HAIRS
        หมายถึง  เส้นผมที่อยู่บนศีรษะและขนที่อยู่ตามร่างกาย  ถึงแม้ว่า Hairs จะไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับความอยู่รอดของชีวิต (Vital function)  แต่ Hairs ก็มีความสำคัญในแง่ความสวยงามซึ่งมีผลต่อจิตใจของคน (Psychological  importance)  ใครที่พบกับ
ปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน อาจก่อให้เกิดปัญหาทางใจ เช่น ซึมเศร้า ไม่มีความมั่นใจในตนเอง เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม คนที่มีขนตามตัวมากเกินไปก็ก่อให้เกิดปัญหาทางใจได้เช่นกัน   เช่น  ขนหน้าแข้งมากในผู้หญิง  เป็นต้น
 
หน้าที่ของ Hairs คือ
 
1. ป้องกันไม่ให้ร่างกายสูญเสียความร้อน
2. ป้องกันไม่ให้ผิวหนังได้รับอันตราย
3. Hairs ในบางตำแหน่ง เช่น ขนตา ขนคิ้ว  ขนรูจมูก จะช่วยป้องกันอวัยวะเหล่านั้นจากอันตราย นอกจากนี้ Hairs
บนศีรษะยังช่วยป้องกันไม่ให้แสงแดดทำลายผิวหนังศีรษะ
4. เป็นอวัยวะรับความรู้สึกชนิดหนึ่ง (Touch organ) ซึ่งในรูขุมขนจะมีเส้นประสาทมากมายที่รับความรู้สึก เมื่อมี
แรงกดบน Hairs  (Tactile  sensibility)
5. เป็นตัวนำให้สารออกจากร่างกายเช่นไขมัน(Sebum) ที่สร้างจากต่อมไขมัน (Sebaceous  glands) และเหงื่อ
จากต่อม Apocrine  glands
6. เป็นส่วนสำคัญต่อบุคลิกลักษณะของร่างกาย (Body image) ช่วยดึงดูดความสนใจจากเพศตรงข้าม
7. รูขุมขน (Hair  follicles) มีบทบาทสำคัญต่อการรักษาสมดุลของ epidermis (Epidermal  homeostasis) การ
หายของแผล (wound healing),การกลับคืนสภาพเดิมของสีผิวหนังในคนไข้ที่เป็นโรคด่างขาว (Vitiligo) เป็นต้น
 
             ขนและรูขุมขน พบได้ทั่วร่างกาย ยกเว้น บริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า ด้านหลังของปลายนิ้วมือนิ้วเท้า, บริเวณรูเปิดปิด
ของทวารหนัก (anus), บริเวณ glans penis prepure clitoris labia minora ด้านในของ labia  majora และริมฝีปาก
ลักษณะทางโครงสร้างของขนและรูขุมขน(รูปที่ 8-12)
      รูขุมขน (Hair follicles) เป็นที่อยู่ของขน  (Hairs) มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก เจริญจาก epidermis ที่ยาวยื่นลงไปใน dermis  บริเวณส่วนปลายลึกสุดจะมี dermis ยื่นลึกเว้าเข้ามาทำให้เกิดเป็นกระเปาะขึ้นเรียกว่า dermal  hair  papillae  ซึ่งเป็นที่อยู่ของ hair matrix  ทำหน้าที่เป็นตัวสร้างเส้นขน (hair shaft)  ให้ยาวยื่นขึ้นมาในรูขุมขน  จนเปิดออกสู่ผิวหนัง  เห็นเป็นเส้นขน  ผนังรูขนจะประกอบไปด้วยโครงสร้างต่างๆ  เรียงจากด้านในสุดออกมาด้านนอกสุด  ดังนี้
 
1. Hair matrix  อยู่ตรงกระเปาะที่เรียกว่า dermal hair papillae ประกอบไปด้วย matrix cells  มีหน้าที่แบ่งตัว
สร้างเส้นขน (hair  shaft)   melanocytes  ซึ่งมีหน้าที่สร้าง melanin ก็อยู่ตรงบริเวณนี้ด้วย ทำให้เกิดเป็นสี
ของเส้นผม (Hair color)
2. Hair  cuticle
3. Inner root  sheath  cuticle
4. Huxley 's  layer 
5. Henle's  layer
6. Outer  root  sheath
7. Glassy  or  Vitreous  layer  เป็นส่วนที่ประสานต่อเนื่องกับ connective  tissue ของ dermis
Inner root  sheath  cuticle,Huxley 's  layer,Henle's  layer รวมเรียกว่า inner root sheath
ส่วนตัวเส้นขนนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
 
