ระบบการสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วย
     1. รังไข่ (ovaries) เป็นแหล่งสร้างไข่ (oogenesis) มี 1 คู่ อยู่แต่ละข้างของปีกมดลูกใกล้กับlateral wall ของ pelvis ในระยะวัยสาวรุ่น เริ่มมีการตกไข่ (ovulation) ที่มีลักษณะเป็นวงจรซึ่งวงจรการตกไข่ (ovarian cycle) ต่อเนื่องตลอดไป (เว้นเมื่ออายุมาก) วงจรนี้จะหยุดชั่วคราวในระยะตั้งครรภ์ขบวนการตกไข่ ควบคุมด้วย gonadotrophic hormones สร้างและหลั่งจาก anteriorpituitary gland รังไข่เป็นทั้งต่อมมีท่อและไร้ท่อ ในส่วนของต่อมไร้ท่อสร้างฮอร์โมน2 ชนิด คือ estrogen และ progesterone ซึ่งมีอิทธิพลต่อการทำงาน และการเจริญของgenital tracts, ต่อมน้ำนมและวงจรการตกไข่
     2. ท่อนำไข่และอวัยวะที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ ได้แก่ uterine tube(ปีกมดลูก หรือ oviducts หรือ fallopian tubes), uterus (มดลูก), cervix (ปากมดลูก),vagina (ช่องคลอด), labia majora, minora, clitoris และ valva
     3. เต้านม (breasts) เป็น modified apocrine sweat glands ซึ่งเจริญเติบโตในระยะวัยสาวและค่อย ๆ เสื่อมในระยะวัยหมดประจำเดือน ในระยะมีครรภ์ส่วนที่สร้างน้ำนม (secretoryportion) เพิ่มขนาดและจำนวนในการสร้างน้ำนมเรียกระยะ lactation (ให้นมบุตร)

1. OVARY (รังไข่) เนื้อรังไข่แบ่งออกเป็น2 ส่วน
       A. Cortex เนื้อรังไข่ส่วนนอกถูกคลุมด้วย germinal epithelium (simplecuboidal epithelial cells) ถัดเข้ามาเป็นเปลือกหุ้มเรียก tunica albugineaประกอบด้วย fibrous connective tissue เนื้อรังไข่ส่วนที่เหลือเป็น stromaบรรจุ ovarian follicles ที่กำลังเจริญเติบโตในระยะต่างๆ เริ่มตั้งแต่
           (i) Primodial follicle ประกอบด้วย primary oocyte 1 เซลล์ ห่อหุ้มด้วยfollicular (granulosa) cells เรียงตัวชั้นเดียวซึ่งมีลักษณะเป็น simple squamouscells
           (ii) Primary follicle แบ่งย่อยออกเป็น 2 ระยะคือ
                   a. Unilaminar primary follicle (Figure 146A) ประกอบด้วย primary oocyte ล้อมรอบด้วย simple cuboidal follicularcells
                   b. Multilaminar (late) primary follicle (Figure146 B) ประกอบด้วย primary oocyte ล้อมรอบด้วย follicular cells หลายชั้น(stratified cuboidal epithelium) ในระยะนี้ เริ่มพบชั้นใสล้อมรอบด้านนอกของoocyte เรียก zona pellucida ส่วนเปลือกล้อมรอบชั้น follicular cells เรียกtheca interna เริ่มบ่งชี้ได้บ้าง
           (iii) Secondary (vesicular) follicle, (Figure147) ระยะนี้ไข่มีขนาดใหญ่ขึ้น เกิดมีช่องท่ามกลางชั้น follicular cellsและบรรจุ follicular fluid ช่องนี้คือ follicular antrum (บางตำราเรียก Call- Exner bodies) ต่อมาเกิด atrum ขึ้นหลายอัน และเริ่มบ่งชี้ชั้นที่หุ้ม thecainterna (ระยะนี้กว้างขึ้น) คือชั้น theca externa
