Figure 160 :ภาพขยายใหญ่ของขบวนการ spermatogenesis เริ่มจาก Spermatogonia (spg) เป็น germ cells พบติดอยู่กับ basement membrane (bm) ของ seminiferous epithelium เซลล์เหล่านี้มีการแบ่งตัวโดยวิธี mitosis ให้เป็น stem cells คือ spermatogonia Type A และ spermatogonia Type B ไม่ต้องแยกชนิด Type A และ Type B แต่ความเป็นจริงแล้ว มีข้อแตกต่างตรงที่ Type A มีนิวเคลียสที่กลมขนาดใหญ่ และ chromatin ติดสีเข้ม มีนิวคลีโอลัสติดกับ nuclear membrane ส่วน Type B มี chromatin กระจายและนิวคลีโอลัสอยู่กลางนิวเคลียส

      Spermatogonia Type B เข้าสู่ระยะแรกของการแบ่งตัวแบบ meiosis ให้เป็น primary spermatocyte (spc) มี cytoplasm เห็นชัด นิวเคลียสขนาดใหญ่ บรรจุกลุ่มของ chromatin แบบหยาบหรือเป็นเส้นบางๆ หลังจากนั้น 3 อาทิตย์ มีการแบ่งตัวต่อไปได้เป็น secondary spermatocyte ระยะนี้เร็วมาก (มักไม่เห็นเซลล์ในระยะนี้) และแบ่งต่อไปเข้าระยะที่สองของ meiosis ให้เป็น spermatid (spt) ต่อมาเกิดขบวนการ spermiogenesis ซึ่ง spermatids เปลี่ยนรูปร่างจากเซลล์กลมมีนิวเคลียส กลายเป็น mature spermatozoon โดยมีหางที่เคลื่อนได้ ขบวนการในระยะนี้นิวเคลียสของ spermatids มีขนาดเล็กลง ติดสีเข้ม และมีลักษณะยาว ส่วน golgi apparatus กลายเป็น acrosomal head cap (ศึกษาอย่างละเอียดในตำรา)

      Sertoli cell (S) ทำหน้าที่เกื้อหนุนขบวนการเจริญของ spermatogenesis เซลล์นี้มีนิวเคลียสเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือรูปไข่ มีนิวคลีโอลัสเด่นชัด ส่วนโครมาตินกระจาย ในระดับ LM นั้น cytoplasm ไม่เด่นชัด แต่ในระดับกล้องจุลทรรน์อิเลคตรอนพบว่า มี cytoplasm มาก และแผ่กระจาย ตลอดทั่วเนื้อผิวที่สร้างตัวเซลล์อสุจิมักพบเซลล์ทุกระยะ ของ spermatogenesis เกาะที่ผิวของ sertoli cells.

      Basal layer ของ germinal cells รองรับด้วย basement membrane (bm) ซึ่งล้อมรอบด้วย lamina propria ที่บรรจุ spindle-shaped fibromyocytes (myoloid cells) ซึ่งมีหน้าที่สร้าง collagen และ elastic fibers ในขณะเดียวกัน มีการหดตัวเพื่อช่วยให้มีการเคลื่อนที่ของ spermatozoa ผ่านตามท่อ