ประมวลภาพ |
 |
ภาพที่ 1 ภาพวาดแสดงลักษณะและองค์ประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ใต้ต่อแผ่นเนื้อผิว
โดยมีองค์ประกอบของพวกเซลล์ต่างชนิด และ extracellular matrix components
เซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดที่พบเด่นชัด คือ fibroblast มีหน้าที่สร้างและหลั่ง
extra-cellular matrix เป็นจำนวนมาก
(จาก Molecular Biology of the Cell, by Alberts et al., 2002, Chapter
19, page 1090, Published by Garland Science) |
|
ภาพที่
2 Mesenchymal connective tissue (Mesenchyme) เป็นเนื้อเกี่ยวพันที่พบในตัวอ่อน
กำเนิดมาจาก mesoderm บางตำรากล่าวว่ามาจาก neural crest ectoderm เนื้อชนิดนี้
ประกอบด้วย
(i) Mesenchymal cell (M) หรือ stellate cell เซลล์มีลักษณะรูปร่างคล้ายดาว
เพราะ cytoplasm มีแขนงบางๆ จำนวนมาก และประสานกับแขนงของ mesenchymal cells
ที่อยู่ข้างเคียงในลักษณะเป็นร่างแห ส่วนนิวเคลียสนั้นกลม หน้าที่ของพวกเซลล์คือ
มีความสามารถหรือศักยะภาพที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นพวกเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันทุกชนิด
ที่พบใน adult supporting tissue
(ii) สารที่อยู่ภายนอกตัวเซลล์ ส่วนใหญ่เป็น ground substance ไม่พบว่ามีเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันปะปน
บางตำรากล่าวว่ามี reticular fibers ที่ละเอียดอ่อนปะปนได้บ้าง |
 |
ภาพที่ 3 Mucous connective tissue
พบอยู่ในสายสะดือ บางตำราจัดรวมอยู่ใน mesenchyme เนื้อเยื่อชนิดนี้ประกอบด้วย
Mesenchymal cell (M) และ ground substance ที่โปร่งใส มีชื่อเรียกเฉพาะว่า
Wharton's jelly แต่เนื้อเยื่อในสายสะดือไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อชนิดอื่นๆ
ได้ Mesenchyme เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่พวกเซลล์และสิ่งที่อยู่ภายนอกเซลล์อยู่กันอย่างหลวม
และยอมให้เมทาบอไรท์ซึมผ่านเข้า-ออก ได้อย่างง่ายและเป็นอิสระ |
|
 |
ภาพที่ 4 Loose (areolar) connective tissue (เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่กันอย่างหลวม)
: กำลังขยายต่ำ
พบตรงบริเวณ subcutaneous tissue ใต้ต่อผิวหนัง หรือรองรับเนื้อผิวที่ดาดท่อทางเดินอาหารและลำไส้ในส่วนซึ่งเรียกว่า
lamina propria ประกอบด้วย ground substance, fibroelastic fibers ซึ่งอยู่กันอย่างหลวมและไม่เป็นระเบียบ
เช่น E = Elastic fiber (ภาพที่
8B) ส่วนพวกเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่พบ เช่น Mast cell (M, ในกรอบเล็ก)
|
|
ภาพที่
5 Subcutaneous tissue (กำลังขยายสูง) เป็น Loose connective tissue
ในภาพแสดง สิ่งที่อยู่ภายนอกเซลล์ ได้แก่ เส้นใยอิลาสติก (Ef) มีลักษณะคล้ายเส้นด้าย
และแถบกลุ่มเส้นใยคอลาเจน (Co) ส่วน Mast cell (M) เป็นเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันขนาดใหญ่
