เป็นระบบเกี่ยวกับอวัยวะหัวใจ เส้นเลือดและท่อน้ำเหลือง โดยทำหน้าที่ลำเลียงน้ำเลือด น้ำเหลือง เซลล์ชนิดต่างๆอาหาร ของเสีย ฮอร์โมน และแอนติบอดี้ไปสู่หรือรับกลับจากเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย
    หัวใจสูบฉีดเลือดไปตามเส้นเลือดแดงขนาดต่างๆไปยังเนื้อเยื่อ และไหลกลับเข้าสู่หัวใจทางเส้นเลือดดำขนาดต่างๆ ส่วนท่อน้ำเหลืองรับน้ำเหลืองไหลกลับเข้าเส้นเลือดดำดังนั้นระบบไหลเวียนของเลือดประกอบด้วยอวัยวะต่อไปนี้
       1. หัวใจ (heart) เป็นเครื่องปั๊มลำเลียงน้ำเลือดและรับกลับ
       2. เส้นเลือดแดง (Arterial system) ลำเลียงน้ำเลือดชนิดที่มีอ๊อกซิเจนสูงดังนั้นจึงประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดพลาสม่า อ๊อกซิเจน อาหาร ฮอร์โมนและอิออน เป็นต้น เส้นเลือดแดงเริ่มจากขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างสุดจากหัวใจไปยังเส้นเลือดแดงขนาดเล็ก ได้แก่ elastic (large or conducting), muscular(distributing or medium) arteries และ arterioles.
       3. เส้นเลือดแดงดำฝอย (Microcirculation = Capillary beds) เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนO2และ CO2, รับส่งอาหารและถ่ายเทของเสีย เส้นเลือดแดงดำฝอยประกอบด้วย
           (1) precapillary arterioles
           (2) arterial capillaries ได้แก่ continuous capillaries, fenestrated capillaries,discontinuous (sinusoidal) capillaries
           (3) post - capillary (pericytic) venules
       4. เส้นเลือดดำ (Venous system) ลำเลียงเลือดที่ขนของเสียและCO2(เลือดดำ) เข้าหัวใจด้านขวาก่อนที่ถูกส่งไปฟอกที่ปอด โดยเริ่มผ่านเข้าทางvenules, small veins, Medium-sized veins และ large veins.ตามลำดับ

ระบบไหลเวียนของน้ำเหลืองประกอบด้วยอวัยวะต่อไปนี้
    1. lymphaticcapillaries เป็น blindly ending thin walled vessels. มีผนังบางมาก
    2. lymphaticvessels
    3. mainlymphatic vessels ได้แก่ thoracic ducts น้ำเหลืองผ่านเข้าต่อมน้ำเหลืองเพื่อกรองสิ่งแปลกปลอมหรือสารพิษก่อนเข้าสู่ระบบเส้นเลือดดำ

ลักษณะโครงสร้างพื้นฐานผนังของอวัยวะเส้นเลือดและท่อน้ำเหลืองแบ่งออกเป็น 3 ชั้น
1. Tunica Intina (Interna, internaltunic) ชั้นในสุดติดกับ lumen ประกอบด้วย
  • endothelial epithelium รองรับด้วยbasal lamina
  • subendothelial layer เป็นชั้นเนื้อประสานพบในผนังของหัวใจ เส้นเลือดขนาดใหญ่ กลางและเล็ก แต่ไม่พบในผนังเส้นเลือดแดงดำฝอย
  • internal elastic lamina พบได้เด่นชัดในmuscular arteries
  • 2. Tunica Media ชั้นกลางส่วนใหญ่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบยกเว้นหัวใจ และเส้นเลือดขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยเซลล์ กล้ามเนื้อหัวใจและ elasticfibers ตามลำดับ
    3. Tunica Adventitia ชั้นนี้อยู่นอกสุดประกอบด้วยเนื้อประสานที่อยู่กันหลวม ๆ (loose connective tissue) ผนังหัวใจและเส้นเลือดขนาดใหญ่มักบรรจุเส้นเลือดขนาดเล็ก (vasa vasorum) (Figure 34)หรือกล้ามเนื้อเรียบเป็นมัด (ผนังเส้นเลือดดำใหญ่) อยู่ในผนังชั้นนี้
    ลักษณะโครงสร้างของผนังหัวใจและหลอดเลือดดำแดงขนาดต่าง ๆ ในระดับกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา
        1. HEART(หัวใจ)(Figure 32) มี 4 ช่องคือ 2 atriaและ 2 ventricles โดย atria รับน้ำเลือดมาจาก pulmonary veins, venae cavaeและ coronary sinus แล้วปล่อยลงสู่ ventricle การบีบรัดของผนัง ventriclesเป็นผลให้น้ำเลือดจาก ventricle ข้างขวา เข้าสู่ pulmonary trunk เพื่อกระจายต่อไปยังเนื้อปอดในขณะเดียวกันเลือดจาก ventricle ข้างซ้ายเข้าสู่ aorta เพื่อส่งกระจายต่อไปทั่วร่างกาย
           ผนังของหัวใจมี 3 ชั้นคือ
               1. Epicardium ชั้นนอกสุด คลุมด้วย simple squamous mesothelium ถัดเข้ามาเป็นชั้นfibroelastic connective tissue ส่วนชั้นหนาที่สุดของ epicardium ประกอบด้วยเนื้อไขมันที่บรรจุเส้นประสาทและ coronary vessels (ถ้าหลอดเลือดนี้ตีบทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเรียกว่าinfraction)
               2. Myocardium (Figure 32) เป็นผนังชั้นกลางประกอบด้วยมัดของกลุ่มเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเป็นส่วนใหญ่ ยึดเกาะกับเนื้อประสานชนิดหนา(Cardiac skeletin) นอกจากนั้นยังพบว่า มีเนื้อประสานชนิดหลวม และหลอดเลือดแดง-ดำฝอยและเส้นประสาทแทรกอยู่ในผนังชั้นนี้ด้วย
               3. Endocardium ชั้นในสุด ดาดด้วย simple squamous endothelium และรองรับด้วยชั้นsubendothelial fibroelastic connective tissue นอกจากนั้นชั้น endocardiumยังยื่นให้เป็น heart valve(Figure 32) เพื่อควบคุมทิศทางการไหลของน้ำเลือดการเต้นของหัวใจเกี่ยวกับเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจชนิดพิเศษที่รวมกลุ่มกัน ได้แก่sinoatrial และ atrioventricular nodes รวมทั้ง bundle of His และ Purkinjefibers พบ sino-atrial (S-A) node ซึ่งเป็น pacemaker ของหัวใจตรงบริเวณรอยต่อระหว่างsuperior vena cava และ atrium ข้างขวา โดยส่งกระแสตรงไปยัง atrio-ventricular(A-V) node และ atrial myocardium กระแสที่เกิดขึ้นที่บริเวณ atrioventricularnode ส่งผ่านไปตาม bundle of His (truncus arterioventricularis) ต่อมาแยกออกเป็นสองแขนงตรงseptum membranaceum เข้าไปเลี้ยงผนัง ventricle ทั้งซ้าย-ขวา แขนงของ bundleof His พบในชั้น endocardium เรียก Purkinje fibers (Figure32)
               Autonomic nervous system ควบคุมจังหวะการเต้นของ S-A node โดย parasympatheticfibers มาจาก vagus nerve (เส้นประสาทสมองคู่ที่ 10) เพื่อลดการเต้นของหัวใจในขณะเดียวกันเส้นประสาทที่มาจาก sympathetic ganglion ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
        2. ELASTICARTERY (CONDUCTING ARTERY)(Figure 33),(Figure34)ได้แก่ aorta, common carotid และ subclavian arteries
           A. ชั้น intima : ดาดด้วย endothelial cells (มักหลุดหายไป) ส่วนชั้นsubendothelial connective tissue ประกอบด้วย fibroelastic tissue ปะปนกับกล้ามเนื้อเรียบถัดมาพบ Internal elastic lamina (เห็นไม่ชัด)
           B. ชั้น media : ประกอบด้วย fenestrated elastic membrane ปะปนด้วยเซลล์กล้ามเนื้อเรียบใยเนื้อประสานชนิด collagenous และ reticular
           C. ชั้น adventitia : บางบรรจุเนื้อประสาน ใย elastic เซลล์กล้ามเนื้อเรียบและ vasa vasorum (vessels of vessels)
        3. MUSCULARARTERY (DISTRIBUTING ARTERY)(Figure 35)ได้แก่ หลอดเลือดแดงทุกชนิด ยกเว้น elastic arteries ทำหน้าที่กระจายน้ำเลือดไปยังอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย
           A. ชั้น intima : ดาดด้วย endothelial cells (มักหลุดหายไป) มีชั้น subendothelialconnec- tive tissue พบ internal elastic lamina เด่นชัด