1. Outer cuticle  มีลักษณะเป็นเกล็ดบางๆ ชั้นเดียว และยึดติดแน่นกับ inner root  sheath cuticle
2. Hair cortex  เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ประกอบด้วย เซลล์แบนและยาวหลายชั้น ภายในมี melanin  ที่ถูกสร้าง
และส่งมาจาก melanocyte  ทำให้เห็นเป็นสีผม
3. Hair medulla ประกอบด้วย vacuolated cells ขนาดใหญ่หลายแถว และบางครั้งพบว่ามี melanin pigment 
ได้
        รูขุมขนจะมีเส้นเลือดและเส้นประสาทมาเลี้ยงจำนวนมาก           ผนังด้านหนึ่งของรูขุมขนจะยื่นงอกออกมาเป็น 3 กระเปาะ (Hair bulges) โดยอันล่างสุดจะเป็นที่ยึดเกาะ (insertion) ของกล้ามเนื้อเรียบที่มีชื่อว่า Arrector pili muscles
(รูปที่1 และ 8) ซี่งการหดตัวของกล้ามเนื้อนี้  (contraction)   จะทำให้เกิดภาวะขนลุก การเกิดขนลุกนี้เพื่อให้ร่างกายเก็บ
รักษาความร้อนเอาไว้ในร่างกาย  ส่วนกระเปาะอันกลาง (middle hair bulges) จะกลายเป็นรูเปิดของต่อมไขมัน (Sebaceous  glands)  ทำให้ไขมันที่สร้างขึ้นจากต่อมนี้ (Sebum) ไหลออกมาสู่ผิวหนังภายนอกได้  กระเปาะอันบนสุด (Upper hair  bulges)            ในบางตำแหน่งของร่างกายจะสลายไป ในบางตำแหน่งจะเจริญกลายเป็นรูเปิดของต่อม
Apocrine glands      ทำให้สารที่สร้างจากต่อมนี้ไหลออกมาสู่ผิวหนังภายนอกได้     จะเห็นได้ว่าทั้งต่อมไขมันและต่อม Apocrine จะต้องอยู่สัมพันธ์กับ hair follicles  เสมอ ดังนั้นบริเวณที่ไม่มีรูขุมขนก็จะไม่มีต่อมไขมัน และต่อม Apocrine ด้วย (ยกเว้น ในบางกรณีจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป)
        ลักษณะรูปร่างของรูขุมขนจะแตกต่างกันไปในแต่ละบริเวณของร่างกาย เช่น บริเวณหนังศีรษะ รูขุมขนจะมีรูปร่าง
ยาว  และตั้งค่อนข้างตรงกับผิวหนัง  ซึ่งจะสร้างผมที่ยาวเมื่อเปรียบเทียบกับรูขุมขนบริเวณลำตัว จะมีลักษณะค่อนข้าง
สั้นและอ้วนกว่า  จะสร้างขนที่สั้นและเล็กกว่า  ส่วนคนที่มีผมหยิกหยักศกกับคนที่มีเส้นผมตรงเหยียดนั้น แตกต่างกันที่
รูปร่างภาคตัดขวางของรูขุมขน คือ ถ้าเป็นรูปวงรี เส้นผมจะหยิกหยักศก  แต่ถ้าเป็นรูปกลมผมก็จะยาวเหยียดตรง   เช่น ชาวเอเซีย
เส้นขนสามารถแบ่งตามลักษณะ (Texture) และความยาวได้หลายชนิด คือ 
1. Lanugo hairs จะเป็นเส้นผมชุดแรกที่สร้างขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา มีลักษณะ 
นุ่ม, เส้นบาง, สีอ่อน  และจะลอกหลุดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (Shed in utero)
2. Vellus hairs  หมายถึง  เส้นผมที่มีความยาวไม่เกิน 1 เซนติเมตร  เส้นจะบาง  สีอ่อนกว่า  และไม่มี hair  medulla   เช่น   ขนบริเวณตัว  ใบหน้า
