
ระบบสืบพันธุ์เพศชายประกอบด้วยลูกอัณฑะ (testis) 2 อัน ท่อ ชนิดต่างๆ ที่นำตัวอสุจิ (spermatozoa) ออกมาซึ่งเรียกชื่อรวมว่าgenital tracts และต่อมมีท่อ 3 ชนิด หน้าที่สำคัญของอัณฑะ คือสร้างตัวอสุจิ(sperms) หรือ male gamates โดย spermatogonia มีการแบ่งตัวทั้ง mitosis และmeiosis ท้ายสุดได้ mature spermatozoa (haploid number) เรียกขบวนการนี้ว่าSpermatogenesis กินเวลา 9 อาทิตย์
อัณฑะ (testis)สร้าง sperms ส่งผ่านออกตามท่อและฮอร์โมน androgens โดยเฉพาะพวก testosterone สร้างและหลั่งมาจาก interstitialcells ในอัณฑะ ดังนั้นอัณฑะเป็น mixed exo-endocrine gland อยู่ใน scrotalsac มีเปลือกหุ้มเป็น fibromuscular connective tissue เรียก tunica albugineaแบ่งออกเป็น 250 lobules (lobuli testis) แต่ละ lobule บรรจุ convoluted seminiferoustubules (Figure 159) ประมาณ 1-4 อัน เนื้อผิวดาดท่อเป็นstratified cuboidal epithelium ที่ประกอบด้วยเซลล์สำคัญ 2 ชนิด คือ
- Spermatogeniccells เริ่มจาก spermatogonia พบในบริเวณที่ติดกับ basement membrane ต่อมาเกิดขบวนการspermatogenesis (Figure 160) แบ่งตัวให้เป็นprimary, secondary spermatocyte และท้ายสุดคือ spermatid และ spermatozoa
- Sertoli cellsเป็น supporting or sustentacular cells ซึ่งเป็น columnar cells ที่มี complexapical และ lateral processes ล้อมรอบ spermatogenic cells ที่อยู่ข้างเคียง
เซลล์สำคัญของต่อมไร้ท่อพบรวมกลุ่มอยู่นอกseminiferous tubules เรียกว่า Leydig (interstitial) cells สร้าง testosteroneซึ่งมีหน้าที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 อย่างคือ
- ในระยะตัวอ่อน มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของ malefetus
- ในระยะวัยหนุ่ม (puberty) เริ่มกระตุ้นสร้างตัวอสุจิสร้างน้ำคัดหลั่งออกจาก accessory sex glands และทำให้มีการเจริญของ secondarymale characteristics
- ในระยะผู้ใหญ่ (adult) ปรับสมดุลและคงคุณภาพของspermatogenesis ลักษณะโครงสร้างของเพศชาย ท่อนำตัวอสุจิ และ accessory sexglands
ท่อนำน้ำอสุจิ(genitalducts) (Figure 161 A) เมื่อตัวอสุจิออกจากseminiferous tubules จะผ่านท่อชนิดต่างๆ ตามลำดับการต่อเนื่อง ดังนี้
1. tubuli recti เป็นท่อตรงสั้น ต่อเนื่องกับrete testis ซึ่งเป็นท่อมีลักษณะเป็นร่างแห ท่อทั้งสองส่วนพบอยู่ใน mediastinumtestis
2. 15-20 ductuli efferentes อยู่ในส่วนหัวของepididymis
3. ductus epididymis อยู่ในส่วนตัวและหางของepididymis ในขณะที่ spermatozoa เดินทางอยู่ภายในท่อ epididymis จะมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นmature spermatozoa คือ เคลื่อนที่ได้เอง
