ผิวหนัง (skins)
     ผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกาย โดยคิดเป็น
น้ำหนักประมาณ 16% ของน้ำหนักตัว มีลักษณะแตกต่างกันตาม
แต่ละส่วนของร่างกาย   ทั้งในโครงสร้าง   ความหนา และสีผิว
ผิวหนังตรงบริเวณที่ต่อเนื่องกับ  mucous  membrane  เรียกว่า
mucocutaneous  junctions เช่น  บริเวณริมฝีปากต่อเนื่องกับ
เยื่อบุช่องปาก   (oral mucosa)  บริเวณเปลือกตาที่ต่อเนื่องกับ
เยื่อบุตาขาว   (conjunctiva)    บริเวณรูจมูกที่ต่อเนื่องกับเยื่อ
บุโพรงจมูก  (nasal mucosa)  บริเวณแคมเล็กที่ต่อเนื่องกับเยื่อบุช่องคลอด (vaginal mucosa)  บริเวณปลายอวัยวะเพศชาย
ที่ต่อเนื่องกับเยื่อบุท่อปัสสาวะ (prepuce) และบริเวณทวารหนัก (anus) ที่ต่อเนื่องกับเยื่อบุลำไส้ใหญ่ (rectal mucosa)
เป็นต้น
ผิวหนังประกอบด้วย 2 ชั้น คือ
      1.  ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)   เป็นชั้นที่อยู่บนสุด
      2.  ชั้นหนังแท้   (Dermis หรือ corium)  เป็นชั้นที่อยู่ใต้ชั้นหนังกำพร้า
            ใต้ชั้นหนังแท้จะเป็นชั้น Hypodermis หรือ Subcutaneous tissues  ซึ่งประกอบไปด้วย เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่กันอย่าง
หลวมๆ  (loose connective tissues)  และไขมัน  (Adipose tissues)  ซึ่งจะมีจำนวนมากน้อยแตกต่างกัน ในแต่ละส่วนของ
ร่างกาย 
หนังกำพร้า (EPIDERMIS)
          Epidermis เป็นชั้นของผิวหนังที่ปกคลุมอยู่บนสุด มีต้นกำเนิดมาจาก Surface  ectoderm  ชั้นนี้ประกอบไปด้วย
เซลล์ที่มีการเกิด  เจริญเติบโตพัฒนาการ และตายลอกหลุดออกไปจากร่างกายตลอดเวลา   และเป็นชั้นที่ให้กำเนิดโครง
สร้างต่าง ๆ   (skin derivatives or  appendages)  อันได้แก่  ขน รูขุมขน  และต่อมไขมันรวมเรียกว่า Pilosebaceous
units ต่อมเหงื่อ (Eccrine  Apoeccrine  Apocrine apocrine  sweat  glands)  และเล็บ (Nails)
          ชั้น  epidermis   มีความหนาโดยเฉลี่ยประมาณ 0.4 ถึง 1.5 มิลลิเมตร เทียบกับความหนาทั้งหมดของผิวหนัง
(skin)  ซึ่งมีความหนาเฉลี่ยโดยประมาณ 1.5-4.0 มิลลิเมตร  แต่ความหนาของชั้น epidermis นี้จะแตกต่างกันไปใน
แต่ละบริเวณของร่างกาย    ทำให้สามารถแบ่งผิวหนังตามความหนาของ  epidermis ออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
 
     1.Thick skin  คือ  ผิวหนังที่มีชั้น epidermis หนา โดยเฉพาะชั้น
stratum  corneum  พบบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า (palms  and  soles)  ซึ่ง
thick skin นี้จะไม่มี ขน รูขุมขน และกล้ามเนื้อ Arrector pili muscles
(Pilosebaceous  unit)  อยู่ในบริเวณเหล่านี้ แต่จะมีต่อมเหงื่อ eccrine
sweat glands  เป็นจำนวนมาก   ดังนั้น  บริเวณฝ่ามือฝ่าเท้าของร่างกาย
จึงไม่พบว่ามีเส้นขนหรือน้ำมันจากต่อมไขมัน (sebum) เหมือนบริเวณอื่น
ของร่างกาย  เช่น  ใบหน้า  แต่จะมีเหงื่อออกมากบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า
 
      2. Thin skin  คือ ผิวหนังที่มีชั้น epidermis
บาง  พบได้ทั่วร่างกาย ยกเว้น บริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า ซึ่งผิวหนัง ชนิดนี้จะมี skin derivatives ทุกชนิด
คือ รูขุมขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และต่อม
Apocrine  sweat  gland 
 
         องค์ประกอบส่วนใหญ่ของชั้น epidermis มากกว่า 80%  คือ เซลล์ที่มีชื่อว่า keratinocytes และเซลล์
ส่วนน้อยที่เรียกว่า dendritic  cells  เซลล์กลุ่มนี้คือกลุ่มเซลล์ที่มีรูปร่างคล้ายกันคือมี  cytoplasm ยื่นออกไป
จากตัวเหมือนแขนขา  (dendritic  processes)    เซลล์กลุ่มนี้จะเป็น cells  ที่เดินทางมาจากตำแหน่งอื่นมา
อาศัยอยู่ที่ผิวหนัง (immigrant  cells)  ประกอบด้วยเซลล์ 3 ชนิด คือ Melanocytes  Merkel cells และ
Langerhans  cells  ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป
          KERATINOCYTE  เป็นเซลล์ที่เป็นองค์ประกอบหลักของ epidermis  ภายใน keratinocytes  ทุกตัว
จะพบว่ามี   keratin  intermediate  filaments  อยู่ใน cytoplasm  มีชื่อเรียกว่า tonofilament  ซึ่ง keratin filament นี้ เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นกระดูกสันหลัง (Cytoskeleton) ของ keratinocytes  ถ้าหากพบว่ามี      keratin filaments     อยู่ในเซลล์ใด สามารถบอกได้เลยว่าเซลล์นั้นคือ   keratinocytes
(epithelial cells)   นอกจากนี้แล้ว keratin filaments ยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง ที่มีหน้าที่เชื่อมยึดติด