3. Terminal hairs  ส่วนใหญ่จะหมายถึง ผมบนศีรษะ (scalp  hairs)  จะมีความยาวมากกว่า 1 เซนติเมตร  เส้นใหญ่ หนา สีเข้ม
สีของเส้นขน (Hair color/pigmentation) 
เส้นผมหรือขนจะมีสีอย่างไรขึ้นกับ melanocytes เป็นสำคัญ  โดย melanocytes จะอยู่ใน hair matrix  สร้าง melamin  pigments  แล้วส่งออกไปที่ hair cortex  ทำให้เห็นเป็นสีขนขึ้น  แต่จะมีสีอะไรนั้นขึ้นกับชนิดของ  melanin  pigments ที่สร้างขึ้น
ชนิดของ melanin 
1.Eumelanin   จะทำให้ผมหรือขนมีสีน้ำตาลดำ  (Brown/Black)
2.Pheomelanin  จะทำให้ผมหรือขนมีสีแดงบรอนซ์  (Red/Brond)
   โดยสีของ hairs นั้นจะมีความหลากหลายมาก ขึ้นกับว่ามีจำนวนสัดส่วนของ Eumelanin กับ Pheomelanin
เป็นอย่างไร  ก็จะให้สี hairs ไปตามสัดส่วนนั้น
        ส่วนคนผมขาวนั้น (ผมหงอก) (white/Gray hairs) เกิดขึ้นตามอายุเนื่องจาก 
1. melanocytes  ไม่สร้าง melanin หรือสร้างน้อยลง ก็เห็นเป็นผมขาวหรือผมสีเทา
2. เกิดมีฟองอากาศเล็กๆ บริเวณ hair cortex และ hair medulla เมื่อแสงแดดส่องกระทบจะเห็นคล้ายเป็นสีเงิน
เป็นเงาแสงขึ้น
วงจรชีวิตของ Hair (Hair growth cycle)
         Hair จะมีระยะเจริญเติบโต (Growth), หยุดเจริญเติบโต (Involution), และระยะพัก (Resting) ทำให้เกิดเป็น
ระยะของ hair  เป็น  3 ระยะ คือ 
1. Anagen  hair  เป็นระยะเจริญเติบโต  เซลล์มีการแบ่งตัวมากมาย  melanocyte สร้าง melanin ตลอดเวลา (Active melanization)  ซึ่งระยะนี้ยังแบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 6 ระยะ โดยระยะที่ 1 ถึง 5 รวมเรียกว่า  Pro- anagen stage  เป็นระยะที่มีการสร้างเติบโตแต่ Hairs  ยังไม่งอกเลยพ้นรูเปิดของรูขุมขนขึ้นมาเหนือผิวหนัง  ส่วนระยะที่ 6 เรียกว่า Met-anagen stage คือระยะ Hair งอกยาวพ้นรูขุมขนขึ้นมาแล้ว  โดยระยะ Anagen
นี้ Hair  follicle จะอยู่ลึกลงไปถึงชั้น Hypodermis ระยะนี้กินเวลาเฉลี่ยประมาณ 2-6 ปี แล้วแต่ว่าอยู่บริเวณ
ใดของร่างกาย
2. Catagen Hair เป็นระยะที่ต่อเนื่องมาจาก  Anagen  stage  Hair  จะหยุดการเจริญเติบโต,  melanocytes หยุดสร้าง melanin และ Hair follicle ที่เดิมอยู่ลึกลงไปในชั้น Hypodermis  จะเริ่มหดสั้นมาเรื่อยๆ โดยการ
สลายตัวกลายเป็น membrane เหลืออยู่  ระยะนี้กินเวลาเฉลี่ยประมาณ 2 สัปดาห์
3. Telogen  Hair  เป็นระยะที่ต่อเนื่องมาจาก Catagen  stage  บริเวณโคน Hair จะเห็นเป็นรูป Club-shaped  และ Hair ก็จะเริ่มหลุดร่วงออกมา  ระยะนี้กินเวลาเฉลี่ยประมาณ 1-3 เดือน และก็เวียนกลับไปสู่ระยะ  Anagen  stage  ใหม่เป็นวงจรเช่นนี้เรื่อยไป