มีนิวเคลียสกลมอยู่กลางเซลล์ cytoplasm มีจำนวนมาก ภายในบรรจุ granules ขนาดเท่ากันจำนวนมาก
(ย้อม H&E ไม่เห็น) จะเห็นเด่นชัดเมื่อย้อมสีพิเศษ องค์ประกอบของ granules
เป็นพวก heparin, histamine, eosinophilic chemotactic substance, leukotriene
และ serotonin (มีเฉพาะใน granule ของ rat mast cells) มักพบ mast cells อยู่ใกล้กับบริเวณหลอดเลือดดำขนาดเล็ก
เพราะเมื่อเกิด degranulation สารเคมีที่หลั่งออกมาจะมีผลต่อหลอดเลือดที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
|
ภาพที่
6 Reticular tissue (ย้อม Silver impregnation และ carmine)
พบให้เป็นโครงร่างโดยประสานกันเป็นตาข่ายอยู่ในอวัยวะต่อมน้ำเหลือง ต่อมไร้ท่อ
และตับ เมื่อย้อมด้วยเกลือเงิน Reticular fibers (Reticulin, Rf) ติดสีดำ มีลักษณะคล้ายรากฝอยของต้นไม้
ส่วน reticular cells นั้น
มีขนาดเล็ก ไม่เห็นในภาพ
Reticulin ปัจจุบันจัดเป็นพวกคอลาเจนชนิดหนึ่งที่ไม่มีลายตามขวาง คือ อยู่ใน
collagen type III ในการย้อม H&E Reticulin ย้อมไม่ติดสี แต่มีคุณสมบัติดูดซับ
metallic silver ได้ดี
ในภาพ reticulin เป็นโครงร่างของต่อมน้ำเหลือง ให้เป็นที่เกาะของ lymphoid
cells (เห็นนิวเคลียสติดสีน้ำเงินม่วงจางๆ) |
 |
ภาพที่ 7A Adipose tissue (เนื้อไขมัน) ชนิด unilocular adipose
tissue
ประกอบด้วยพวกเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เปลี่ยนแปลงให้เป็นแหล่งเก็บสะสมไขมันเรียก
Adipocyte (กรอบเล็กและภาพที่
7C ลูกศรชี้),
Nu = Nucleus of an adipocyte, Fc = Fat cell
หน้าที่ของเนื้อไขมัน
- แหล่งสะสมและผลิตพลังงานให้กับร่างกาย
- เบาะหรือฉนวนป้องกันการสะเทือน (cushion) ให้กับอวัยวะส่วนนั้น
|
|
 |
ภาพที่ 7B Brown (multilocular) Adipose tissue
เป็นเนื้อไขมันชนิดพิเศษ มองด้วยตาเปล่าติดสีเข้ม เกิดจากสี hemoglobin
ในหลอดเลือดฝอย และสี cytochromes ที่มีจำนวนมาก มี fat droplet ขนาดเล็กจำนวนมากบรรจุอยู่ใน
adipocyte (Fat cell, Fc) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า white adipocytes (ภาพที่
7C) พบเนื้อไขมันชนิดนี้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เกิดใหม่ และพวกสัตว์จำศิลบางชนิด
พบน้อยในคนที่เจริญเติบโตเต็มที่ ใน human fetus อายุ 28 อาทิตย์ไปแล้ว
และในเด็กเกิดใหม่ พบเนื้อไขมันชนิดนี้บริเวณคอและ interscapular region
โดยมีประมาณ 2-5% ของน้ำหนักตัว, Nu = Nucleus of an adipocyte
หน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย |
|
 |
ภาพที่ 7C White adipocyte (ลูกศรชี้) กำลังขยายสูง
มีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100 ไมโครเมตร หรือมากกว่า ในระดับ
LM เป็นรูป signet ring ปัจจุบันเข้าใจว่า adipocyte กำเนิดมาจาก mesenchymal