ระหว่าง   keratinocytes    แต่ละตัวให้ติดอยู่ด้วยกัน  โครงสร้างนี้มีชื่อว่า desmosomes เมื่อเราดูด้วยกล้อง
จุลทรรศน์เห็นเหมือนสะพานเชื่อม      ระหว่างเซลล์ที่
เรียกว่า     intercellular  bridges   ป็นโครงสร้างที่มี
ความสำคัญ หากผิดปกติจะทำให้เซลล์แต่ละตัวแยก
จากกัน ทำให้เกิดโรคผิวหนังในกลุ่ม Pemphigus ขึ้น
        keratin filaments  เป็นโปรตีนที่มีน้ำหนักโมเลกุล 40-70 kDa  แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ Acidic  keratin (Type I; k10 ถึง k20)  เป็น keratins  ที่มีความเป็นกรด และ Basic-to-neutral  keratin (Type II, k1 ถึง k9)    เป็น keratin    ที่มีความเป็นกลางถึงเป็นด่าง โดยยีนที่ควบคุม   Acidic keratin อยู่ที่โครโมโซม  17q12-q21   และยีนที่ควบคุม  Basic-to-neutral keratin   อยู่ที่โครโมโซม 12q11-q13    โดยทั้ง  Acidic  keratin  และ  Basic-to-neutral  keratin  จะมาจับคู่กัน  เช่น   k1 คู่ k10,  k5 คู่ K 14  เป็นต้น โดยในแต่
ละคู่ Basic-to-neutral  keratin    จะมีขนาดใหญ่กว่า acidic  keratin  อยู่ประมาณ 8-11 kDa โดยการที่
เซลล์ใดจะมี keratin  filaments คู่ใดนั้นขึ้นกับว่าขณะนั้น cell ชนิดนั้นอยู่ในขั้นตอนใดของการเจริญเติบโต
(Developmental  stage)  ขั้นตอนใดของการพัฒนาการ (Differentiation  stage) เป็นเซลล์ปกติ (normal
cells)  หรือว่าเป็นโรค (Disease  state)
        Keratinocytes  เป็นเซลล์ที่มี nucleus ติดสีเข้ม  เซลล์เหล่านี้เกิดจากการแบ่งตัวของ basal cells ซึ่ง
เป็นเซลล์ที่อยู่ชั้นล่างสุดของ   epidermis  เมื่อเซลล์เหล่านี้เจริญเติบโต  (Development)  และมีพัฒนาการ
มากขึ้น  (Differentiation)   ก็จะเคลื่อนตัวเองออกมาชั้นบนขึ้นเรื่อยๆ   เซลล์จะมีการเพิ่มขนาดใหญ่ขึ้นและ
เซลล์ก็จะนอนแบนราบลง  มีการเปลี่ยนแปลงของระบบ metabolism ของเซลล์มีการสร้างโปรตีนและไขมัน
ที่มีลักษณะเฉพาะ  มีการเปลี่ยนแปลงของ cell  membrane  มีการสลายตัวของ nucleus  และมีการสูญ
เสียน้ำออกจากเซลล์ (Dehydration)  โดยจุดมุ่งหมายสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงนี้ (terminal differentiation)  คือ ได้ keratinocytes  ที่ตายแล้ว  (dead keratinocytes)   ที่มีชื่อใหม่ว่า corneocytes
ซึ่ง corneocytes    นี้จะมีเฉพาะ keratin  filament และ matrix protein  อยู่ในเซลล์เท่านั้น  โดยมีโปรตีน
และไขมันอยู่ที่  cell membrane  (protein-reinforced  plasma  membrane with surface-associated  lipids) เท่านั้น  จะไม่มี nucleus หรือ organells อื่นๆ หลังจากนี้ corneocytes ก็จะลอกหลุดออกไปกลาย
เป็นขี้ไคล (keratin)     ขบวนการนี้เรียกว่า keratinization  หากมีความผิดปกติของขบวนการนี้ ก็ทำให้เกิด
โรคผิวหนังได้เช่นกลุ่มโรค ichthyosis  เป็นต้น
    เมื่อเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนตัวออกมา
ชั้นบนเรื่อยๆ  ทำให้สามารถแบ่ง epidermis ออกเป็น
ชั้นต่างๆ โดยแต่ละชั้นก็จะมี keratinocytes ที่อยู่ใน ระยะต่างๆ ของการเปลี่ยนแปลง (Differentiation) ดังนี้ คือ
     1. Stratum germinativum หรือชั้น Basal cell  layer ชั้นนี้จะอยู่ชั้นล่างสุด โดยมีโครงสร้างที่เรียกว่า
basal lamina  ยึดชั้นนี้ไว้ติดกับชั้น dermis ที่อยู่ข้างล่าง  ตำแหน่งตรงนี้เรียกว่า dermoepidermal  junction
         ชั้นนี้ประกอบไปด้วยเซลล์ที่เรียงตัวกันชั้นเดียว   ที่ชื่อว่า  basal  cells  เป็นเซลล์ที่มีความสามารถใน
การแบ่งตัวสูงและตลอดเวลา (mitotically active) รูปร่างเซลล์เป็น columnar-shaped มี nucleus ขนาด
ใหญ่  keratin  filaments  ในชั้นนี้จะมีขนาดเล็กบาง    จับกลุ่มอยู่รอบๆ  nucleus   และไปยึดติดกับ desmosome  ซึ่งเป็นตัวยึดระหว่าง basal cells ไว้ด้วยกัน   นอกจากนี้ยังไปยึดติดกับ hemidesmosome ซึ่งเป็นตัวยึดระหว่าง basal  cell  กับ  dermis  ข้างล่าง   hemidesmosome    นี้เป็นส่วนหนึ่งของ basal  lamina  ภายใน cytoplasm ของ cell  มี ribosome  จำนวนมาก  แต่มี rough endoplasmic  reticulum (RER) และ mitochondria  น้อย  ส่วน golgi  apparatus  มีขนาดเล็ก
        ในชั้น basal  cell  layer  นี้จะมี keratin  5 คู่กับ keratin 14  (k5/k14)  อยู่ในเซลล์ซึ่งการที่เซลล์ใด
มี k5 จับคู่กับ k14  ในเซลล์  ก็บ่งบอกว่าเซลล์นั้นเป็นเซลล์ที่มีหน้าที่แบ่งตัวให้กำเนิดลูกหลาน (stem cells)  ดั่งเช่น basal  cells  มีหน้าที่แบ่งตัวให้กำเนิด keratinocytes
