Figure 50 :ต่อมน้ำเหลือง (lymph node) รูปร่างคล้ายถั่วมีเปลือกหุ้มโดยรอบ เปลือก (capsule,cap) ประกอบด้วย dense irregular collagenous connective tissue ตรงบริเวณผิวเปลือกที่โค้งนูนของต่อมมี Afferent lymphatic vessels (Av) บรรจุและแทงทะลุเนื้อต่อมน้ำเหลือง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ cortex (cor, ติดสีเข้มอยู่ใต้ต่อเปลือก) และถัดลงมาเป็น medulla(med) แต่ถ้าแบ่งตามตำแหน่ง และชนิดการทำงานของ lymphocytes แยกเนื้อต่อมได้เป็น 3 ส่วนคือ (i) spheroidal lymphoid follicles ซึ่งเป็นแหล่งของ B-cells โดย lymphoid follicles แบ่งย่อยออกเป็น primary follicles (ไม่มี germinal center ) และ secondary follicles (มี germinal center = GC บรรจุ B-cells และ M = mantle zone หรือ lymphocytic corona บรรจุ T-cells) (ii) Deep cortical zone or paracortex or juxtamedullary cortex คือบริเวณเนื้อ cortex ที่ไม่รวม lymphoid follicle และรวมทั้งอาณาเขตเชื่อมต่อระหว่างเนื้อ cortex และ medulla บริเวณดังกล่าวประกอบด้วย T-cells (iii) Medullary Cord (MC) ลักษณะเป็นแท่งติดสีน้ำเงินเข้มอยู่ในส่วน Medulla ประกอบด้วย B-cells และ plasma cells และมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับการสร้าง immunoglobulins (หรือ antibodies)

  • ปัจจุบันเชื่อว่า germinal centers ของต่อมน้ำเหลืองเกิดมาจากผลของ T cell/B cell interaction ตรงบริเวณ paracortex ในขณะเดียวกัน B cells บริเวณ germinal centers เปลี่ยนไปเป็น antibody-secreting cells (plasma cells ) และเคลื่อนไปยัง medullary cords เพื่อสะดวกในการหลั่ง antibodies ออกจากต่อมน้ำเหลืองทาง efferent lymph vessels ผ่านออกตรงบริเวณขั้วของต่อม