           (iv) Graafian (Mature) follicle (Figure 148)ไข่มีขนาดใหญ่สุด follicular antrums ซึ่งอยู่กระจัดกระจาย จะมารวมกันให้เป็นช่องขนาดใหญ่1 ช่อง ส่วน primary oocyte มีการแบ่งตัวแบบ Meiosis ให้เป็น secondary oocyteยื่นเข้าไปอยู่ใน antrum ชั้น follicular cells ที่เป็นเปลือกรอบ antrum เปลี่ยนเรียกว่าZona granulosa (membrana granulosa) มีส่วนที่ล้อมรอบ oocyte เรียก coronaradiata แต่บริเวณก้านที่เชื่อมกับเปลือก ของ atrum เรียกว่า cumulus oophorusระยะนี้ Zona pellucida เห็นได้ชัด เช่นเดียวกับชั้น theca interna และ thecaexterna
           (v) Atretic follicles (รูปที่ 151 B)เป็นระยะเสื่อมสลายของไข และเยื่อหุ้ม เกิดหลังจากที่มีการตกไข่ (ovulation)แล้ว โดยมีเซลล์เนื้อประสาน เข้าไปแทรก
       B. Medulla เนื้อรังไข่ส่วนแกน ประกอบด้วย เนื้อประสานค่อนข้างหลวม บรรจุหลอดเลือดรวมทั้งspiral arteries และ convoluted veins

ระยะต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงในเนื้อรังไข่
       1. Corpus luteum (รูปที่ 149), (รูปที่150) เมื่อ secondary oocyte และบางส่วนของ follicular cells ที่ล้อมรอบหลุดออกจากรังไข่(ovulation) แรกเริ่มนั้นเกิดช่องว่างใน graafian ซึ่งจะถูกบรรจุด้วยน้ำเลือดเรียก corpus hemorrhagicum ระยะต่อมาพวกเซลล์ของ membrane granulosa เข้าไปแทรกและเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เรียก granulosa lutein cells
       2. Corpus Albican (Figure 151) เป็นผลสืบเนื่องจากการที่corpus luteum เกิด involution และ hyalinization ทำให้มีลักษณะสีขาว คล้ายกับแผลเป็นอยู่ในเนื้อรังไข่

ท่อชนิดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์เพศหญิง
       A. Oviduct (fallopian tube, ท่อนำไข่) (Figure152) แบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ infundibulum (ปลายสุดคือ fimbrae), pula,isthmus (แคบที่สุด) และ intramural (อยู่ในเนื้อมดลูก) ท่อนี้มีผนังแบ่งออกเป็น3 ชั้นคือ
           (i) Mucosa มีรอยย่นมากในส่วน infundibulum และ ampulla ชั้นนี้ดาดด้วยsimple columnar epithelium ที่ประกอบด้วย peg cells (non-ciliated cells)และ ciliated cells มีเนื้อประสานชนิดหลวมรองรับ
           (ii) Muscularis ชั้นกล้ามเนื้อเรียบ ประกอบด้วย inner circular และ outerlongitudinal layer
           (iii) Serosa เป็นชั้น adventitia ที่คลุมด้วย serous membrane
       B. Uterus (มดลูก) แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ fundus (บนสุด), body และ cervix(ปากมดลูก) ในระยะตั้งครรภ์มดลูกเป็นที่อยู่ของตัวอ่อนที่เจริญเติบโตให้ทารกผนังมดลูก แบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ
           1. ENDOMETRIUM ลักษณะเป็นspongy mucosal layer ปกคลุมด้วย simple columnar epithelium รองรับด้วยชั้นlamina propria ชั้นนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน ทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงตามmenstrual cycle ชั้น endometrium แบ่งย่อยออกเป็น 2 ชั้น คือ functionallayer และ basal layer มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชั้น functional layer แบ่งออกเป็น3 ระยะได้แก่