        ระยะเวลาที่ basal cell  แบ่งตัวให้กำเนิด keratonocytes  จนกระทั่ง keratinocytes  ผ่านขบวนการ
keratinization จนสมบูรณ์กลายเป็น corneocyte ใช้เวลาประมาณ 14 วัน และระยะเวลาที่ corneocytes
หลุดลอกออกไปกลายเป็นขี้ไคล   (keratin) หมด  ใช้เวลาอีกประมาณ 14 วัน  เมื่อ basal  cell แบ่งตัวให้
กำเนิด keratinocyte  และเคลื่อนที่ออกมาชั้นบนกว่ากลายเป็นชั้นที่มีชื่อเรียกว่า Stratum spinosum ต่อไป
2. Stratus spinosum  (Prickle  cell  layer  or  Squamous  cell  layer)  ประกอบไปด้วย  keratinocyte  ที่มีรูปร่างขนาดใหญ่  หลายเหลี่ยม คล้ายมีหนามยื่นออกมาจากผิวเซลล์ (spine) ทำให้ชั้นนี้ได้ชื่อตามรูปร่าง ของเซลล์  ชั้นนี้ประกอบไปด้วยเซลล์เรียงตัวกันหนาประมาณ 5-10 ชั้น  โดยเซลล์ที่อยู่ติดกับชั้น basal  cell  มากที่สุด (suprabasal spinous  cells)     จะเป็นเซลล์ที่มีอายุน้อยกว่าเซลล์ที่อยู่บนขึ้นไป  รูปร่างจะหลาย
เหลี่ยม (poly hedral) และ nucleus  รูปร่างกลม   ส่วนเซลล์ที่อยู่บนๆ (Upper spinous cell  layer)  จะมี
ขนาดใหญ่กว่าแบนราบมากกว่า (more flattened)  และมีการสร้าง organelles ชนิดใหม่ที่เรียกว่า lamella
granules หรือ membrane-coating granules (MCG) กระจายอยู่ทั่วไป พบมากบริเวณใกล้ goli complex
ซึ่ง MCG นี้ต่อไปจะเป็นตัวสร้างไขมัน (Stratum corneum  lipid)  ที่อยู่ระหว่างเซลล์ (intercellular  lipid)
      ส่วน nucleus ของเซลล์ในชั้นนี้  สามารถตรวจพบ Barr body ซึ่งเป็น basophilic planoconvex body
ขนาด1 mm  ได้โดยการทำ buccal  smear หรือ scraping  โดยปกติ X-chromatin ในเพศหญิงเป็น XX แต่
จะมีเพียง X-chromatin  เดียวที่ทำงาน  อีกตัวหนึ่งจะถูก inactivated และรวมเป็นก้อนทำให้เห็นเป็น  Barr
body  ในเซลล์
      keratin  filaments ใน spinous  cell  layers  นี้จะเป็น k1  คู่กับ k10  ซึ่ง keratin filaments คู่นี้แสดง
ตัวว่าเซลล์ชนิดนี้เป็นเซลล์ที่กำลังมีพัฒนาการ (epidermal-type  pattern of  differentiation) และกำลังมี
ขบวนการ keratinization อยู่  (keratinization-specific  keratins)
     ขอบของเซลล์ที่มีรูปร่างคล้ายหนาม (spine)  นั้น 
คือ  desmosome ที่มี keratin filament มายึดติดอยู่
โดย desmosome จะเป็นตัวยึดระหว่าง cell ไว้ด้วย
กัน desmosome ต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
อิเลคตรอน  แต่ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาจะ
เห็นเป็นเหมือน สะพานเชื่อมระหว่างเซลล์ที่เรียกว่า
intercellular  bridges
        เซลล์ในชั้น Stratum  germinativum  และ stratum spinosum รวมเรียกว่า Stratum malpighi  (Malphighian  layer)  ซึ่งก็จะเคลื่อนตัวขึ้นไปชั้นบนกว่ากลายเป็นชั้นที่มีชื่อเรียกว่า Stratum granulosum
3. Stratum granulosum  (Granular  cell  layer)  ชั้นนี้ได้ชื่อตามลักษณะของเซลล์ คือ granular cells  เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างค่อนข้างแบน ภายใน cytoplasm บรรจุด้วย basophilic granules จำนวนมาก granules
นี้มีชื่อเฉพาะว่า keratohyaline  granules
       granular  cells  เป็นเซลล์ที่  active  synthetic  metabolism ในชั้นนี้ granular  cells  จะเรียงตัวกัน
3-5 ชั้น  ภายในเซลล์มี keratohyalin  granules จำนวนมาก  เมื่อมองดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาจะเห็น
เป็นจุดๆ สีน้ำเงินกระจายอยู่ในเซลล์ จนบดบังโครงสร้างอื่นภายในเซลล์
       keratohyaline  granules  ประกอบไปด้วยโปรตีนที่ชื่อ  Profilaggrin   Keratin  intermediate  fila-
ments และ Loricrin ซึ่งสารเหล่านี้เกี่ยวข้องกับขบวนการ keratinization  ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป
       Profilaggrin จะเริ่มสร้างในชั้น granular cell layer และถูกเปลี่ยนโดยขบวนการ proteolysis  เป็น filaggrin  ตรงตำแหน่งที่เซลล์จะเปลี่ยนจาก granular cells ไปเป็น corneocytes (site-specific  proteolysis)  และได้เป็น filaggrin อยู่ในชั้น Stratum corneum โดยทำหน้าที่เป็นเสมือนกาว (interfibrillary matrix)  ยึดระหว่าง keratin filament ทำให้เกิดเป็นร่างแหของ keratin ที่แข็งแรงสมบูรณ์ ขณะเดียวกัน keratin filaments  ซึ่งเดิมเป็น k1 กับ k10 ก็จะถูก Proteolysis และ phosphorylation ไปเป็น k2 จับกับ 
k11 แทน