cells บางตำรากล่าวว่ากำเนิดมาจาก pericyte (เซลล์โอบล้อมผนังหลอดเลือดฝอย)
เนื่องจาก adipocyte สะสมไขมันพวก triglyceride อยู่ใน fat droplet ดังนั้น
หน้าที่ของเซลล์ไขมัน คือ
- energy storage (เก็บสะสมพลังงาน)
- thermal insulator อยู่ใต้ผิวหนัง
- cushion ป้องกัน mechanical shock ในอวัยวะสำคัญ เช่น ไต และเบ้าตา |
|
 |
ภาพที่ 8A Dense connective tissue ชนิด regularly arrangment of
collagen fibers (DR)
พบในเนื้อแก้วตา (ชั้น substantia propria ของ cornea) เส้นเอ็น
(tendon) แผ่นผังพืด (aponeurosis) ลักษณะเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ประกอบด้วยเส้นใยคอลาเจน
(C) เป็นส่วนใหญ่ และเรียงตัวเป็นระเบียบ ซึ่งอาจเรียงรวมกันเป็นแท่งหรือแผ่น
ในเนื้อสดเห็นเป็นสีขาว ในภาพเห็นนิวเคลียส (N) เป็นของ fibroblast ซึ่งสร้างและหลั่งเส้นใยคอลาเจนออกมา
ถ้าพบ fibroblasts ในเส้นเอ็นสมัยก่อน เรียก tenoblast or tendon cell
, Str = Stratified epithelium, Sim = Simple epithelium
หน้าที่
เกี่ยวกับ local mechanical stress โดยเฉพาะเส้นใยคอลาเจนที่รวมกันเป็นแผ่น
หรือมัด เช่น ผังพืด และเส้นเอ็น ส่วนเนื้อแก้วตาเป็นแผ่นบาง มีความโปร่งใส
จึงทำหน้าที่เกี่ยวกับการกระจายลำแสงในแต่ละชั้นของเส้นใยคอลาเจน ที่เรียงกันอย่างเป็นระเบียบ |
|
ภาพที่
8B Dense connective tissue ชนิด dense regularly arrangment ของ elastic fibers
พบใน Ligumentum nuchae (Triple stain) เส้นใยที่เรียงกันเป็นระเบียบ เป็นพวกเส้นใยอิลาสติก
พบมีนิวเคลียสของ fibroblasts
เป็นจุดสีน้ำเงินจางๆ เรียงในแนวขนานกับเส้นใย
ในกรอบเล็กแสดง E = Elastic fiber ที่ให้เป็นองค์ประกอบของผนังหลอดเลือดแดงใหญ่
aorta และย้อมด้วย Verhoeff's ติดสีเข้ม มีลักษณะหยัก ถ้าย้อม H & E เส้นใยอิลาสติกติดสีใส
บางครั้งถ้าเพิ่มความเข้มของสี H & E และทิ้งไว้นานพอประมาณ และอิลาสติกนั้นเป็นแผ่นใหญ่
จะเห็นเป็นแผ่นอิลาสติกเป็นคลื่นติดสีชมพูเข้มได้ แต่ลักษณะนี้แตกต่างจากแผ่นคอลาเจน
ซึ่งเห็นเป็นแถบชมพูและกว้างกว่า (ภาพที่
5 )
Elastin ประกอบด้วย
amorphous mass ของ polymerised tropoelastin ในระดับภาพอิเลคตรอน ลักษณะเป็น
microfibrils ของ structural glycoprotein ชนิด fibrillin ซึ่งเกี่ยวข้องกับขบวนการหรือการตกผลึกของ
elastin |
 |
ภาพที่ 9 Dense connective tissue ชนิด irregularly arrangment
(DI), C = Collagen
มีเส้นใยอิลาสติก (จำนวนน้อย) และคอลาเจนจำนวนมาก แต่การเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ
พบบริเวณหนังแท้ เปลือกหุ้มต่อม หรืออวัยวะชนิดต่างๆ ทั่วร่างกาย รวมทั้งเยื่อหุ้มของกระดูกอ่อน
กระดูกแข็ง เส้นเอ็น และเส้นใยประสาท |
|
ภาพที่
10 Fibroblast (F) หรือ mature fibroblasts
เป็นเซลล์รูปร่างยาวเรียว นิวเคลียสติดสีเข้ม ยาวตามแนวเส้นใยคอลาเจน cytoplasm
มีแขนงยาวบางๆ อาจบ่งชี้ไม่ชัดเจนในระดับ LM เห็นแต่นิวเคลียส fibroblast กำเนิดมาจาก
