เล็บ (Nails)
       เล็บ   คือ  อวัยวะปกคุลมร่างกายชนิดหนึ่งที่พบบริเวณปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ทั้ง 20 นิ้ว  ลักษณะโครงสร้างของเล็บสามารถ แบ่งออกได้เป็นส่วนต่างๆ  ดังนี้ 
    1. Nail plate คือ แผ่นเล็บประกอบด้วย เซลล์ที่ตายแล้ว (Dead keratinized  plate)  เล็บจะยาวและงอกใหม่ตลอดเวลา   keratin ที่เล็บต่างจาก keratin ของ
ผิวหนัง คือ เล็บจะเป็น Hard keratin ส่วนผิวหนังจะเป็น Soft keratin ดังนั้นเล็บ
จึงมีความแข็ง   ส่วนผิวหนังจะนุ่มกว่า Hard keratin ในร่างกายจะพบที่แผ่นเล็บ
และเส้นผมหรือขน (Hairs)   ส่วนบริเวณอื่นๆ ของร่างกายจะเป็น    Soft keratin
ทั้งสิ้น   Hard keratin  มีข้อแตกต่างจาก Soft keratin คือ Hard keratin  จะไม่
หลุดลอกไปเอง จะต้องตัดออก เช่น ตัดเล็บ ตัดผม ส่วน Soft keratin นั้นจะลอก
หลุดออกไปเป็นขี้ไคลเองตามธรรมชาต
      Nail  plate  จะยาวจาก proximal  ไปทาง distal  end   ส่วนความหนาของ
Nail plate นั้น  ส่วน distal จะหนากว่าส่วน proximal เล็บผู้ชายจะหนากว่าเล็บ
ผู้หญิง  เล็บนิ้วเท้าจะหนากว่าเล็บนิ้วมือ
        Nail plate ถูกสร้างจาก Nail  matrix  และวางตัวอยู่บน Nail bed  ทั้ง Nail plate และ Nail bed จะยึดติดกันแน่นไม่แยก
จากกันตั้งแต่ proximal part  ไปจนถึง distal part ก็จะแยกออกจากกัน   ตำแหน่งที่แยกจากกันนี้เป็นตำแหน่งที่สามารถตัดเล็บ
ได้  ตำแหน่งนี้เรียกว่า Hyponychium
       บริเวณ proximal  part  ของ nail plate  จะพบส่วนที่เป็นรูปเสี้ยวพระจันทร์       (half moon-shaped  area)  สีขาวขุ่นๆ  (opaque white) เรียกว่า Lunula  ซึ่ง Lanula นี้ก็คือ ส่วนของ nail matrix  ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่านั้นเอง  ตำแหน่ง นี้เป็นตำแหน่งที่ Nail plate ยึดกับ Nail  bed อย่างหลวมๆ และแยกออกจากกันได้ไม่ยาก
2. Proximal nail fold  คือ ผิวหนัง (skin)  ที่ปกคลุม proximal  part  ของ Nail plate ไว้ ปกคลุมประมาณ 1/4 ของความยาว
แผ่นเล็บทั้งหมดโดยชั้น Stratum corneum ของ proximal nail fold นี้ จะเห็นเป็นเยื่อขาวๆ ช่วยยึด proximal nail fold ให้ติด
กับ Nail plate มากยิ่งขึ้น  บริเวณนี้มีชื่อเรียกว่า cuticle
        Dermis ของ proximal  nail  fold     จะประกอบไปด้วย เส้นเลือดมากมาย เรียงตัวเป็นร่างแหอยู่        ในผู้ป่วยที่เป็นโรค Connective  tissue disease จะพบมีการเรียงตัวของเส้นเลือดเหล่านี้  มีรูปแบบ (pattern) ที่ผิดปกติไป เรียกว่า periungual
telangiectasia
3. Lateral nail folds  คือ ผิวหนังที่ปกคลุมด้าน lateral parts  ทั้งซ้ายและขวาของ nail plates ไว้ ทำให้ nail  plate  ถูกปก
คลุมด้วยผิวหนังตลอด 3 ด้าน คือ proximal ถูกปกคลุมด้วย proximal nail fold และด้านข้างทั้ง 2 ด้านปกคลุมด้วย lateral
nail folds เหลือเพียงด้าน distal  end ด้านเดียว ที่ไม่มีผิวหนังปกคลุม (Free end)  และเป็นด้านที่เล็บจะยาวออกไป
4. Nail matrix  คือ  ตัวสร้างเล็บ (nail  plate)  โดย nail matrix  จะอยู่บริเวณ proximal part ใต้ต่อ proximal nail fold  ใน