       Loricrin  เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ที่อยู่ใน keratohyaline  granules  เป็นโปรตีนที่ไม่ละลายน้ำ  และมี sulfur  glycine/serine  มาก  (Insoluble,  sulfur- ,  and  glucine/serine-rich  protein)   Loricrin จะเริ่มถูกสร้างในชั้น granular cell layer  และต่อไปจะกลายเป็นองค์ประกอบหลักประมาณ 75% ของเยื่อ
หุ้ม corneocytes  ที่อยู่ใต้ต่อ cell membrane ของ corneocytes  ในชั้น stratum corneum เรียกว่า cornefied cell  envelope  (CE)    ทั้ง  filaggrine  keratin  filament  และ cornefied  cell  envelope  จะรวมเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงของ keratin (ขี้ไคล)
       ขณะเดียวกัน lamella granules หรือ membrane  coating granules (MCG)  หรือ Odland bodies
หรือ keratinosomes  ซึ่งเริ่มสร้างในชั้น Stratum spinosum ชั้นบน  เมื่อเซลล์เคลื่อนมาอยู่ตรงตำแหน่งที่
จะเปลี่ยนจาก granular  cell  ไปเป็น corneocyte (granular-cornefied  interface)  จำนวน MCG จะ
เพิ่มมากขึ้นและเริ่มเชื่อมต่อกับ cell  membrane  แล้วปล่อยสารที่บรรจุอยู่ภายในออกมาอยู่ระหว่างเซลล์
(intercellualr space)    ซึ่งสารนี้ประกอบไปด้วย glycolipid  sterols  และ phospholopids  มีหน้าที่ไป
เคลือบ corneocyte  ไว้  (intercellular  cementing  substance)  ช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำของเซลล์ (water  barrier)  ช่วยทำให้เซลล์ยึดติดกันอย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นสิ่งที่มีผลต่อการดูดซึมยาที่ทา
ลงบนผิวหนังด้วย
       จะเห็นได้ว่า keratohyaline  granules เป็นโครงสร้างที่มีความสำคัญ  หากเกิดความผิดปกติขึ้น หรือ
ว่าหายไป ก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ในกลุ่มโรค ichthyosis เช่น ichthyosis vulgaris เป็นต้น ในสัตว์ทดลอง
ที่พบว่าหากเกิดภาวะ essential  fatty acid  deficiency  จะทำให้มีจำนวน MCG ลดลง  มีไขมันออกมา
เคลือบระหว่างเซลล์(barrier lipid)ลดลง  ทำให้ water  barrier เสียไป  เซลล์จะเสียน้ำออกไปมาก ทำให้
ผิวหนังสูญเสียน้ำ จึงเกิดความผิดปกติขึ้น หรือในคนที่ชอบล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือน้ำยาต่างๆ ก็จะล้าง
เอา barrier lipd  เหล่านี้ออกไปหมด ทำให้  water barrier เสีย  เกิดเป็นโรคผิวหนังขึ้น
       เมื่อเซลล์เคลื่อนตัวและเปลี่ยนแปลงมาจนถึงตำแหน่งรอยต่อระหว่าง granular cell กับ corneocyte
(granular-cornefied  interface)   เซลล์ก็จะเปลี่ยนกลายเป็น corneocytes  ในชั้น Stratum  corneum
4. Stratum corneum (Horny layer or cornified layer) ชั้นนี้ประกอบ
ด้วยเซลล์ที่ชื่อว่า  corneocyte   หรือ  cornified cell  ซึ่งเปลี่ยนมาจาก
granular cell   เมื่อเปลี่ยนเป็น   corneocyte  จะสูญเสียน้ำหนักตัวไป
ประมาณ 45-86%ทำให้เห็นเป็นขอบเขตของ cell  ที่อยู่ติดๆ กันคล้าย
ร่างแห  ภายใน cell  ไม่มี organelles ชนิดใด ยกเว้น keratin ที่สมบูรณ์
แล้ว (mature keratin) เซลล์ ในชั้นนี้จะมีขนาดใหญ่ที่สุดใน epidermis
      เซลล์ในชั้นนี้มีหน้าที่ปกป้องผิวจากภยันตรายภายนอก (Mechanical
protection), ป้องกันการสูญเสียน้ำไปจากผิวหนัง (Barrier to water loss)
และเป็นด่านผ่านทางของยาหรือสารต่างๆ จากภายนอก
       ในชั้นนี้    Desmosome   ซี่งเป็นตัวยึดระหว่างเซลล์จะเริ่มถูกทำลาย  ทำให้แต่ละเซลล์แยกจากกันเริ่ม
ขบวนการที่เรียกว่า Desquamation คือ การลอกหลุดของ corneocytes ออกไปเป็นขี้ไคล (keratin)  ถ้าหาก
ขบวนการ Desquamation ผิดปกติ ก็จะทำให้เกิดโรคในกลุ่ม ichthyosis ได้ เช่น X-linked Ichthyosis และ
Harlequin  fetus
       ชั้น Stratum  corneum  นี้จะมีความหนาบางแตกต่างกันในแต่ละบริเวณของร่างกาย  ผิวหนังที่จัดเป็น
thick skin จะมีชั้น corneum  หนา พบที่บริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า  โดยปกติ ถ้าชั้น corneum หนา ชั้น granular
cell  layer  ก็จะหนาตามไปด้วย  ถ้าชั้น corneum หนา แต่ชั้น granular  cell  layer บาง ถือเป็นความผิด
ปกติ  เช่น ใน ichthyosis  vulgaris   ส่วนบริเวณผิวหนังที่จัดเป็น Thin skin  จะมีชั้น corneum บาง  ชั้น
granular  cell  layer  ก็จะบางไปด้วย
       บริเวณฝ่ามือฝ่าเท้าที่จัดเป็น Thick skin นั้น จะมีชั้น Stratum  lucidum  เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ชั้น  ซึ่งชั้นนี้
จะไม่พบใน Thin skin ทั่วๆ ไป