mesenchymal cell (ภาพที่
2)
หน้าที่ สร้างเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เพื่อเพิ่มเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อนั้นๆ
Fibroblasts
ที่พบบริเวณแผลในขณะกำลังจะหาย เรียกว่า active fibroblasts เพราะมีนิวเคลียสกลมใหญ่
นิวเคลียสโอลัยเด่นชัด ส่วน cytoplasm มีบริเวณกว้าง และบรรจุ RER จำนวนมาก
เพราะเกี่ยวข้องกับสร้างโปรตีนเพื่อขนส่งออก แขนงของ active fibroblasts มีหลายแขนง
และประสานกันเป็นร่างแหกับแขนงของ fibroblasts ที่อยู่ข้างเคียง
Myofibroblast
จัดให้เป็น fibroblast ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะ เกี่ยวกับการหดตัว
เนื่องจากภายใน cytoplasm บรรจุ กลุ่ม actin filaments และ dense bodies เซลล์ชนิดนี้ทำหน้าที่ในการหดตัว
พบบริเวณ granulation tissue ของแผล ผลเมื่อแผลบริเวณนั้นหายดีแล้วจะกลายเป็นแผลเป็น
(scar) |
 |
ภาพที่ 11A Macrophage (Tissue histiocyte)
เป็นพวกเซลล์ที่กำเนิดมาจาก blood monocytes ต่อมาเมื่อเกิดมีสภาวะอันตรายต่อเนื้อเยื่อ
จึงเคลื่อนย้ายผ่านผนังหลอดเลือด เข้ามาอยู่ในเนื้อประสาน บริเวณนั้น
การย้อมสี H&E ไม่สามารถบ่งชี้เซลล์นี้ได้ ถ้าไม่มี particles ที่เก็บกินเข้าไว้ในตัวเซลล์
เมื่อให้เซลล์นี้เก็บกิน trypan blue dyes (ในภาพ) เข้าไว้ใน cytoplasm
ผลทำให้เห็น ingested dye ติดสีน้ำเงิน ที่มีขนาดไม่เท่ากัน บรรจุอยู่ใน
cytoplasm ส่วนนิวเคลียส (N) นั้น ติดสีชมพูจาง
หน้าที่
1. เก็บกินและทำลายเชื้อโรคขนาดเล็ก
2. เกี่ยวข้องกับขบวนการภูมิคุ้มกันของร่างกาย |
|
 |
ภาพที่ 11B Kupffer's cell (Macrophage of liver, Ma), hc =
hepatic cell
พบบริเวณผนังของหลอดเลือดแดงฝอยในเนื้อตับ (hepatic or liver sinusoid,
LS)
สังเกต ingested materials
ติดสีเข้ม ขังอยู่ภายใน cytoplasm ของเซลล์นั้น มีขนาดใหญ่-เล็กไม่เท่ากัน
และมีจำนวนมาก จนบดบังลักษณะโครงสร้างของนิวเคลียส |
|
 |
ภาพที่ 11C Dust cell (D, Alveolar macrophage)
พบในเนื้อปอด ภายใน cytoplasm ของเซลล์บรรจุ ingested material ขนาดไม่เท่ากัน
ส่วนใหญ่เป็น carbon particles ที่ปนมากับลมหายใจ ไม่สามารถบ่งชี้นิวเคลียสได้
ส่วนในกรอบเล็กคือ Osteoclast (Ocl = Macrophage of Osseous tissue)
เซลล์มีขนาดใหญ่ ภายในบรรจุนิวเคลียสหลายอัน อาจเรียกว่า large multinucleated
cells
หน้าที่
1. เกี่ยวกับการดูดซับกลับเนื้อกระดูกแข็ง (bone resorption)
2. เกี่ยวกับการทำให้เกิดความสมดุล ของเกลือแคลเซียมในกระแสเลือด โดยมีการตอบสนองของ
parathyroid hormone และ calcitonin ที่หลั่งมาจากต่อมพาราไทรอยด์ และไทรอยด์
ตามลำดับ |
|
 |
ภาพที่ 11D Multinucleated cells
อยู่ในเนื้อปอดที่ติดเชื้อเรื้อรัง เช่น วัณโรคในเนื้อปอด พบ macrophage
ขนาดใหญ่ มีหลายนิวเคลียส (ลูกศรชี้) เช่นเดียวกับ osteoclast (ภาพบน)