4. ductus (vas) deferens เป็นท่อกล้ามเนื้อที่ผ่านเข้าไปอยู่ในinguinal canal โดยเป็นองค์ประกอบหนึ่งใน spermatic cord ปลายท่อส่วนนี้โป่งออกเรียกampulla of ductus deferens และเปิดออกร่วมกับท่อที่มาจาก seminal vesicleให้เป็น
5. ejacutatory duct เข้าสู่ prostrate gland(ต่อมลูกหมาก) และออกทาง membranous และ penile urethra
6. urethra (กล่าวแล้วในบทที่ 7) เป็นทางผ่านของน้ำอสุจิและน้ำปัสสาวะ(ในเพศชาย)
ต่อมมีท่อที่เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายเรียกacessory glands มี 3 ชนิดคือ1. seminal vesicles มี 1 คู่ เป็นถุงยาวสร้างสารที่เป็นอาหารให้กับตัวอสุจิ
2. prostate gland มี 1 อัน ประกอบด้วยเนื้อต่อมที่แบ่งออกเป็น3 บริเวณ คือ mucosal, submucosal และ external (main) prostatic glands สร้างproteolytic enzymes และ acid phosphatase
3. bulbourethral (cowper's) glandsสร้างน้ำเมือกเหนียว เทลงสู่ cavernous (spongy) urethra
ลักษณะโครงสร้างของ genital ducts A. TubuliRecti เริ่มแรกดาดด้วย sertoli-like cells ต่อมาเปลี่ยนเป็น simple cuboidalepithelium ท่อนี้เชื่อมระหว่าง seminiferous tubules กับ rete testis
B. Retetestis (Figure 161 B) ดาดท่อด้วย simplecuboidal epithelium ท่อส่วนนี้ฝังอยู่ใน mediastinum testis
C. Epididymisลักษณะยาวประมาณ 7.5 ซม. ท่อนี้ขดม้วนเป็นแท่งยาว เกาะด้านหลังของลูกอัณฑะแบ่งตามมหกายวิภาคเป็น 3 ส่วน คือส่วนหัว ตัว และหาง ท่อที่อยู่ใน epididymisมี 2 ชนิดคือ
1. Ductuli Efferentes (Figure162) เป็นองค์ประกอบบริเวณหัวของ epididymis ท่อนี้ดาดด้วย simple columnar(tall ciliated และ low nonciliated) epithelium ผนังท่อเป็น fibroelasticconnective tissue และมีเซลล์กล้ามเนื้อเรียบมาแทรก
ของเหลวที่หลั่งมาจาก seminiferous tubulesจะถูกดูดซึมในขณะผ่าน efferent ductuli การเคลื่อนของตัวอสุจิภายในท่อนี้เกิดจากcilia พัดโบกและผนังท่อที่มีองค์ประกอบเป็นกล้ามเนื้อ
2. Ductus Epididymis (Figure163) เป็นองค์ประกอบบริเวณตัวและหางของ epididymis ท่อนี้ดาดด้วย pseudostratifiedcolumnar epithelium ซึ่งประกอบด้วย short basal และ tall principal cells(มี stereocilia หรือ long microvilli) เนื้อผิวรองรับด้วย basal membraneถัดลงมาเป็นเนื้อประสานที่มีเซลล์กล้ามเนื้อเรียบแทรก
หน้าที่ของ epididymal cells คือ ดูดซึมของเหลวที่เหลือมาจากductuli efferentes และหลั่ง glycerophosphocholine, sialia acid และ glycoproteinsซึ่งสารดังกล่าวเข้าใจว่า ช่วยในการแก่ตัว (maturation) ของตัวอสุจิ
