (reconstruction) ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ถ้าระดับที่ขาดไม่สูงเกินกว่ากึ่งกลางของ proximal phalanx นิ้วหัวแม่มือที่เหลือนั้นมีความยาวเพียงพอที่จะใช้งานได้ ไม่จำเป็นต้องทำ reconstruction แต่ Morrison (1984) มีความเห็นว่า นิ้วหัวแม่มือนอกจากจะต้องมีความยาวเพียงพอในการทำ pinch grip แล้ว พวก pulp pinch, pulp stability, sensation และ nail function ที่อยู่ส่วนปลายนิ้วก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่า ดังนั้นถึงแม้ว่านิ้วหัวแม่มือจะขาดระดับ interphalangeal joint ก็ตาม ควรได้รับการตกแต่งแก้ไข เพราะว่านอกจากจะได้ pulp pinch ที่ดีแล้ว ยังทำให้การงอนิ้วชี้ มาแตะปลายนิ้วหัวแม่มือได้ง่ายขึ้น
 

Historical review

การผ่าตัดสร้างนิ้วหัวแม่มือขึ้นมาใหม่ (thumb reconstruction) มีการทำมาเป็นเวลานานแล้ว เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1874, Huguier ได้ใช้วิธี local thumb phalangealization ในผู้ป่วยนิ้วหัวแม่มือขาด โดยทำ deepening of the first web space ในปี 1887, Guermonprez แพทย์ชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกที่ย้ายนิ้วอื่น ๆ ที่ได้รับบาดเจ็บมาก่อนไปแทนที่นิ้วหัวแม่มือให้มี pinching หรือ grasping ได้ โดยทำเป็น staged pedicle transfer ต่อมา Joyce (1918) ได้ใช้วิธีเดียวกันนี้ ผ่าตัดผู้ป่วย 2 ราย โดยย้ายนิ้วนางของมือข้างหนึ่ง ไปแทนที่นิ้วหัวแม่มืออีกข้างหนึ่ง แต่ความจริงวิธีการนี้เป็นความคิดของ Nicoladoni (1897) ได้ย้ายนิ้วหัวแม่เท้ามาแทนที่นิ้วหัวแม่มือ โดยทำเป็น distant pedicle flap transfer ต้องทำเป็นขั้นตอน ผู้ป่วยต้องสามารถ ทนต่อความลำบากในท่าที่ทรมาน ต่อมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ดัดแปลงมาทำ osteoplastic reconstruction กันอย่างแพร่หลาย โดยทำเป็น random tubed pedicle จาก abdomen หรือ groin ร่วมกับใช้ iliac corticocancellous bone graft

ในปี 1929, Bunnell ได้รายงานการผ่าตัดย้ายนิ้วชี้ที่ขาดในระดับ proximal phalanx ไปแทนที่นิ้วหัวแม่มือ โดยย้ายไปพร้อมกัน  ทั้ง neuro-vascular bundle ซึ่งเราเรียกการผ่าตัดวิธีนี้ว่า "pollicization" แต่วิธีการนี้มาทำกันอย่างแพร่หลาย ภายหลังสงครามโลก  ครั้งที่ 2 ซึ่ง Gosset (1949) นำวิธีการนี้มาใช้ในผู้ป่วยบาดเจ็บจากสงคราม นอกจากนั้น Gosset ยังเป็นผู้นำในการผ่าตัดวิธีนี้ กับผู้ป่วยที่มีความพิการ นิ้วหัวแม่มือขาดหายไปตั้งแต่กำเนิด

เมื่อมาถึงยุคของ microsurgery ในปี 1969, Cobbett ได้รายงานเป็นคนแรกที่ประสพความสำเร็จในการทำ big toe to thumb transplantation แต่ต่อมาพบว่า Yang แพทย์ชาวจีนได้ทำผ่าตัด second toe to thumb transfer ได้สำเร็จในปี 1966 แต่ไม่ได้รายงาน อย่างไรก็ตามทั้ง big toe และ second toe transfer ยังให้ความสวยงามที่ไม่พอ ในปี 1980, Morrison จึงได้คิดวิธีเอาบางส่วน ของนิ้วหัวแม่เท้าย้ายขึ้นมา เรียกวิธีนี้ว่า Wrap-around flap แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือ ไม่มีข้อต่อในการงอ ภายหลังจึงมีคนใช้วิธี trim-toe transfer ทำให้ได้นิ้วหัวแม่มือที่มีขนาดพอดี และเคลื่อนไหวข้อต่อได้


| คำนำ | วิธีการแบ่งลักษณะของนิ้วหัวแม่มือที่ขาด | จุดประสงค์ของการผ่าตัดแก้ไข |
| วิธีการผ่าตัด | เทคนิคการผ่าตัด | การเลือกวิธีผ่าตัด | เอกสารอ้างอิง |
| HOME | MD.CU.CAI. | HAND CHULA |