ถือกำเนิดมาจาก blood monocyte เช่นกัน
หน้าที่ เก็บกินสารที่มีขนาดใหญ่ หรือกลุ่มแบคทีเรียที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวเซลล์ |
|
 |
ภาพที่ 12A Mesenchymal cell (M), Pericyte (pc)
ให้กลับไปศึกษา Mesenchymal cell (M) ในภาพที่
2 ปัจจุบันเชื่อว่า mesenchymal cells ที่พบบริเวณผนังหลอดเลือดฝอยและล้อมรอบ
endothelial cells (en) มีชื่อเรียกว่า perivascular หรือ adventitial
cells หรือ pericytes (pc) |
|
 |
ภาพที่ 12B Pericyte (pc)
แสดง Pericyte (pc) ที่ล้อมรอบ endothelial cells (en) ของหลอดเลือดแดงฝอย |
|
 |
ภาพที่ 13 Mast cell (*)
ให้กลับไปศึกษาภาพที่
4 และ 5
เพิ่มเติม ในการย้อมสีพิเศษด้วย Toluidine blue พบว่า cytoplasmic
granules ของ mast cells มีขนาดเท่ากัน ติดสีม่วงน้ำเงิน เรียกคุณสมบัติการติดสีนี้ว่า
metachromasia เมื่อเกิด degranulation of mast cells ทำให้ปล่อย histamine
และ vasoactive mediators ออกมา ผลทำให้เกิด immediate hypersensitivity
เช่น เป็นลมพิษ (utricaria) หรืออาจเกิดanaphalactic shock ได้
|
|
 |
ภาพที่ 14 Adipocyte (เซลล์ไขมัน)
ให้กลับไปศึกษาภาพที่
7A & 7C
เพิ่มเติม
ไขมันที่สะสมอยู่ในเซลล์ไขมันรับมาจาก 3 แหล่ง คือ
1. dietary fat (ไขมันที่กินเข้าไป) อยู่ในกระแสเลือด ในรูปแบบของ chylomicrons
2. triglycerides สร้างและหลั่งออกมาจากเซลล์ตับ และขนส่งเข้าสู่กระแสเลือด
3. triglycerides ผลิตมาจากน้ำตาล glucose |
|
ภาพที่
15 Plasma cell
ลักษณะเป็นเซลล์ทรงกลม cytoplasm ติดสีม่วงน้ำเงิน เกิดจากการที่บรรจุ
basophilic granules ของ ribosomes (เกาะที่ endoplasmic reticulum) จำนวนมาก
(เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนพวก antibodies) ส่วนนิวเคลียสนั้นกลม อยู่ชิดขอบเซลล์
เรียก eccentric nucleus ภายในนิวเคลียสมี nuclear chromatin จับกันเป็นกลุ่ม
กระจายอยู่ตามขอบ nuclear membrane ทำให้เห็นเป็นลักษณะคล้ายหน้าปัทม์นาฬิกา
(Clock face) หรือซี่ล้อเกวียน (cart wheel) เนื่องจาก Golgi apperatus ของเซลล์ชนิดนี้เจริญได้ดี
ดังนั้น บางครั้งอาจพบอยู่ตรงบริเวณใส ชิดกับนิวเคลียส (Perinuclear halo)
ปัจจุบันเชื่อว่า plasma cell เป็นระยะสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงมาจาก B-lymphocyte
ซึ่งอยู่ในเนื้อเยื่อ ต่อเมื่อถูกกระตุ้นด้วย antigens จะเปลี่ยนไปเป็น plasma
cell หน้าที่ สร้างโปรตีน antibodies
|
 |
ภาพที่ 16A Blood lymphocyte
พบในกระแสเลือดและเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดที่มีขนาดเล็กสุด โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง
6 - 9 ไมโครเมตร ลักษณะกลม นิวเคลียสติดสีน้ำเงินม่วงเข้ม บรรจุเกือบเต็มเซลล์
มี cytoplasm ติดสีฟ้าเข้ม ซึ่งมีปริมาณน้อยมาก เมื่อเกิดมีการกระตุ้นเซลล์นี้จะกลายเป็น