5. Stratum lucidum  เป็นชั้นบางๆ  แทรกอยู่ระหว่างชั้น granular  cell
layers  และ  stratum  corneum  พบเฉพาะบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้าเท่านั้น
(Thick skin)  ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาจะเห็นเป็นแถบชั้นบางๆ
สีชมพูจางๆ  การที่เห็นชั้นนี้ได้เป็นผลจากสาร glycolipid  ที่อยู่ใน MCG
ถูกปล่อยออกมาอยู่ระหว่างเซลล์มากกว่าบริเวณอื่น  จึงเห็นเป็นชั้นนี้ขึ้น
ซึ่งชั้นนี้จะไม่พบในผิวหนังบริเวณทั่วๆ ไป (Thin skin)
Dendritic cells
         เป็นกลุ่มเซลล์ที่มีรูปร่างคล้ายดาว  มี cytoplasm ยื่นออกไปจากตัวเป็นแขนขาที่เรียกว่า dendritic
processes  ในชั้น epidermis นี้ ประกอบไปด้วยเซลล์ 3  ชนิด  คือ 
1. Melanocyte  เป็นเซลล์สร้างเม็ดสี
2. Markel  cell  เป็นเซลล์เกี่ยวกับการรับความรู้สึก
3. Langerhans  cell เป็นเซลล์เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของผิวหนัง (skin immune cell)
Melanocytes
  เป็น dendritic  cell  ชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจาก neural  crest  cells  จัดเป็น immigrant  cells  คือ   เซลล์ที่เดินทางมาจากที่อื่นแล้วมาอาศัยอยู่ที่ผิวหนัง   ในชั้น   epidermis   ใน hair  follicle และใน 
dermis  เมื่อมองด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาจะเห็น melanocyte  ในชั้น epedermis  อยู่ตรง basal cell 
layer โดยแทรกอยู่ระหว่าง  basal  cell  โดยประมาณ 10 basal cells จะพบ melanocyte อยู่ 1 ตัวภายใน melanocyte  มีเม็ดสี  (melanin) อยู่ในถุงหุ้มที่เรียกว่า melanosome  แล้ว  melanocytes จะส่ง melanin ไปให้ keratinocytes  ที่อยู่ชั้นบนกว่าผ่านไปทาง dendritic  processes  ที่แทรกอยู่ระหว่าง keratinocytes
ทำให้เกิดเป็นสีผิวหนังขึ้น (skin color) ซึ่งจะพบว่าจำนวนของ melanin ใน cytoplasm ของ keratinocytes
มีปริมาณมากว่าจำนวน melanin ใน melanocytes ข้างเคียง
        Melanocytes มีรูปร่างคล้ายดาว Cytoplasm ติดสีซีด (Pale-staining Cytoplasm) nucleus รูปร่าง
กลม และมี melanosome อยู่ภายในเซลล์       Melanosome มีรูปร่างกลม มีถุงหุ้ม (membrane-bound)  มีหน้าที่สร้าง melanin melanosome สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระยะขึ้นกับจำนวน melanin ที่ผลิต (Degree
 of melanization) (Stage 1-4) นอกจากนี้ melanosome ที่มี melanin ต่างชนิดกันก็จะมีรูปร่างแตกต่าง
กัน  คือ ถ้า melanosome ที่สร้าง melanin สีน้ำตาล-ดำ (Brown-black Eumelanin)  จะมีรูปร่างเป็นวงรี (elliptical)   และ  melanin   เรียงตัวภายในเซลล์ตามยาว   (internal  organization  of  longitudinally
oriented, concentric  lamellae)      ส่วน melanosome  ที่ผลิต melanin  สีเหลือง-แดง  (yellow-red phenomelanin)  จะมีรูปร่างกลม (spheroid  shape)  และ melanin จะบรรจุในถุงเล็กๆ อีกที (microvesicular  internal  structure) โดยพันธุกรรมจะเป็นตัวกำหนดขนาดของ melanosome และคน
ผิวดำจะมี melanosomes  ขนาดใหญ่กว่าคนผิวขาว
       การย้อมชิ้นเนื้อด้วย H&E stain  จะเห็น melanocyte  เป็นเพียงเซลล์กลมๆ ใสๆ  แต่หากต้องการเห็น
รายละเอียดภายในเซลล์มากขึ้น   ควรย้อมชิ้นเนื้อด้วยสาร  1,3,4-dihydroxy-phenylalanine (DOPA) ซึ่ง
สารนี้จะถูก oxidize โดยเอ็นไซม์ tyrosinase ที่บรรจุอยู่ใน cytoplasm ของ melanocytes เกิดเป็นตะกอน
สีน้ำตาลของ melanin เกิดขึ้น
       Epidermal-melanin  unit  หมายถึง  จำนวน melanocyte 1 ตัว จะส่ง melanin ไปให้ยัง keratinocytes อยู่ข้างเคียง 36 ตัว  ผ่านทาง Dendritic  processes  ซึ่งจะเห็นว่าคนต่างเชื้อชาติสีผิวจะมี
จำนวน  epidermal  metanin  units    ในปริมาณใกล้เคียงกัน   ส่วนจำนวน melanocytes จะแตกต่างกัน
ในแต่ละบริเวณของร่างกาย จะหนาแน่นมากที่สุดบริเวณอวัยวะเพศ,  รองลงมาคือบริเวณใบหน้าและศีรษะ  ส่วนบริเวณอื่นๆ นั้น ถ้าเป็นตำแหน่งที่โดนแสงแดดเป็นประจำ (sun-exposure  areas)  ก็จะมีจำนวน melanocytes มากกว่าบริเวณที่ไม่โดนแสงแดด (non sun-exposure  areas)  เช่น  บริเวณหลัง, ก้น, ท้อง, ด้านในของแขน    เป็นต้น
       โดยปกติ melanocytes  จะไม่แบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเอง  (in situ)   แต่ถ้ามีปัจจัยเหล่านี้มากระตุ้น
ได้แก่แสงแดด, ฮอร์โมน melanocyte-stimulating  hormone,  sex-hormone, inflammatory mediators.