           B. ชั้น media : ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบเรียงเป็นวงจำนวนมาก มีใยของเนื้อประสานปะปนเล็กน้อยชั้นexternal elastic lamina เห็นกระจาย
           C. ชั้น adventitia : หนาประกอบด้วยเนื้อประสานพบ vasa vasorum
        4. ARTERIOLES(Figure36),(Figure 37)ได้แก่ หลอดเลือดแดงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า100 ไมโครเมตร มีหลายขนาด คือ ใหญ่ กลาง และเล็ก ทำหน้าที่ควบคุมการกระจายของน้ำเลือดเข้าสู่วงจรการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงดำฝอย (microcirculation or microvascular bed)
           A. ชั้น intima : ดาดด้วย endothelium มี subendothelial connective tissueค่อนข้างบาง พบ internal elastic lamina เด่นชัดในผนัง large arteriole(Figure36)แต่ไม่พบในผนัง smaller arterioles(Figure37)
           B. ชั้น media : ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบหนา 1-3 ชั้น พบ external elasticlamina ในผนัง large arteriole ไม่พบในผนัง smaller arteriole(Figure36)
           C. ชั้น adventitia : ประกอบด้วยเนื้อประสานที่ค่อนข้างหนาและอาจหนาเท่ากับความหนาของผนังชั้นกลาง
        5. CAPILLARIES(Figure40),(Figure 41)
           หลอดเลือดแดงฝอยมีผนังบางเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8-10 ไมโครเมตร เมื่อตัดตามขวางมักพบแต่นิวเคลียสของendothelial cell และบรรจุเซลล์เม็ดเลือดแดงหรือเห็นเป็นช่องว่างใส ปกติแล้วมีpericytes อยู่ล้อมรอบ endothelial cells รองรับด้วย basal lamina เท่านั้นเนื่องจากผนังของหลอดเลือดแดงฝอยไม่มีเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ จึงไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับหดตัวดังนั้น terminal arterioles มี precapillary sphincters ควบคุมกระแสเลือดเข้าสู่ microvascular bed หน้าที่ของหลอดเลือดแดงฝอยและหลอดเลือดดำฝอยจึงเกี่ยวกับแลกเปลี่ยนก๊าซและสารอาหารดังได้กล่าวมาแล้ว หลอดเลือดแดงฝอยมี 3 ชนิดคือ
           5.1 Continuous capillaries(Figure 40 A)ไม่พบช่องใน cytoplasm ของ endothelial cells มี basal lamina ต่อเนื่อง การขนส่งสารอาหารผ่านทางpinocytotic vesicles หรือระหว่าง endothelial cell junctions พบหลอดเลือดแดงฝอยชนิดนี้บริเวณmesentery, หนังแท้, กล้ามเนื้อและเนื้อสมอง
           5.2 Fenestrated capillaries(Figure 40 B)พบช่องหรือรู(fenestrae) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 60-80 นาโนเมตร จำนวนมากใน cytoplasm ของendothelial cells แต่มีเยื่อบางๆ กั้นช่องเหล่านี้ สารอาหารที่มีขนาดจำกัดผ่านเข้า-ออกช่องนี้ได้มี basal lamina ที่ต่อเนื่อง พบหลอดเลือดชนิดในเนื้อต่อมไร้ท่อ ที่ผนังของลำไส้และglomerulus ในไต
           5.3 Discontinuous capillaries (sinusoids)(Figure41)หลอดเลือดชนิดนี้มักคดเคี้ยวและมี lumen กว้าง endothelial cells มีgaps (ช่องว่าง) และหรือ intercellular spaces ที่ไม่มีเยื่อบางกั้น ส่วนbasal lamina มักไม่ต่อเนื่อง บ่อยครั้งที่พบ macrophages สัมพันธ์อยู่กับendothelial cells หลอดเลือดแดงฝอยชนิดนี้พบในเนื้อตับ เนื้อต่อมหมวกไตด้านนอกเป็นต้น
        6. VENULES(Figure36)