actived B-lymphocyte (Tl) หรือ tissue lymphocyte พบออกมาอยู่ในเนื้อเยื่อประสาน
|
|
 |
ภาพที่ 16B Tissue lymphocyte (Tl)
ขยายใหญ่ในกรอบเล็ก มีขนาดเล็กกว่าที่พบใน blood lymphocyte ต่อมา
tissue lymphocyte ซึ่งเป็นชนิด B-lymphocyte ถ้าถูกกระตุ้นด้วย antigens
จะเปลี่ยนแปลงไปเป็น plasma cells (ภาพที่
15) พบมาก บริเวณเนื้อประสานซึ่งรองรับเนื้อผิวที่ดาดท่อทางเดินอาหาร
ลมหายใจ และทางเดินปัสสาวะ นอกจากนั้นพบในเนื้อเยื่อน้ำเหลือง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในต่อมน้ำนม,
TE = Tissue Eosinophils (ภาพที่
17) |
|

ภาพที่ 17 Tissue Eosinophils, TE (กำลังขยายสูง)
พบในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหลวม เช่น ในชั้น lamina propria ของผนังลำไส้
หลอดลม เป็นต้น TE ออกมาจากกระแสเลือด เมื่อมีการกระตุ้นโดยเกิดการติดเชื้อพวก
parasites ลักษณะเป็นเซลล์กลม มี eosinophilic cytoplasmic granules (ติดสีแดง)
ส่วน นิวเคลียสเป็น bilobe หน้าที่ เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ parasites ผลทำให้เกิด
eosinophilia (จำนวน eosinophils มากเกินปกติ) ในกระแสเลือด และอาจพบเซลล์นี้จำนวนมาก
ในเนื้อเยื่อของคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ เช่น hay fever หืดหอบ เป็นต้น
บางตำรากล่าวว่า eosinophils เป็นเซลล์ที่เก็บกินเชื้อโรค เช่นเดียวกับ
neutrophils แต่คุณสมบัติการเก็บกินมีน้อยกว่า ส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับ Antigen-antibody
complex
|
 |
ภาพที่ 18A Melanocyte (whole mount) in LM
เป็นเซลล์ที่สร้างเม็ดสี พบที่ผิวหนัง มีแหล่งกำเนิดมาจาก neural crest
(ไม่ใช่มาจาก mesenchymal cells) cytoplasm มีแขนงจำนวนมาก ภายในบรรจุ
granules ที่เรียกว่า melanosomes |
|
 |
ภาพที่ 18B Melanocyte (Mel) in EM
ลักษณะโครงสร้างของ melanocyte ในระดับภาพอิเลคตรอน, N = Nucleus,
หัวศรชี้ melanosome, Ker = Keratinocyte อาจพบ melanocyte ในเนื้อเยื่อประสาน
และรวมกลุ่มกันเป็นไฝ หรือที่ผนังชั้น choroid ของลูกตา เป็นต้น
D = Dermis, P = cytoplasmic Process of Melanocyte (Mel) |
|
 |
ภาพที่ 18C Keratinocyte as pigmented cell
พวกเซลล์เนื้อผิวที่เก็บกินเม็ดสีเข้าไว้ใน cytoplasm เรียกว่า pigmented
cells เช่น keratinocytes, pigmented cells ในชั้นผนังประสาทจอตา ให้ศึกษา
keratinocyte (Ker) ระดับภาพอิเลคตรอน ในภาพที่
18B |
|
 |
ภาพที่ 19 Collagen fiber (*) หรือ collagen
เป็นเส้นใยเนื้อเยื่อประสาน และให้เป็นชนิดโปรตีนที่พบมากที่สุดในร่างกายมนุษย์
คอลาเจนสร้างและหลั่งมาจาก fibroblasts (ภาพที่
10) และออกมาขังอยู่ใน extracellular matrix ในรูปแบบ tropo-collagen
ที่ ประกอบด้วย 3 polypeptide chains (alpha chains) พันกันแบบ helix