ตั้งครรภ์ และวิตามิน D3  ที่สร้างภายใน  epidermis   ปัจจัยเหล่านี้จะกระตุ้นให้มีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นของ melanocyte,    melanocyte  จะมี dendritic  processes เพิ่มมากขึ้น,  มีการสร้าง melanin เพิ่มมากขึ้น
(melanogenesis) และมีการส่ง melanin ไปให้ keratinocytes เพิ่มมากขึ้น ผลก็คือสีผิวจะเข้มขึ้นกว่าเดิม
นั่นคือ สีผิวของมนุษย์จะขึ้นอยู่กับขนาด, ชนิด,   จำนวนของ melanosome,  จำนวน melanin ใน
keratinocytes  และความสามารถของ melanocytes  ในการผลิต melanin (Melanogenesis)
สีผิวหนัง (skin color)  แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
 
1. Constitutive skin color      คือ สีผิวที่เป็นมาตั้งแต่เกิด  โดยมีพันธุกรรมเป็นตัวกำหนด และไม่มี
ปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้อง นั่นคือสีผิวของทารกแรกเกิด แต่ในผู้ใหญ่สามารถดูสีผิวชนิดนี้ได้บริเวณก้น (Buttock)  หรือบริเวณที่ไม่ได้โดนแสงแดดเป็นประจำ
2. Facultative skin color  คือ สีผิวที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีปัจจัยเหล่านี้มากระตุ้น คือ แสงแดด,
ฮอร์โมน    alpha melanocyte-stimulating  hormone (MSH),     sex-hormone,  inflammatory
mediators, การตั้งครรภ์,วิตามิน D3 ที่สร้างภายใน epidermis มากระตุ้น และ Tanning capacity
ของคนแต่ละเชื้อชาติ  ตัวอย่างเช่น สีผิวบริเวณแขนด้านนอกจะเข้มข้นกว่าตอนแรกเกิด    เนื่องจาก
โดนแสงแดด,  สีผิวบริเวณลานหัวนม (areoalr)  และหัวนม (nipple) จะดำขึ้นหลังจากตั้งครรภ์,
หรือสีผิวบริเวณที่เคยเป็นสิวอักเสบหลังจากสิวหายแล้วทิ้งรอยดำไว้  เป็นต้น
นอกจากนี้สีผิวยังอาจเปลี่ยนแปลงได้จากอิทธิพลของสิ่งต่อไปนี้ คือ
 
1. สีเหลืองของผิวหนัง เกิดจากสาร carotene  pigment  มาสะสมที่ผิวหนังมากกว่าปกติ ในคนที่กิน
มะละกอมากเกินปกติ หรือคนที่ป่วยเป็นโรคดีซ่าน (jaundice) ก็จะเห็นผิวเป็นสีเหลืองได้
2. สีแดงของผิวหนังเกิดจาก oxyhemoglobin  ในเม็ดเลือดแดง
3. สีเขียวคล้ำ, น้ำเงิน  เกิดจาก Deoxyhemoglobin  ในเส้นเลือด
Merkel cells
        เป็น Dendritic  cell  ที่พบอยู่บริเวณชั้น Basal cell  layer พบในบางบริเวณของร่างกาย เซลล์ชนิดนี้
จะตรวจพบได้ในระดับกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนเท่านั้น  ลักษณะทั่วไปคล้าย keratinocytes  มี desmosome ยึดติดกับเซลล์ข้างเคียง   nucleus มีรอยเว้ามาก  บางครั้งอาจพบว่ามี paracrystalline aggregrations   ที่มีลักษณะเป็นเส้นบรรจุอยู่ภายใน nucleoplasm   ส่วนใน cytoplasm จะบรรจุกลุ่มของ filament อยู่รอบๆ  nucleus  และขอบๆ ของเซลล์  (perinuclear  filament  protein) แต่ลักษณะที่สำคัญ
ที่สุดคือพบ neurosecretory  granule  อยู่ภายใน cytoplasm
       Merkel  cells  จัดว่าเป็น slow-adapting  type 1 mechanoreceptor  มีหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัส (high tactile  sensitivity)  เมื่อรับ stimuli มาจาก keratinocyte   แล้ว Merkel cells จะปล่อยสารพวก cathecolamine ที่บรรจุอยู่ใน neurosecretory  granules  ออกมาซึ่งเป็น neurotransmitter ชนิดหนึ่ง
       Merkel  cells  จะพบเฉพาะบางบริเวณที่รับสัมผัส (high tactile sensitivity) เท่านั้น  ได้แก่ บริเวณ
ปลายนิ้ว (digits),   ริมฝีปาก (lips),  ในช่องปาก (regions  of  oral  cavity)  และบริเวณ outer root
sheath  of  hair  follicles
Langerhans cells
       เป็น Dendritic cells พบอยู่ในชั้น  Stratum spinosum  ดยแทรกอยู่ระหว่าง keratinocyte เป็นเซลล์
ที่มีต้นกำเนิดจากไขกระดูก (bone  marrow)  ในชิ้นเนื้อที่ย้อมด้วย H&E stain  จะพบว่าเซลล์นี้มี nucleus
ที่หยักลึกและติดสีเข้มล้อมรอบด้วย cytoplasm  สีซีดใส  ถ้าย้อมด้วย gold chloride เซลล์จะติดสีเข้มและ
มีรูปแฉก ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนจะพบว่าภายใน cytoplasm จะบรรจุ rod-shaped granules
ที่มีชื่อว่า Birbeck  granules  สิ่งที่แตกต่างจาก keratinocytes  และ Merkel cells  คือ จะไม่พบ
desmosome,  melanosome  และ tonofilament  ใน cytoplasm  ของ  Langerhans  cell
       หน้าที่ของเซลล์ชนิดนี้เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของผิวหนัง (skin immune  system)  โดยที่ผิวของ
เซลล์จะมี receptors  ต่างๆ  เช่น CD1a,  C3 receptor,  Fc receptor  เป็นต้น โดยเป็นเซลล์ที่มีบทบาท
เกี่ยวกับ allergic  contact dermatitis  และ cell-mediated  reaction  (Delayed  type  hypersen-
sitivity)  ของผิวหนัง
 
Dermis
       Dermis หรือชั้นหนังแท้  เป็นชั้นที่อยู่ใต้ต่อชั้นหนังกำพร้า (epidermis)  มีความหนาประมาณ 1-2 มิลลิเมตร แต่บริเวณ eyelids  และ prepuce จะบางกว่านี้  ส่วนบริเวณฝ่ามือและ
ฝ่าเท้าจะหนามากกว่านี้    ตรงบริเวณที่   epidermis   ต่อกับ
dermis นั้น  จะเป็นรอยหยักคล้ายลูกคลื่นของ epidermis ที่