         หลอดเลือดดำเล็กสุดมี lumen กว้างกว่าและผนังบางกว่าหลอดเลือดแดงเล็ก (arteriole)สาร -serotonin และ histamine เป็น vasodilator substances ทำให้ small venulesรั่ว (leaky) โดยเกิดการขยายกว้างของ endothelial junction
           A. ชั้น intima : ดาดด้วย endothelium มี subendothelial connective tissueที่บางมากแต่จะหนาขึ้นตามความกว้างของ lumen บ่อยครั้งที่พบ pericytes สัมพันธ์อยู่กับsmaller venules
           B. ชั้น media : ไม่พบในผนัง smaller venules แต่จะพบในผนัง larger venulesโดยประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบหนึ่งหรือสองชั้น เท่านั้น(Figure37)
           C. ชั้น adventitia : ประกอบด้วยเนื้อประสาน
        7. MEDIUM-SIZEDVEINS(Figure 35)
         ลักษณะทั่วๆ ไปของหลอดเลือดดำ คือมีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างกว่าหลอดเลือดแดงที่วิ่งคู่กันไปและ มีผนังบางกว่า เพราะความดันภายในหลอดเลือดดำต่ำ ผนังชั้นกลางมีชั้นกล้ามเนื้อเรียบน้อยชั้นมักพบลิ้นของหลอดเลือดดำทำหน้าที่ป้องกัน การไหลย้อนกลับของน้ำเลือดโดยเฉพาะหลอดเลือดดำบริเวณแขน-ขา
           A. ชั้น intima : ดาดด้วย endothelium มี subendothelial connective tissueบางมาก ส่วน internal elastic lamina พบได้บ้างแต่น้อยมาก มี valve(Figure38)
           B. ชั้น media : บางมาก มีเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ 1-3 ชั้น แทรกด้วยใยเนื้อประสาน
           C. ชั้น adventitia : พบใยเนื้อประสาน บางครั้งมีเซลล์กล้ามเนื้อเรียบได้บ้าง
        8. LARGEVEINS(Figure 39)
           A. ชั้น intima : คล้ายกับ medium-sized vein แต่มีลิ้นหลอดดำชัดกว่า
           B. ชั้น media : บรรจุกล้ามเนื้อเรียบปะปนกับใยเนื้อประสาน ชั้นนี้ไม่เด่นชัด
           C. ชั้น adventitia : หนาที่สุดของผนัง บรรจุกลุ่มของกล้ามเนื้อเรียบมีใยเนื้อประสานแทรก พบ vasorum ในผนังชั้นนี้
        9. LYMPHATICVESSELS(Figure 42),(Figure43)
           บรรจุน้ำเหลือง มักพบเป็นช่องว่างที่ดาดด้วย endothelial cells เท่านั้น ในท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่พบลิ้นของท่อน้ำเหลืองได้ (Figure 41) ส่วนlymphatic capillaries เป็นหลอดน้ำเหลืองฝอยที่ผนังบางมีแต่ endothelial cellsและ basal lamina ที่ไม่ต่อเนื่อง โดยรับน้ำเนื้อ (tissue fluid) ในส่วนที่เกินคือไม่สามารถกลับคืนสู่หลอดเลือดดำได้หมด จากนั้นนำน้ำเหลืองผ่านเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองเพื่อกรองก่อนที่เทเข้าสู่หลอด น้ำ เหลืองขนาดใหญ่ ต่อมาเทลงสู่ระบบไหลเวียนของน้ำเลือดต่อไปตรงบริเวณต้นคอ

    การไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจมี2 ระบบ คือ
        1. Pulmonarycirculation ลำเลียงเลือดที่มีอ๊อกซิเจนน้อย (เลือดดำ) จากหัวใจข้างขวาไปฟอกที่ปอดและรับเลือดแดง(เลือดที่มีอ๊อกซิเจน) จากปอดเข้าสู่หัวใจข้างซ้าย
        2. Systemiccirculation ลำเลียงเลือดแดงจากหัวใจข้างล่างซ้ายปั๊มไปยังเนื้อเยื่อทั่วร่างกายโดยผ่านเส้นเลือดแดงใหญ่, กลางและเล็ก จากนั้นมีการแลกเปลี่ยน O2& CO2 , อาหาร เป็นต้น และรับเลือดดำจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ เหล่านั้นกลับคืนเข้าสู่หัวใจข้างบนขวา
     

    Figure 32Figure 33Figure 34Figure 35Figure 36Figure 37Figure 38
    Figure 39Figure 40Figure 41Figure 42Figure 43Figure 44
     
    สารบัญหลัก
    บทที่แล้ว
    บทต่อไป
    แบบทดสอบ