การใช้ PCR ในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อ
บทความนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะการใช้ PCR ในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อที่สำคัญ ผู้สนใจรายละเอียดในหัวข้อใด อาจค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากเอกสารแนะนำข้างท้ายบทความ
แทบจะกล่าวได้ว่า ไม่มีจุลชีพทางการแพทย์ตัวใดเลย ที่จะไม่มีผู้ทำการศึกษาถึงประโยชน์ใช้สอยของ PCR ในแง่ต่างๆ สำหรับ clinical practice จะขอแบ่งการนำมาใช้ออกเป็นหมวดๆ ดังนี้
1. การวินิจฉัยการติดเชื้อในระบบประสาทกลาง
2. การวินิจฉัยวัณโรค
3. Multiplex PCR
4. Real-time PCR
การวินิจฉัยการติดเชื้อในระบบประสาทกลาง
PCR ได้มีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในทางคลินิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การติดเชื้อไวรัส กลุ่มเชื้อที่ PCR ถูกนำมาใช้มากคือ
1. Herpes group
PCR มีบทบาทที่สำคัญมากในการวินิจฉัย herpes simplex encephalitis ในปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้เป็นการวินิจฉัยมาตรฐาน แทน brain biopsy และ CSF/serum antibody โดยที่ PCR ถูกประมาณว่า มีความไวและความจำเพาะมากกว่า 95% สามารถตรวจได้ผลบวก ได้นานถึง 10-14 วันในบางราย หลังจากมีอาการ และใช้ตรวจได้ แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับ acyclovir มานานแล้วถึง 5-7 วัน และใช้ติดตามผลการรักษาได้ด้วย PCR ได้ถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัย meningoencephalitis จากไวรัสตัวอื่นในกลุ่มนี้เช่นกัน เช่น varicella zoster virus (VZV), cytomegalovirus (CMV), Epstein-Barr virus (EBV), และ human herpesvirus 6 (HHV-6) สำหรับ EBV การตรวจพบ DNA ของเชื้อโดย PCR จากน้ำไขสันหลัง ยังถูกใช้นำมาช่วยวินิจฉัย primary CNS lymphoma ในผู้ป่วยเอดส์อีกด้วย
2. Enteroviral meningitis
Enterovirus เป็นสาเหตุของ aseptic meningitis ที่ตรวจพบได้มากที่สุด การตรวจพบ Enterovirus RNA ด้วยวิธี PCR ในเลือดหรือในน้ำไขสันหลัง มีส่วนช่วยอย่างมาก ในการวินิจฉัยโรค
3. การติดเชื้อตัวอื่นๆ
เช่น rabies, dengue, parvovirus B19, mumps, ฯลฯ