การใช้ PCR ในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อ
บทความนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะการใช้ PCR ในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อที่สำคัญ ผู้สนใจรายละเอียดในหัวข้อใด อาจค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากเอกสารแนะนำข้างท้ายบทความ
แทบจะกล่าวได้ว่า ไม่มีจุลชีพทางการแพทย์ตัวใดเลย ที่จะไม่มีผู้ทำการศึกษาถึงประโยชน์ใช้สอยของ PCR ในแง่ต่างๆ สำหรับ clinical practice จะขอแบ่งการนำมาใช้ออกเป็นหมวดๆ ดังนี้
1. การวินิจฉัยการติดเชื้อในระบบประสาทกลาง
2. การวินิจฉัยวัณโรค
3. Multiplex PCR
4. Real-time PCR
Real-time PCR
เป็นวิธีการทำ PCR ที่เพิ่งพัฒนาใหม่ในช่วง 5-6 ปีนี้เอง สามารถตรวจหา PCR product ได้โดยตรงจากในหลอดทดลองที่ทำ PCR แทนที่จะต้องนำ product มาทำ electrophoresis อีกทอดหนึ่ง ทำให้ย่นระยะเวลาลงจาก 4-5 ชั่วโมง เหลือเพียงไม่ถึงชั่วโมง เหมาะสำหรับการวินิจฉัยโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น Herpes simplex encephalitis ซึ่งต้องการการวินิจฉัยและรักษาที่เร่งด่วน นอกจากนี้ เนื่องจากกระบวนการ amplification และ product detection ของ real-time PCR สามารถทำได้เสร็จสิ้นในหลอดทดลองเดียวกัน โดยไม่ต้อง transfer PCR product ไปที่อื่น จึงลดโอกาสเกิด contamination ของ PCR product ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการทำ PCR อีกประการหนึ่ง เทคนิคนี้สามารถวัดปริมาณ DNA ที่ตรวจหาได้ (คือใช้เป็น quantitative PCR ได้วิธีหนึ่ง) จึงมีผู้นำมาใช้วัด ‘viral load’ ของเชื้อต่างๆ เช่นกัน ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย เนื่องจาก real-time PCR ยังเป็นเทคนิคใหม่ที่เครื่องมือราคาแพง ปัจจุบันจึงมีใช้เฉพาะในโรงเรียนแพทย์และศูนย์วิจัยใหญ่ๆ เท่านั้น