วิธีนี้เป็นการต่อความยาวของนิ้วหัวแม่มือด้วย bone graft แล้วคลุมกระดูกด้วย tubed pedicle flap วิธีนี้เป็นที่นิยมมาก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1897, Nicoladoni นำมาใช้เป็นคนแรก อย่างไรก็ตาม ผลการรักษาก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เพราะมีปัญหา bone graft resorption และปลายนิ้วไม่มีความรู้สึก จนกระทั่งในปี ค.ศ.1955, Moberg และ Littler (1956) ได้นำ neurovascular island flap มาใช้ปิดปลายนิ้วหัวแม่มือที่สร้างใหม่ จึงทำให้วิธีนี้ให้ผลการรักษาที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามข้อเสียของวิธีนี้ คือต้องผ่าตัดหลายครั้ง จนในที่สุดได้ดัดแปลงจนเหลือการผ่าตัดเพียง 2 ขั้นตอนเท่านั้น คือขณะที่แยก flap ออกจาก pedicle ก็ทำ neurovascular island flap ปิดปลายนิ้วทันที
Bone graft resorption ก็ยังคงเป็นปัญหาโดยเฉพาะการใช้ conventional bone graft แต่ถ้าเอาจาก iliac crest เป็น extraperiosteal tricortical graft ชิ้นใหญ่ก็สามารถลดอัตราของ bone resorption ลงได้ มีหลายท่านได้ทำเป็น composite osteocutaneous flap เพื่อแก้ปัญหานี้
ผมเองมีความเห็นว่า วิธีนี้เหมาะสำหรับรายที่เป็น
degloving injury ของนิ้วหัวแม่มือแล้วรีบทำ immediate groin flap ปิดไว้
อีก 3 สัปดาห์ทำการ detach flap พร้อมกับทำ neurovascular island flap ปิดปลายนิ้ว
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
|
|
|
|
|