D. Ductus (Vas)Deferens (Figure 164) ท่อส่วนนี้สิ้นสุดบริเวณเกือบถึงต่อมลูกหมากและเป็นท่อที่มีผนังกล้ามเนื้อเรียบหนามาก เนื้อผิวที่ดาดท่อเป็นชนิด pseudostratifiedstereociliated และ columnar epithelium ล้อมรอบด้วย fibroelastic propriaที่บาง ถัดมาเป็นผนังกล้ามเนื้อที่แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ inner และ outerlongitudinal และ middle circular layer ชั้นนอกสุดเป็น adventitia E. Ejaculatoryduct เป็นท่อสั้นให้เป็นทางออกร่วมของปลาย ampulla ของ ductus deferensและท่อจาก seminal vesicle เนื้อผิวที่ดาดมีลักษณะเหมือนกับ ductus deferensแต่ไม่มีผนังกล้ามเนื้อหนาเป็นชั้น เพราะถูกแทนที่ด้วย fibromuscular tissueของเนื้อต่อมลูกหมาก (prostate gland)
- หน้าที่ของเซลล์เนื้อผิวที่ดาดทั้ง ampulla และejaculatory duct เกี่ยวกับการหลั่งของเหลว
ลักษณะโครงสร้างของ accessory glandsA. Seminal vesicles (Figure165) พบเป็นคู่ ต่อมนี้ประกอบด้วยท่อที่มีลักษณะคดเคี้ยว ทำให้ mucousmembrane นั้นพับย่นจำนวนมาก เนื้อผิวที่ดาดเป็น pseudostratified columnarหรือ low columnar epithelium ซึ่งประกอบด้วย tall, nonciliated columnarcells กับ short round cells(Figure 166) วางอยู่บนbasal lamina ผนังกล้ามเนื้อเรียบประกอบด้วย inner circular และ outer longitudinallayer ชั้นนอกสุดคือ adventitia
ต่อมนี้นอกจากหลั่งน้ำเมือกสีขาวปนเหลืองที่มีfructose มาก เพราะเป็น metabolic substrate ของตัวอสุจิ แล้วยังพบองค์ประกอบของamino acids, ascorbic acid และ prostaglandins การสร้างและหลั่งสารดังกล่าวตลอดจนลักษณะของเนื้อผิวถูกควบคุมโดย testosterone
B. Prostate gland (ต่อมลูกหมาก) (Figure167) เมื่อ ejaculatory ducts เทลงสู่ prostatic urethra ซึ่งผ่านเข้าไปในเนื้อต่อมลูกหมากที่มีเปลือกหุ้ม(fibromuscular capsule) เนื้อของต่อมประกอบด้วยต่อมแต่ละอันจำนวนมาก ทำให้แบ่งได้เป็น3 ชั้น คือ mucosal, submucosal และ external (main) gland เนื้อผิวที่ดาดfolded mucosa เป็นชนิด simple cuboidal to columnar epithelium มีบางบริเวณดาดด้วยpseudostratified columnar epithelium โครงสร้างที่พยุงเนื้อต่อมเป็น fibroelasticvascular stroma ที่มีพวกเซลล์กล้ามเนื้อเรียบแทรก บ่อยครั้งที่พบ prostaticconcretions อยู่ใน lumen ของต่อม
C. Bulbourethral glands เป็นพวกต่อมขนาดเล็กมีเปลือกเป็นเนื้อประสานบางหุ้ม และยังแทรกเข้าไปในเนื้อต่อม ทำให้แบ่งออกเป็นกลีบเล็ก(lobule) เนื้อผิวที่ดาดเป็น cuboidal to low columnar cells ท่อของแต่ละต่อมจะหลั่งน้ำเมือกเทลงสู่cavernous (spongy) urethra หมายเหตุ: Spermiogenesis คือ ขบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ male gamates จนกลายเป็นspermatozoa และพร้อมที่จะเคลื่อนที่ได้เอง ให้ศึกษาภาพวาดจาก Color Atlasof Histology by Gartner & Hiatt, 2nd ed., chapter 18, pp. 345,1994.

: Penisเป็นอวัยวะใช้เกี่ยวกับ copulation ส่วน bulbo-urethral glands of cowperสร้างและหลั่งน้ำเมือกหล่อลื่น urethra ในขณะที่มีการหลั่งน้ำอสุจิ