ลำดับขั้นตอนของวิธีการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา

  การคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาอาจแบ่งออกได้เป็น 6 ขั้นตอน (ภาพที่ 1) (Peter Tugwell 1983) ดังนี้

1. การประเมินสถานการณ์
2. การศึกษาต้นเหตุของปัญหา
3. การค้นหาวิธีการในการแก้ปัญหา
4. การดำเนินการแก้ปัญหา
5. การควบคุมกำกับการดำเนินการตามแผน
6. การประเมินผลการดำเนินการ

ภาพที่ 1 ลำดับขั้นตอนของวิธีการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา

 

ขั้นตอนที่ 1 การประเมินสถานการณ์ เป็นการวิเคราะห์ถึงสภาพ ขอบเขต ขนาดของปัญหา เช่น ประเมินสถานการณ์ของโรคใดโรคหนึ่ง โดยใช้สถิติชีพ (Vital statistics) และดัชนีอนามัย (Health indices) ที่เหมาะสม เป็นต้น ตัวอย่าง เช่น ประเมินสถนาการณ์ของไข้มาเลเรีย โดยการดูอัตราเกิดโรคในรอบปี (Annual Parasits Incidece Rate) หรือดูอัตราพบเชื้อในฟิล์มโลหิต (Slide Positive Rate) หรือดูจากแหล่งสะสมเชื้อ (Pool of infection) (Kaewsonthi & Harding 1987)


ขั้นตอนที่ 2 การค้นหาต้นเหตุของปัญหา (Etiology or Causation) เป็นการศึกษาถึงต้นเหตุ หรือปัจจัยเสี่ยง ที่อาจเป็นต้นเหตุของปัญหา หรือโรคนั้น ๆ โรคบางอย่างอาจมีสาเหตุเฉพาะที่ชัดเจน เช่น ไข้เลือดออก วัณโรค หรือมาลาเรีย เป็นต้น แต่บางโรค อาจมีต้นเหตุจากปัจจัยหลายอย่าง (Multiple causal factors) เช่น ภาวะขาดอาหาร มะเร็ง โรคเส้นเลือดสมอง เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว อาจเนื่องมาจาก สาเหตุทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผิด ๆ อันเอื้ออำนวยในการเกิดโรคหรือปัญหาเนื่องมาจากการไปรับบริการ ทางการแพทย์


ขั้นตอนที่ 3 การค้นหาวิธีการในการแก้ปัญหา เมื่อทราบถึงปัญหาและต้นเหตุของปัญหาแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การแสวงหาแนวทาง และเลือกแนวทางที่เหมาะสม ในการแก้ ปัญหานั้น ๆ ซึ่งเมื่อมีทางเลือกหลายทางก็จำเป็นต้องมีการประเมินทางเลือกต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่เหมาะสม
การประเมินวิธีการในการแก้ปัญหา (เช่น การประเมินยาใหม่) มีขั้นตอนในการ ศึกษาอยู่ 3 ขั้นด้วยกัน โดยในขั้นตอนแรก เป็นการประเมินว่ายานั้นดีจริงหรือไม่ (ประเมินเกี่ยวกับ Efficacy) ถ้าประเมินแล้วว่ายานั้นดีจริง ก็ต้องประเมินต่อไปว่า ที่ดีจริงนั้น จะสามารถใช้ได้จริง ๆ ในทางปฏิบัติหรือไม่? (ประเมินเกี่ยวกับประสิทธิผล = Effectiveness) และถ้าปรากฏว่ายานั้นดีจริงและใช้ได้จริง ๆ ในทาง ปฏิบัติก็มาถึงการประเมินในขั้นตอนสุดท้ายว่ายานั้นคุ้มกับต้นทุนที่ลงไปหรือไม่? (ประเมินประสิทธิภาพ = Efficiency) ในทางปฏิบัติ ผู้วิจัยอาจประเมินทั้ง 3 ขั้น ตอนไปพร้อม ๆ กันเลยก็ได้


ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินการแก้ปัญหา (Implementation) เป็นการดำเนินการโดยใช้ทางเลือกที่ เหมาะสมที่สุดจากการประเมินในขั้นตอนที่ 3 มาดำเนินการ เพื่อจะทำให้เกิด ประโยชน์สูงสุดด้วยทรัพยากรอันจำกัดนั้น ในขั้นตอนอาจจำเป็นต้องมีการวิจัยที่เรียกว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการ หรือการวิจัย ขั้นดำเนินการ (Operational Research) เพื่อหารูปแบบ (Model) ของบริการที่ เหมาะสมสำหรับ การแก้ปัญหานั้น


ขั้นตอนที่ 5 การควบคุมกำกับการดำเนินการ (Monitoring) เป็นการติดตามการปฏิบัติงานเป็นระยะ เพื่อเปรียบเทียบผลของการปฏิบัติงาน กับวัตถุประสงค์ของแผนและการ เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดในแผน ทั้งนี้จะได้ทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปตาม แผนที่กำหนด และสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานได้


ขั้นตอนที่ 6 การประเมินผล (Evaluation) เพื่อประเมินความสำเร็จของการปฏิบัติงานและประเมินว่าขนาดของปัญหานั้นลดลงหรือไม่ หลังจากได้ทำครบวงจรแล้ว


การคิดวิเคราะห์ เพื่อการแก้ปัญหาที่ให้ผลดีควรจะเป็นระบบและครบวงจรทั้ง 6 ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าปัญหาจะเป็นรูปแบบใด แนวคิดวิเคราะห์เพื่อการแก้ปัญหาเป็นระบบเดียวกัน

 

การเลือกรูปแบบการวิจัย HOME วิธีการเลือกรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม