Figure 40 :ภาพ A : Arterial capillary (ศรชี้, ระดับกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา) พบบริเวณหนังแท้ ซึ่งเป็นชนิด continuous capillary ผนังของเส้นเลือดแดงฝอยมีชั้นเดียวนั่นคือดาด lumen ด้วย simple endothelial cells และมักเห็นnuclei ติดสีเข้ม นูนออกทาง lumen ส่วน cytoplasm ของเซลล์บางมาก บางครั้งไม่สามารถบ่งชี้ได้ ในระดับกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา นอกจากนั้น อาจพบเซลล์แบนอีกชนิดคือ pericyte โอบล้อมรอบ endothelial cells เซลล์นี้ทำหน้าที่ บีบรัดผนังเส้นเลือดฝอย เหตุที่เรียกว่า continuous capillary เพราะจากภาพอิเลคตรอน endothelial cytoplasm ต่อเนื่องกันตลอด และเชื่อมต่อกันด้วย junction เท่านั้น มี basal lamina ต่อเนื่องรองรับ endothelium

  • Fenestrated capillary เป็นเส้นเลือดแดงฝอยชนิดที่ 2 พบในผนังของลำไส้ เนื้อต่อมไร้ท่อ glomerulus ของไต จากภาพอิเลคตรอน endothelial cytoplasm มีช่อง (Fenestrae) ที่มี diaphragms กั้น แต่มี basal lamina ที่ต่อเนื่อง ยกเว้นใน glomerular capillaries (ภาพ B) ไม่พบ diaphragms กั้น fenestrae.
  • Sinusoidal capillary เป็นเส้นเลือดแดงฝอยชนิดที่ 3 (ศึกษาใน รูปภาพที่ 41) C = Fenestrated capillary, E = cytoplasm ของ endothelial cell, หัวศรชี้ F = Fenestrae, B = Basement membrane.