ยื่นลงมาใน    dermis   (epidermal ridges)    และส่วนของ
dermis  ที่ยื่นขึ้นไปบน epidermis  (dermal ridges) เพื่อยึด
ติดกันแน่นมากขึ้น และเป็นการเพิ่มพื้นที่สัมผัสมากขึ้นทำให้
เส้นเลือดใน dermis ไปเลี้ยง epidermis ได้มากขึ้น  โครง
สร้างที่เรียกว่า rete ridges นี้(รูปที่3) ทำให้เกิดร่องบนผิว
หนัง เห็นชัดบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้าที่เรียกว่าเส้นลายมือ (finger print)
       Dermis  มีต้นกำเนิดจาก mesoderm  ประกอบไปด้วย  เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective  tissue)  ระบบเส้นเลือด 
(vascular network)  และเส้นประสาท (nerve)  เป็นที่อยู่ของ skin derivatives,  เซลล์ fibroblasts,   เซลล์ macrophages,  mast  cells,  และเซลล์ของระบบเลือด (blood-borne  cells)  เช่น lymphocytes, และ plasma  cells   เป็นต้น
        หน้าที่ของชั้น dermis  คือ  ทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น (elasticity)  ทนแรงยืดผิวหนังได้ (Tensile strength) ปกป้องร่างกายจากภยันตราย (mechanical  injury)   อุ้มน้ำไว้ (binds  water)  เพื่อจุดประสงค์ในการควบคุมสมดุล
ความร้อนของร่างกาย(Thermal  regulation) และเป็นประสาทรับสัมผัสต่างๆ (receptor  of  sensory  stimuli)
        เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective  tissue  matrix) ของ dermis  มีองค์ประกอบหลัก  คือ  collagen  tissues  ส่วนน้อยเป็น elastic tissues อยู่ใน matrix ที่เป็น glycoprotein proteoglycans และ glycoa-minoglycans  รวมเรียกว่า ground  substance  สามารถแบ่ง Dermis ออกได้เป็น 2 ชั้น ตามความแตกต่างของ connective
tissues  organizations   cell  density  และ nerve and vascular  pattern ได้ดังนี้คือ
  
1. Papillary  dermis   เป็นชั้นที่อยู่ติดกับ epidermis     ประกอบด้วย  collagen ขนาดเล็ก และเป็น collagen  type 3 มากกว่า type 1 และ elastic  tissue  ชนิด oxytalan  elastic  fiber ที่เรียงตัวตั้งฉากกับ epidermis มีเซลล์ fibroblasts จำนวนมาก และมีความสามารถในการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว และมี metabolic  activity มาก เพื่อประโยชน์ในการซ่อมแซมผิวหนัง (wound healing)  โดยปกติชั้นนี้จะเกิดโรคน้อยกว่าชั้น  reticular  dermis
2. Reticular  dermis เป็นชั้นที่อยู่ใต้ต่อ papillary dermis ติดต่อกับชั้น Hypodermis ประกอบด้วย collagen  ที่มีขนาดใหญ่เป็น type 1 มากกว่า type 3    elastic fiber ที่เจริญเต็มที่   (mature elastic fiber)  และทั้ง collagen  และ elastic  fiber  จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อลึกลงไปใน dermis ต่อกับชั้น hypodermis  เส้นเลือดจะน้อยกว่าชั้น papillary  dermis ชั้น reticular  dermis นี้สามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีกเป็น 2 ชั้น
  
2.1 Upper  zone  คือ  Reticular  dermis ชั้นบน  ประกอบด้วย collagen ที่มีขนาดกลางๆ   ส่วน elastic  fiber เรียงตัวตามแนวนอน (Horizontal)   ชั้นนี้เป็นชั้นที่อ่อนแอและเหมาะต่อการเกิดโรค
2.2 Deeper  zone  คือ  ชั้น  Reticular  dermis  ที่อยู่ชั้นล่างสุดติดกับ Hypodermis เป็นชั้นที่มี collagen และ elastic  fiber ขนาดใหญ่ และมี inflammatory cells  และ fibroblasts จำนวนมาก
Hypodermis (Subcutaneous layer)
เป็นชั้นที่อยู่ใต้ต่อ Dermis  ประกอบไปด้วย  loose connective  tissue    มีส่วนของต่อมเหงื่อ collagen, elastic    fibers  ที่ต่อเนื่องลงมาจากชั้น dermis  และเซลล์ไขมัน (Fat or adipose tissues)  โดยผมหรือขนที่กำลังเจริญเติบโต (Actively  growing  hair  follicles)  จะยื่นลงมาอยู่ในชั้นนี้ด้วย
          เซลล์ไขมันเป็นองค์ประกอบหลักของชั้นนี้ ซึ่งเซลล์ไขมัน
นี้ จะอยู่รวมกันเป็น   lobule   ที่มีตัวแบ่งกั้นที่เรียกว่า fibrous
 septa  ซึ่งจะมีเส้นเลือด, เส้นประสาท, หลอดน้ำเหลือง (lymphatic  vessels)  อยู่ใน septa ความหนาของชั้น hypodermis นี้ จะขึ้นกับความหนาของชั้นไขมัน และขึ้นกับตำแหน่งของร่างกายด้วย เช่น บริเวณหน้าท้องจะหนามาก แต่บริเวณเปลือกตาหรือ penis จะบางมาก
         หน้าที่ของชั้นนี้เพื่อให้ความอบอุ่นรักษาความร้อนของร่างกายไว้ (Insulates the body)  เป็นแหล่งสะสมพลังงาน
ของร่างกาย (reserve energy supply)  เป็นเสมือนหมอนรองกระแทก (cushion) และทำให้ผิวหนังเคลื่อนไหวได้ไม่ติด
แน่นกับโครงสร้างข้างใต้ผิวหนัง (mobility over underlying structure)  นอกจากนี้ชั้น Hypodermis ยังมีผลในด้าน
ความสวยงาม (cosmetic effect)  เช่น  บริเวณแก้ม หากไม่มีชั้นนี้รองรับจะทำให้รูปหน้าดูไม่สวยงาม
Dermoepidermal junction  (Subepidermal  basement  membrane  zone)
        ตรงบริเวณที่ epidermis ต่อเชื่อมกับ dermis นั้นจะเป็น
ที่อยู่ของโครงสร้างที่เรียกว่า  Basement  membrane  zone  (BMZ)(รูปที่3และ4)ซึ่ง BMZ นี้จะมีหน้าที่หลักคือยึด epidermis และ dermis ไว้ด้วยกัน และเป็นตัวต้านแรงฉีกจากภายนอกที่จะ
