เป็นการย้ายนิ้วอื่นไปแทนที่นิ้วหัวแม่มือ เป็นการย้ายไปทั้งนิ้วพร้อม neurovascular bundle ในปี 1949, Gosset เป็นคนแรกที่ใช้วิธีนี้ โดยย้าย stump ของนิ้วชี้ ซึ่งขาดไปพร้อมกับนิ้วหัวแม่มือไปอยู่ตำแหน่งเดิมของนิ้วหัวแม่มือ ทำให้นิ้วหัวแม่มือยาวขึ้น และยังสามารถทำให้ web space กว้างขึ้น เทคนิคการผ่าตัดมีความยุ่งยากในการ design flap เพื่อจะให้ปิดบาดแผลได้ดีที่สุด หลังจากที่ย้ายนิ้วเรียบร้อยแล้ว ที่สำคัญต้องคำนึงถึง first web space ให้มาก ในบางรายนิ้วชี้ที่เหลือไม่มีบาดเจ็บแต่นิ้วกลางขาดไปพร้อมกับนิ้วหัวแม่มือ เราก็สามารถย้าย stump ของนิ้วกลาง ไปแทนที่นิ้วหัวแม่มือได้เช่นกัน โดยวิธีของ Hilgenfeldt (1950)
นอกจากในกลุ่ม traumatic thumb loss แล้ว ได้มีการนำ pollicization มาใช้ในกลุ่ม congenital absence of the thumb กันอย่างแพร่หลาย มีหลายๆ ท่านพยายามดัดแปลงวิธีการผ่าตัดโดยการย้ายนิ้วชี้ที่ปกติไปแทนที่นิ้วหัวแม่มือ อธิเช่น Gosset (1949), Littler (1953) Zancolli (1950) และ carroll (1988) แต่ก็มีหลายท่านให้ข้อคิดเห็นว่า นิ้วชี้เป็นนิ้วที่สำคัญในการทำ Key pinch จึงหันไปใช้นิ้วอื่นแทน เช่น Hilgenfeldt (1950) ใช้นิ้วกลาง และ Langlais and Gosset (1984) ใช้นิ้วนาง
สำหรับความคิดเห็นของผม มีความเห็นว่าวิธีนี้เหมาะสำหรับรายที่มีการบาดเจ็บของนิ้วอื่น ร่วมกับนิ้วหัวแม่มือ โดยย้าย stump ของนิ้วนั้น ไปแทนที่นิ้วหัวแม่มือ แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีนิ้วทั้ง 4 ที่เหลือปกติ ไม่เหมาะที่จะย้ายไปแทนที่นิ้วหัวแม่มือ เพราะผู้ป่วยไม่ค่อยพอใจ ต่อผลการรักษา แม้ว่าจะใช้ได้ผลดีก็ตาม แต่ในด้านความสวยงามผู้ป่วยไม่พอใจ ควรใช้วิธีอื่นที่เหมาะสมกว่า เช่น การทำ toe to thumb transfer
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
|
|
|
|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
|
|
|
|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
|
|
|
|
|
|