การเลือกรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม จะสามารถหลีกเลี่ยงอคติที่อาจจะเกิดขึ้นในการวิจัยได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มความถูกต้อง และเชื่อถือได้ ให้กับงานวิจัยนั้น ๆ

การเลือกรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับคำถามหรือปัญหาที่ต้องการแสวงหาคำตอบจากการศึกษาวิจัย ในการศึกษา เพื่อแสดงหาคำตอบ ของคำถามหรือปัญหา ควรพิจารณากระบวนการศึกษาที่ครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาขนาดของปัญหา ว่ามีมากน้อยเพียงใด (ศึกษาเกี่ยวกับทุกข์) เมื่อกำหนดคำถามหรือปัญหาได้ชัดเจนแล้ว เช่น พบว่าโรคนั้นเป็นปัญหา ขั้นตอนต่อไป ก็คือการศึกษาค้นหาต้นเหตุของปัญหา (สมุทัย) การศึกษาเพื่อค้นหาต้นเหตุของปัญหาทำให้สามารถกำหนดกลยุทธิในการแก้ไขปัญหา (นิโรธ) ซึ่งอาจจะมีมาตรการต่าง ๆ ในการแก้ไข ปัญหา ซึ่งตรงกับสาเหตุเหล่านั้น และขั้นต่อไปก็คือการเลือกแนวทางแก้ไขปัญหา (มรรค) กลยุทธที่เลือกใช้ น่าจะเป็นกลยุทธที่ทำให้บรรลุ จดมุ่งหมายได้มากที่สุด และประหยัดที่สุด เช่น มุ่งให้คนส่วนใหญ่ในชุมชน เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยทรัพยากรอันจำกัดที่เรามีอยู่

ในบทนี้จะเสนอแนวคิดเป็น 2 หัวข้อคิด คือ

1. ลำดับขั้นตอนของวิธีการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา
2. วิธีการเลือกรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม

 

Back to Main Menu HOME Next Lesson