Nail matrix นี้ประกอบไปด้วยเซลล์ต่างๆ  คือ keratinocyte เป็นส่วนใหญ่  keratinocytes  จะ keratinization ให้เป็น Nail
plate ยาวงอกออกไป  ส่วนเซลล์อื่นๆ คือ Melanocytes ผลิต melanin ทำให้เห็นเป็นแถบดำๆ ของแผ่นเล็บได้  พบในคน
แอฟริกันและคนเอเซียเป็นส่วนใหญ่   Langerhan cells ก็พบอยู่บริเวณ Nail matrix  และ Merkel cells  ก็พบได้บริเวณ
nail matrix เช่นกัน
5. Nail bed   คือ  เนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ nail plate  และยึดติดแน่นกับ nail  plate      nail bed ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัว 2-5 ชั้น  โดยเซลล์เหล่านี้จะมี keratinization แบบชนิดที่ไม่มี granular cell  layer (Stratum granulosum)
6. Hyponychium  คือ  ผิวหนังบริเวณที่ Nail plate แยกตัวออกจาก nail bed ทำให้สามารถตัดเล็บได้บริเวณตำแหน่งนี้
อัตราการงอกยาวของเล็บจะไม่เท่ากันในแต่ละเล็บ จากการศึกษาพบว่า 
1. เล็บมือจะยาวกว่าเล็บเท้า โดยเฉลี่ยเล็บจะยาวประมาณ 3 มิลลิเมตรต่อเดือน  สำหรับเล็บนิ้วมือ และประมาณ 1 มม. ต่อเดือน สำหรับเล็บนิ้วเท้า  หากทำการถอดเล็บออกจะใช้เวลาประมาณ 100-180 วัน (6 เดือน)  ในการงอกของเล็บ
ใหม่จนยาวเต็มแผ่นเล็บสำหรับเล็บนิ้วมือ และประมาณ 12-18 เดือนสำหรับเล็บนิ้วเท้า
2. ตอนแรกเกิดเล็บจะยาวช้า และยาวเร็วเมื่ออายุ 20-30 ปี  หลังจากนี้จะยาวช้าลง
3. การเจ็บป่วย (Systemic  illness)  ขาดอาหาร (malnutrition)  โรคของระบบหลอดเลือด หรือเส้นประสาท  การกินยา
เคมีบำบัด (Chemotherapy)  และการติดเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis) ก็จะทำให้เล็บยาวช้าลง
4. ภาวะที่กระตุ้นให้เล็บยาวเร็วขึ้นคือ การตั้งครรภ์ อุบัติเหตุบริเวณนิ้ว  โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis)   การรับประทานยา Retinoids  และ Itraconazole
หน้าที่ของเล็บ 
1. ป้องกัน (Protection)  อันตรายที่จะเกิดต่อนิ้วส่วนปลาย (Distal  phalanges)
2. รับความรู้สึก  ทำให้ระบบ Tactile discrimination ดีขึ้น
3. ทำให้นิ้วมือสามารถหยิบจับสิ่งของได้ดี โดยเฉพาะสิ่งของที่มีขนาดเล็ก
4. เป็นอาวุธของร่างกายอย่างหนึ่งตามธรรมชาติ ในการขีด, ข่วน  เพื่อต่อสู้กับอันตราย
5. เล็บนิ้วเท้ายังช่วยให้การเคลื่อนไหวของเท้าได้ดียิ่งขึ้น  (Pedal  biomechanics)
6. เป็นแหล่งข้อมูลต่างๆ  เช่น 
6.1 การเจ็บป่วยของร่างกาย เล็บก็จะหยุดการเจริญเติบโตทำให้เห็นเป็นร่องของเล็บ (Beau's tine)  เป็นอาการ
แสดง (Signs) อย่างหนึ่งที่ตรวจพบได้
6.2 ใช้ตรวจหายาหรือสารพิษ (Toxic substances) ที่สะสมในร่างกายได้ เนื่องจากยาหรือ สารพิษจะมา
สะสมที่เล็บ
6.3 ในโรคบางโรคที่เป็น metabolic  diseases   การตรวจวิเคราะห์เล็บ (Nail plate analysis)  ก็ช่วยในการวินิจฉัย หรือติดตามการรักษาได้
6.4 การตัดแผ่นเล็บไปตรวจหาหมู่เลือด (Blood  groups),  สกัด DNA (DNA extraction)  จากแผ่นเล็บ, หรือตรวจ genotypic  จากแผ่นเล็บ   เป็นต้น