มาแยก  epidermis  และ  dermis  ออกจากกัน  (Resistance  against  external shearing forces) ชั้นนี้ไม่สามารถมองเห็น
ได้ชัดเจน เมื่อมองดูด้วยชิ้นเนื้อที่ย้อม H&E  staining  ต้องย้อม
ด้วย  PAS (Periodic-acid  shiff)  จะให้เป็นสีชมพู  เนื่องจากมี
mucopolysaccharide  เป็นส่วนประกอบ เห็นเป็นแถบสีชมพู
รองรับ epidermis และยังรองรับอวัยวะที่กำเนิดมาจากผิวหนัง
(skin derivatives)  ด้วย
Dermoepidermal junction (DEJ)  นี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ตามโครงสร้าง คือ
     1. Hemidesmosome-anchoring  filament  complex
     2. Basement  membrane
     3. Anchoring  fibrils
        ซึ่งทั้งสามส่วนจะอยู่ต่อเนื่องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน สามารถมองเห็นได้ต้องดู ในระดับกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน  จึงจะเห็นรายละเอียดต่างๆ ได้ (รูปที่7)
1.  Hemidesmosome-anchoring filament complex  เป็นโครงสร้างที่
เชื่อม Basal cell กับ Basement membrane ไว้ด้วยกัน  โครงสร้างนี้ยัง
แบ่งย่อยออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
  1.1 cytoplasmic  component  คือ โครงสร้างที่อยู่ใน cytoplasm ของ basal cell มี keratin filament มาเกาะ  ตำแหน่งนี้เป็นที่อยู่ของ BP230  และ Plectin
  1.2  transmembranous  part   คือ  ตรงบริเวณ cell membrane  ของ basal  cell  ซึ่งเป็นที่อยู่ของ  BP180 และ a6  b4  integrin  (alpha 6 - beta 4  integrin)
  1.3  extracellular  portion  คือ ส่วนที่อยู่นอก basal cell ติดกับ
basement membrane  ซึ่งเป็นที่อยู่ของ Subbasal  dense  plate  และ anchoring  filaments
      โครงสร้างเหล่านี้มีความสำคัญถ้าขาดหายไปหรือไม่เจริญ หรือมีสารต่อต้าน (Antibody) มาเกาะก็จะทำให้เกิดโรคขึ้น
2. Basement membrane  เป็นโครงสร้างที่อยู่ต่อเนื่องลงมาจาก extracellular  portion สามารถแบ่งย่อยลงได้อีกเป็น
    3 ชั้น คือ  
2.1 Lamina lucida จะอยู่ชั้นบนสุด ใต้ต่อ extracellular portion มีความหนาประมาณ 20-30 nm เห็นเป็นแถบ
ใสๆ ประกอบไปด้วยโปรตีน Laminin, entactin/nidogen และ fibronectin  ซึ่งโปรตีนเหล่านี้จะช่วยให้เซลล์
จับกับ matrix ได้ดีขึ้น ชั้นนี้มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นชั้นที่อ่อนแอที่สุด ถ้า epidermis จะหลุดจาก dermis ก็จะเกิดจาการแยกตัวในชั้นนี้  ซึ่งชั้นนี้สามารถแยกตัวได้ง่ายจากความร้อนหรือเครื่องดูด (suction)
2.2 Lamina densa  อยู่ใต้ต่อชั้น L. Lucida  มีความหนาประมาณ 30-60 nm  เห็นเป็นแถบทึบ ประกอบด้วย
collagen type IV,  laminin และ non-collagen protein อีกหลายชนิด นอกจากนี้ EBA Ag (Epidermolysis
bullosa  acquisita  antigen)  และ LH 7.2  ซึ่งเป็น type VII  Antigen ก็อยู่ในชั้นนี้ด้วย หน้าที่ที่สำคัญของ
ชั้นนี้คือเป็น ด่านกั้น (Barrier)  เป็นตัวกรอง (Filter)    การผ่านเข้าออกของสารโดยจะยอมให้สารที่มีน้ำหนัก
โมเลกุล (Molecular mass) น้อยกว่าหรือเท่ากับ  40kDa (<40kDa) ผ่านได้เท่านั้น แต่ก็ยังมีข้อสงสัยว่าเหตุ
ใดเซลล์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลมากว่านี้จึงสามารถผ่านเข้าออกได้ เช่น การเดินทางของ  Melanocytes   (จาก neural  crest),   และ  Langerhans  cells (จากไขกระดูก) มาอยู่ที่ epidermis หรือการที่มี inflammatory
cells  ต่างๆ  เช่น lymphocyte,  neutrophils หรือ eosinophils ผ่านมาอยู่ที่ epidermis ได้
2.3 Sublamina  densa  เป็นชั้นที่อยู่ใต้ต่อ L-densa  ต่อเนื่องกับ dermis  มี elastic microfibril bundles เป็น
องค์ประกอบ  และเป็นที่อยู่ของ Anchoring  fibrils  ซึ่งเป็น type VII มีลักษณะเป็นเส้นใย ยื่นลงไปประสาน
กันอยู่ใน dermis  เพื่อช่วยยึด BMZ ให้ตัดกับชั้น dermis
3. Anchoring fibrils 
เป็น  collagen type VII  มีขนาดใหญ่ ยาว ยืดหยุ่น  ปลายข้างหนึ่งยึดเกาะ (originate) กับ L-densa  ส่วนปลาย
อีกข้างหนึ่งจะอยู่เป็นอิสระ (free ending) ใน dermis และไปยึดเกาะ  (insertion) กับ membrane ที่มีชื่อว่า Anchoring  plaques  แต่ Anchoring  fibril  บางส่วนเมื่อลอยเป็นอิสสะใน dermis แล้วจะม้วนตัวเป็นวงกลับไปยึดกับ L-densa  ทำให้เกิดเป็น arch ขึ้น  เสริมให้ BMZ มีความแข็งแรงมากขึ้น    Anchoring fibrils นี้มีความสำคัญหากมีจำนวนลดลงหรือไม่สมบูรณ์ก็จะทำให้เกิดโรคผิวหนังได้ (Dominant
and  recessive  dystrophic  epidermolyis  bullosa)
Skin derivatives  (Skin  appendages) หมายถึง  อวัยวะที่กำเนิดมาจากผิวหนัง   ได้แก่ 
1. ผมหรือขน และรูขุมขน  (Hairs  and  hair  follicles)
2. ต่อมไขมัน  (Sebaceous  glands)
3. ต่อมเหงื่อ  (Sweat  glands)  มี 3 ชนิด คือ 
3.1  Eccrine  sweat  gland
3.2  Apoeccrine  sweat  gland
3.3  Apocrine  sweat  gland
4. เล็บ (Nails)