                   (i) Follicular (proliferative) phase (Figure153) ผิวบนมีเนื้อผิวปกคุลม พบต่อมมีท่อและ helical arteries เจริญมีลักษณะตรงบรรจุอยู่ใน functional layer
                   (ii) Luteal (secretory) phase (Figure 154)เป็นระยะที่พบหลังจากมีการตกไข่แล้ว 2-3 วัน ต่อมมีท่อเจริญเติบโตขนาดใหญ่ขดเคี้ยว และบรรจุสิ่งที่ต่อมนี้สร้างขึ้น ส่วน helical arteries ขดม้วนมากขึ้นมีการสะสม glycogen อยู่ภายใน cytoplasm ของ fibroblasts จำนวนมาก
                   (iii) Menstrual phase มีการลอกหลุดของ functional layer ให้เป็นประจำเดือนออกมา(การมีประจำเดือนครั้งแรก ของเพศหญิง เรียกว่า menache) เรียกว่า menstruationแต่ basal layer ยังคงเหลือติดอยู่ในโพรงมดลูก
           2. MYOMETRIUM ชั้นกล้ามเนื้อมดลูกที่หนา ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ 3ชั้น แต่แยกจากกันค่อนข้างยาก ได้แก่ inner longitudinal, middle circularและ outer longitudinal ในระยะตั้งครรภ์กล้ามเนื้อนี้จะหนาขึ้น ผลจากการเพิ่มขนาดเรียกว่าhypertrophy ของกล้ามเนื้อเรียบ
           3. SEROSA เป็นชั้น adventitia คลุมด้วย serous membrane มีบางส่วนที่เป็นชั้นadventitia เชื่อมติดกับโครงสร้างข้างเคียง
       C. Cervix (ปากมดลูก) (Figure 155) มีช่องตรงกลางเป็นทางยาวเรียกendocervical canal และดาดด้วย mucous-secretory columnar epithelium (Figure156) ช่องนี้มีช่องปลายบนติดต่อกับโพรงมดลูก เรียก inter os ช่องปลายล่างเปิดออกสู่ช่องคลอด(vagina) เรียกว่า cervical extern os ซึ่งบริเวณนี้มีการเปลี่ยนชนิดของเนื้อผิวที่ดาดcervix ส่วนนี้ยื่นเข้าไปอยู่ในช่องคลอด เรียกว่า portio vaginalis โดยบริเวณนี้ดาดด้วยstratified squamous epithelium (moist type) (Figure156) ดังนั้น external os มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะเนื้อผิวจาก columnarไปเป็น squamous type ทันที ทำให้บริเวณนี้มี metaplastic changes เกิดขึ้นได้ง่ายอาจเนื่องมาจากการติดเชื้อเรื้อรัง หรือการเสียดสีที่เกิดบ่อยครั้ง
           cervical mucosa มีการเปลี่ยนแปลงความหนาเพียงเล็กน้อย ในระยะ menstrual cycleจึงไม่มีการลอกหลุดของเนื้อผิว ในระยะ menstruation
       D. Vagina (ช่องคลอด) (Figure 156) เป็นช่องที่มีกล้ามเนื้อหุ้มทำหน้าที่ให้เป็นทางเข้าของ penis ในระยะผสมพันธุ์ และทางออกของทารกในระยะคลอดบุตรผนังของช่องคลอดมี 3 ชั้น ได้แก่
           (i) Mucosa ดาดด้วย stratified squamous epithelium (moist type) มีชั้นlamina propria รองรับ ซึ่งประกอบด้วย fibroelastic connective tissue ที่ไม่พบต่อมมีท่อชั้นนี้พับย่นเป็นทางยาวเรียกว่า rugae
           (ii) Submucosa ประกอบด้วย fibroelastic connective tissue บรรจุหลอดเลือดจำนวนมาก
           (iii) Muscularis ประกอบด้วยกลุ่มกล้ามเนื้อเรียบที่พับประสานกัน บริเวณใกล้กับexternal os มี skeletal muscle sphincter มาเสริมอีกชั้น