ยาว 300 nm มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 nm |
|
 |
ภาพที่ 20 Elastic fiber (E) or elastin (ใน elastic cartilage)
กลับไปศึกษาภาพที่
4 และ ภาพที่
8B ร่วมด้วย เป็นเส้นใยหรือแผ่นที่ไม่ต่อเนื่องกัน พบใน extracellular
matrix บริเวณหนังแท้ ใต้หนังแท้ เนื้อปอด ผนังชั้นกลางของหลอดเลือดแดงใหญ่
aorta และกระดูกอ่อนที่ใบหูซึ่งเรียกว่า elastic cartilage หน้าที่ของ
elastin ให้ความแข็งแรงและรับแรงยืดหยุ่น (elastic recoil) ให้กับอวัยวะนั้นๆ |
|
 |
ภาพที่ 21 Reticular fiber (Reticulin)
ให้ศึกษาคำอธิบายจากภาพที่
6 ร่วมด้วย ปัจจุบัน ในบางตำราจัดให้เป็นเส้นใยรูปแบบหนึ่ง รวมอยู่ในชนิดต่างๆ
ของคอลาเจน คือ เป็น Collagen type III ดังได้กล่าวมาแล้วในคำอธิบายภาพที่
19
|
|
 |
ภาพที่ 22 ภาพสแกนอิเลคตรอนของเนื้อเยื่อแก้วตาหนู
แสดงลักษณะโครงสร้างของเนื้อประสานที่มี fibro- blasts (F) บรรจุอยู่และมีส่วนของ
extra-cellular matrix ล้อมรอบ fibroblasts โดยส่วนใหญ่ประกอบด้วย collagen
fibrils, Co (ไม่มีเส้นใยอิลาสติกในแก้วตา) ส่วน glycoproteins, hyaluronan
และ proteoglycans นั้น ปกติสร้างเป็น hydra- ted gel แทรก หรืออยู่ท่ามกลางร่างแหของเส้นใยที่ประสานกัน
แต่ได้ละลายออกมาแล้วด้วยน้ำย่อยและกรด
(จาก T.Nishida et al.,Invest Opthalmol. Vis. Sci. 29:1887-1890, 1988)
|
|
ภาพที่ 23 ภาพวาดแสดงวิธีการที่ basement membrane หรือ basal laminae
มีการจัดระเบียบในการเรียงตัวได้ 3 วิธี

Basal lamina
(สีเหลือง) พบอยู่ 3 บริเวณ
1. ล้อมรอบพวกเซลล์
เช่น เซลล์กล้ามเนื้อลาย (Muscle)
2. อยู่ใต้ต่อแผ่นเนื้อผิว
(Epithelium)
3. สอดแทรกอยู่ระหว่างแผ่นเซลล์
2 ชนิด (Endothelial cell และ Epithelial cell) เช่น ใน kidney glomerulus
ให้สังเกต ใน kidney
glomerulus บนแผ่นเซลล์ทั้งสองด้านมีช่องเป็นช่วงๆ เกิดขึ้น ทำให้แบ่งแผ่น
basal lamina ออกเป็นระยะ ในแต่ละช่องของ basal lamina ส่วนนั้น ทำหน้าที่เป็น
permeability barrier และกำหนดได้ว่า อณูที่มี ขนาด รูปร่าง ประจุ ชนิดใด
ที่ควรผ่านไปได้ ซึ่งออกมาจากน้ำเลือดผ่านส่วนของ basal lamina เข้าไปรวมเป็นองค์ประกอบอยู่ในน้ำปัสสาวะ
(จาก Molecular Biology of the cell by Alberts et al., 2002, chapter 19,
Fig. 19-55, page 1106, Published by Garland Science)
|
 |
ภาพที่ 24 ภาพถ่ายอิเลคตรอน แสดงลักษณะโครงสร้างของ basal laminae
ใน glomerulus
มี 3 ชั้น คือ
1. lamina lucida
2. Lamina densa
3. Lamina fibroreticularis or lucida
พบแทรกอยู่ระหว่างเซลล์เนื้อผิว 2 ชนิด ชนิดที่ 1 คือ แขนงของ podocyte
(Pedicel = P) และ ชนิดที่ 2 คือ fenestrated endothelium of glomerular
capillaries ทำให้เป็นช่องเกิดขึ้นเป็นช่วงในแผ่น basal lamina เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับ
filtrated barrier
|
|