NEURONS
        เซลล์ประสาท เป็นหน่วยโครงสร้างที่ทำหน้าที่เฉพาะในระบบประสาท มีจำนวนมากถึง 100 ล้านล้านเซลล์ ซึ่งเซลล์เหล่านี้จะมีการติดต่อซึ่งกันและกัน เพื่อก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่การเก็บเกี่ยวข้อมูลต่างๆ จากสิ่งแวดล้อม โดยผ่านทางปลายประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกต่างๆ (sensory receptors) ข้อมูลเหล่านี้ จะถูกส่งต่อไปยังสมอง เพื่อให้เกิดการรับรู้หรือเกิดการตอบสนอง

รูปร่างและขนาดของเซลล์ประสาท
       รูปร่างของเซลล์ประสาท จะมีความสัมพันธ์กับหน้าที่ โดยรูปร่างจะบ่งถึงการติดต่อกับเซลล์ประสาทอื่นๆ และมีอิทธิพลต่อทิศทางที่จะก่อให้เกิดการส่งต่อของข้อมูล เซลล์ประสาทมีรูปร่างหลายแบบ และประกอบด้วย ส่วนของตัวเซลล์ เรียกว่า soma หรือ cell body และแขนงที่ยื่นออกไป (processes) ได้แก่ dendrite และ axon
Click for Big Picture
รูปที่ 2
         รูปร่างของเซลล์ประสาท จะถูกกำหนดโดยปัจจัยภายใน ซึ่งสามารถพิสูจน์โดยการนำเอาเซลล์ประสาทจากตัวอ่อน มาเพาะเลี้ยงในจานเลี้ยงเซลล์ พบว่า เซลล์ประสาทอ่อนนี้ จะเจริญเป็นเซลล์ประสาทที่มีรูปร่างเหมือนกับ ในเซลล์ประสาทที่เจริญเต็มที่ในตัวสัตว์ทดลอง (Directer 1978.  Barker and Cowan 1979)   สำหรับรูปแบบของ dendrite และ axon นั้น จะขึ้นกับปัจจัยภายนอกซึ่งพบว่าปัจจัยสำคัญคือ input ที่เข้ามา นอกจากนี้ neuroglia ที่อยู่รอบๆ ก็มีอิทธิพลเช่นกัน
 
Click for Big Picture
รูปที่ 3
Click for Big Picture
รูปที่ 4
        ขนาดของเซลล์ประสาทจะมีความผันแปรมาก ขนาดเล็กที่สุด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8 mm ได้แก่ cerebellar granule cell (รูปที่ 3 ), granule cell of olfactory bulb, bipolar cell of the retina และ stellate cells of the substantia gelatinosa ในไขสันหลัง เป็นต้น บางเซลล์ก็มีขนาดใหญ่มากถึง 100 mm ได้แก่ motoneurons ในไขสันหลัง (รูปที่ 4) spinal ganglion cell และ Betz cell ใน cerebral cortex
        ไม่เพียงเฉพาะเซลล์ประสาทต่างชนิดกันที่มีขนาดต่างกัน เซลล์ประสาทชนิดเดียวกันก็ยังมีขนาดต่างกันได้ เช่น spinal ganglion cell ในคน จะมีขนาดตั้งแต่ 15-120 mm ขนาดของเซลล์จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณพื้นที่ ที่เซลล์ประสาทนั้นแผ่ขยายไป