           (iv) Adventitia เป็นชั้นเนื้อประสานที่เชื่อมติดต่อกับ โครงสร้างข้างเดียว
       E. Mammary gland (เต้านม) เป็น modified sweat gland ในเพศหญิงและชายมีลักษณะโครงสร้างเหมือนกันจนเข้าระยะวัยหนุ่มสาว เต้านมของเพศหญิงมีขนาดใหญ่ขึ้นมาก โดยต่อมเจริญให้เป็นcompound tubulo-alveolar gland มี lactiferous duct ซึ่งมีขนาดเล็ก เพื่อนำน้ำนมออกจากnipple (หัวนม) ระยะนี้ยังถือว่าเป็น inactive stage บริเวณผิวหนังที่ล้อมรอบหัวนมมีสีคล้ำเรียกว่า areolar ซึ่งเนื้อผิวที่คลุมนี้บาง และมีเซลล์ที่รับเม็ดสีแทรกจำนวนมากพบต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน และ apocrine areolar glands เมื่อไรเต้านมอยู่ในระยะตั้งครรภ์โดยเฉพาะระยะให้นมบุตร จะมีอิทธิพลของฮอร์โมนเพศมาควบคุมเรียก active stageจึงแบ่งเต้านมออกเป็น 2 ระยะคือ
           (i) Inactive stage (Figure 157) ประกอบด้วยdense irregular collagenous connective tissue ที่มีเนื้อไขมันแทรกประปรายแต่มีส่วนที่เป็นท่อจำนวนมาก ปลายท่อมีตุ่มของ alveoli แต่ยังถูกคลุมด้วยmyoepithelial cells มี interlobular septum กว้างให้เห็นชัดเจน
           (ii) Lactating (active) stage (Figure 158)เต้านมอยู่ในระยะให้นมบุตร alveoli ขยายใหญ่ขึ้น เกิดมีกลีบเล็กจำนวนมาก interlobularseptum แคบมาก เมื่อตัดตามขวางของกลีบเล็ก มีลักษณะคล้ายกับ follicles ที่ดาดด้วยsimple cuboidal cells ของต่อมไทรอยด์ ภายใน lumen ของ alveoli และ ductsบรรจุ fatty secretory products
       ในระยะไม่ตั้งครรภ์ ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงมีวงจรการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง เริ่มจากระยะวัยสาว(puberty) จนถึงวัยหมดประจำเดือน (menopause) ในวงจรการตกไข่เมื่อมีการตกไข่แต่ถ้าไม่มีการผสมพันธุ์ เนื้อผิวของโพรงมดลูก (endometrium) ที่หนาจะค่อยๆ เสื่อมไปและหลุดออกลอกต่อมาเริ่มวงจรใหม่ ในคนระยะที่เนื้อผิวของโพรงมดลูกหนาและหลุดลอกให้เป็นเลือดออกจากช่องคลอด เป็นเวลา 3-5 วัน เรียกว่าระยะประจำเดือน(menstruation) menstrual cycle วันแรกที่มีประจำเดือนไหลออกมา เรียกว่าวันเริ่มของวงจรใหม่เพราะมีfollicular maturation พร้อมทั้งมีอิทธิพลของ ovarian estrogen ร่วมด้วยทำให้มีendometrial proliferation (proliferative phase) ตามด้วย secretory phase(อิทธิพลของ ovarian progesterone) และ menstural phase (ไม่มีอิทธิพลของฮอร์โมนจากรังไข่)บางตำราเรียกว่าวงจรนี้เป็น menstral cycle ซึ่งมีระยะเวลา 28 วัน การตกไข่อยู่ระหว่างกลางของวงจร(ประมาณวันที่ 14) โดยสรุปวงจรของการตกไข่ และการมีประจำเดือนเกิดร่วมกับอิทธิพลของฮอร์โมนต่างๆ ที่หลั่งมาจากรังไข่ และต่อมใต้สมอง
 

Figure 146Figure 147Figure 148Figure 149Figure 150
Figure 151Figure 152Figure 153Figure 154Figure 155
Figure 156Figure 157Figure 158
 
สารบัญหลัก
บทที่แล้ว
บทต่อไป
แบบทดสอบ