Figure 32 :ภาพ A แสดงผนังหัวใจและลิ้นหัวใจ (Cardiac valve = Cv) ภาพ B แสดงลักษณะ โครงสร้างของ Purkinje fibers ผนังหัวใจมี 3 ชั้น ชั้นในสุด เรียก Endocardium ดาดด้วย endothelium และมี subendocardial layer ที่บรรจุ fibroelastic tissue บางแห่งชั้นนี้ต่อเนื่องกับ cardiac valves ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมทิศทางการไหลของเลือด และบางแห่งบรรจุ Purkinje fibers ทำหน้าที่เกี่ยวกับ impulse conducting โดยมี pacemaker เริ่มบริเวณ sinoatrial (S-A) node (ตรงรอยต่อของ superior vena cava และ right atrium) ส่งไปตาม atrial wall สู่ atrioventricular (A-V) node จากนั้นผ่าน atrioventricular (A-V) bundle ต่อมาแยกออกเป็น ขวาและซ้าย bundle branch ตรงบริเวณ septum membranaceum โดยปลายแขนงของ bundle branch คือ Purkinje fibers (ภาพ B) ให้สังเกต Purkinje cell มีcytoplasm ใสเพราะบรรจุ glycogen granules มากกว่า myofibrils.

  • ชั้นกลางของผนังหัวใจ คือ myocardium ประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle, Cm) ชั้นนอกสุดคือ Epicardium ซึ่งประกอบด้วย mesothelial cells ดาดคลุมอยู่ผิวนอกสุดถัดเข้ามาเป็นชั้น ของเนื้อประสานอยู่กันหลวม ๆ โดยมีหลอดเลือดท่อน้ำเหลือง เส้นประสาท บรรจุอยู่เพื่อเลี้ยงชั้นกล้ามเนื้อหัวใจด้านนอก นอกจากนั้น พบเนื้อไขมัน ทำหน้าที่เป็น ฉนวนหุ้มหัวใจ
  • Cardiac valve (Cv) ประกอบด้วย แกน collagenous layer โดยมีผิวคลุมทั้งสองด้านด้วย endothelial layer ซึ่งต่อเนื่องดาดในช่องหัวใจ และหลอดเลือดขนาดใหญ่
  • n = nerve, lv = lymphatic vessel, V = Venule, A = A Purkinje fiber (cell), nuc = nucleus of a Purkinje fiber เข้าใจว่าชั้นที่บรรจุเส้นประสาทและหลอดเลือด นี้คือ epicardium แต่เนื่องจาก Artifact ที่เกิดจากขบวนการเตรียมชิ้นเนื้อทำให้ แยกออกจาก myocardium