ชนิดของเซลล์ประสาท
        เซลล์ประสาท โดยทั่วๆ ไปจะมี dendrite หลายๆ อัน แต่มี axon เพียงอันเดียว ซึ่งเรียกว่า multipolar neurons เวลาจะอธิบายเซลล์ประสาทก็มักจะใช้แบบอย่างนี้ในการอธิบาย แต่ก็พบว่าในกลุ่มของ multipolar neurons นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 พวกตามรูปร่างภายนอกหรือสัณฐานของ axon ดังนี้
        Golgi type I cells หมายถึง เซลล์ประสาทที่มี axon ซึ่งให้แขนงย่อยออกไปเพียงเล็กน้อย และทอดออกไปไกล มี myelin หุ้ม axon ยาว ตัวอย่างเช่น motoneurons ใน ไขสันหลัง Pyramidal cells ของ cerebral cortex (รูปที่ 5) และ Purkinje cells ของ cerebellum เซลล์เหล่านี้จะให้ axon ซึ่งไปสิ้นสุดที่บริเวณที่ไกลจากส่วนของ soma และ dendrite
Click for Big Picture
รูปที่ 5
Click for Big Picture
รูปที่ 6
       Golgi type II cells ได้แก่ เซลล์ประสาทที่มี axon ซึ่งยังคงไม่มี myelin หุ้ม และแตกแขนงออกมากมาย ในบริเวณใกล้ๆ กับส่วนของ soma และ dendrite ตัวอย่างเช่น stellate cell ของ cerebral cortex และ golgi cell ใน cerebellar cortex (รูปที่ 6 )
        เซลล์ประสาททั้งสองกลุ่มนี้จะมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน พวก Golgi type I cell จะทำหน้าที่ integrate และ projection โดยจะรวบรวมข้อมูลที่เข้ามา เกิดการ intergrate และส่งผลที่ได้จากการ intergrate ไปสู่บริเวณที่ไกลออกไป ส่วนพวก Golgi type II cell จะมี axon และ dendrite ที่แตกแขนงแผ่ออกไปเป็นบริเวณรอบๆ เซลล์ประสาทตัวนั้น ก็จะได้รับสัญญาณประสาทเข้ามาอย่างเดียวกับเซลล์ประสาทที่ axon ของเซลล์นั้นไปติดต่อ ดังนั้น บทบาทของเซลล์ Golgi type II จึงเป็นลักษณะของ local  modulation
        เซลล์ประสาทมิได้มีเฉพาะ multipolar เท่านั้น บางชนิดก็มีเพียง axon เท่านั้น เช่น olfactory receptor neurons ของสัตว์กระดูกสันหลัง ดังนั้น จึงสามารถแบ่งเซลล์ประสาทตามจำนวน process ออกเป็น 3 ชนิดดังนี้
Click for Big Picture
รูปที่ 7
        1. Unipolar neurons ได้แก่ เซลล์ประสาทที่มี process เดียว อาจจะมีแต่ axon ไม่มี dendrite เช่น olfactory receptor neurons, rods และ cone cells ของ retina บางครั้ง process ที่ยื่นออกมาจะแยกเป็น 2 แขนง เรียกว่าเป็น pseudounipolar neurons ได้แก่ spinal ganglion cell (รูปที่ 7)

       2. Bipolar neurons ได้แก่ เซลล์ประสาทที่มี process ยื่นออกไป 2 process ได้แก่ sensory neurons ใน cochlear และ vestibular ganglia

Click for Big Picture
รูปที่ 8
        3. Multipolar neurons ได้แก่ เซลล์ประสาทที่มี dendrites หลายอัน แต่มี axon เพียงอันเดียว ได้แก่ pyramidal cell, motoneurons of spinal cord, Purkinje cell of cerebellum
(รูปที่ 8) เป็นต้น
        นอกจากนี้ ยังมีเซลล์อีกพวกหนึ่งซึ่งไม่มี axon มีแต่ dendrites เท่านั้น ได้แก่ amacrine cell ใน retina และ granule cell ของ olfactory bulb        Anaxonic neurons พบเฉพาะในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเท่านั้น


การแบ่งเซลล์ประสาทตามหน้าที่
Click for Big Picture
รูปที่ 9
แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด
     1. Primary sensory neurons (รูปที่ 9 C) ทำหน้าที่รับการกระตุ้นแล้วถ่ายทอดสัญญาณ ไปสู่ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) 
     2. Interneurons (internuncial neurons) ทำหน้าที่ประกอบเป็นวงจรประสาท ในระบบประสาทส่วนกลาง (CNS)
     3. Motoneurons (รูปที่ 9 B) ทำหน้าที่ส่งสัญญาณประสาท จากระบบประสาทส่วนกลางไปสู่ effector เพื่อให้เกิด action


ลักษณะของเซลล์ประสาท
ลักษณะของ Primary sensory neurons
        1. เป็น Bipolar หรือ Unipolar neurons โดยส่วนใหญ่แล้วจะอยู่นอก CNS ยกเว้น retina
        2. ปลายประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกเรียกว่า receptor จะอยู่ที่อวัยวะ เช่น ผิวหนัง ลิ้น ตา หู จมูก กล้ามเนื้อ และอวัยวะภายใน เป็นต้น ทำหน้าที่รับการกระตุ้นต่างๆ ซึ่ง receptor นี้ อาจจะเป็นปลายประสาทเปล่าๆ หรือเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และมี cell อื่นมาล้อมรอบ กลายเป็น sensory end organ ก็ได้
        3. สำหรับ Unipolar neurons นั้น จะเป็น pseudounipolar (รูปที่ 7) คือมีแขนงแยกออกจาก cell body 1 แขนง แล้วแตกออกเป็น 2 แขนง ได้แก่ peripheral และ central processes โดยที่ peripheral process จะทอดไปตามเส้นประสาทที่ไปสู่อวัยวะต่างๆ ทำหน้าที่ เหมือนกับ dendrite คือ จะนำสัญญาณประสาทเข้าสู่ perikaron แต่โดยลักษณะโครงสร้างแล้วเหมือนกับ axon ส่วน central process มีลักษณะโครงสร้าง และทำหน้าที่เป็น axon โดยนำสัญญาณประสาทออกจาก perikaryon
Click for Big Picture
รูปที่ 7

ลักษณะของ Interneurons
        1. เป็น multipolar (มีข้อยกเว้นเล็กน้อย) มีจำนวนมากกว่า sensory neurons และ motoneurons รวมกัน
        2. ทั้ง axons และ dendrites อยู่ใน CNS ทั้งหมด ไม่มีการส่ง axon ไปสู่ PNS
        3. Perikarya และ dendrites ของ interneurons รวมทั้ง motoneuron จะประกอบขึ้นเป็น gray matter ของสมองและไขสันหลัง ส่วน axons ของ interneurons รวมกับ myelin sheath จะประกอบขึ้นเป็น white matter ของ CNS

ลักษณะของ Motoneurons (efferent neurons)
Click for Big Picture
รูปที่ 10
        1. เป็น Multipolar (รูปที่ 10)
        2. Perikarya อยู่ใน gray matter ของ Brain stem หรือ spinal cord
        3. Efferent axons ออกจาก CNS ทาง ventral root ของ spinal nerve หรือ cranial nerve
        4. สัญญาณประสาทจาก motoneuron จะไปสู่ effector ได้ทั้งโดยตรงและโดยทางอ้อม เช่นจาก motoneurons ของ skeletal muscle จะไปโดยตรง แต่ถ้าจะไปสู่ smooth muscle ของต่อม หรือ cardiac muscle จะต้องผ่าน ganglion ใน PNS ก่อน

พฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกโดยผ่าน motoneuron สู่ effectors
        สัญญาณประสาทสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ได้  โดย
        1. ทำให้เกิดการหลั่งสารต่างๆ ของต่อม
        2. ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว ซึ่งจะมีผลให้ขนาดของรูเปิดต่างๆ เปลี่ยนแปลง ทำให้ขนาดของอวัยวะภายในเปลี่ยนแปลงไป กล้ามเนื้อแขนขาทำงานก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวได้


<HOME><Main Menu><Top of Page><Next><References><MD.CU.>