ภาพที่
11A Macrophage (Tissue histiocyte)
เป็นพวกเซลล์ที่กำเนิดมาจาก blood monocytes ต่อมาเมื่อเกิดมีสภาวะอันตรายต่อเนื้อเยื่อ
จึงเคลื่อนย้ายผ่านผนังหลอดเลือด เข้ามาอยู่ในเนื้อประสาน บริเวณนั้น การย้อมสี
H&E ไม่สามารถบ่งชี้เซลล์นี้ได้ ถ้าไม่มี particles ที่เก็บกินเข้าไว้ในตัวเซลล์
เมื่อให้เซลล์นี้เก็บกิน trypan blue dyes (ในภาพ) เข้าไว้ใน cytoplasm ผลทำให้เห็น
ingested dye ติดสีน้ำเงิน ที่มีขนาดไม่เท่ากัน บรรจุอยู่ใน cytoplasm ส่วนนิวเคลียส
(N) นั้น ติดสีชมพูจาง
หน้าที่
1. เก็บกินและทำลายเชื้อโรคขนาดเล็ก
2. เกี่ยวข้องกับขบวนการภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ภาพที่ 11B Kupffer's cell (Macrophage of liver, Ma), hc = hepatic
cell
พบบริเวณผนังของหลอดเลือดแดงฝอยในเนื้อตับ (hepatic or liver sinusoid, LS)
สังเกต ingested materials
ติดสีเข้ม ขังอยู่ภายใน cytoplasm ของเซลล์นั้น มีขนาดใหญ่-เล็กไม่เท่ากัน
และมีจำนวนมาก จนบดบังลักษณะโครงสร้างของนิวเคลียส
ภาพที่ 11C Dust cell (D, Alveolar macrophage)
พบในเนื้อปอด ภายใน cytoplasm ของเซลล์บรรจุ ingested material ขนาดไม่เท่ากัน
ส่วนใหญ่เป็น carbon particles ที่ปนมากับลมหายใจ ไม่สามารถบ่งชี้นิวเคลียสได้
ส่วนในกรอบเล็กคือ Osteoclast
(Ocl = Macrophage of Osseous tissue) เซลล์มีขนาดใหญ่ ภายในบรรจุนิวเคลียสหลายอัน
อาจเรียกว่า large multinucleated cells
หน้าที่
1. เกี่ยวกับการดูดซับกลับเนื้อกระดูกแข็ง (bone resorption)
2. เกี่ยวกับการทำให้เกิดความสมดุล ของเกลือแคลเซียมในกระแสเลือด โดยมีการตอบสนองของ
parathyroid hormone และ calcitonin ที่หลั่งมาจากต่อมพาราไทรอยด์ และไทรอยด์
ตามลำดับ
ภาพที่
11D Multinucleated cells
อยู่ในเนื้อปอดที่ติดเชื้อเรื้อรัง เช่น วัณโรคในเนื้อปอด พบ macrophage
ขนาดใหญ่ มีหลายนิวเคลียส (ลูกศรชี้) เช่นเดียวกับ osteoclast (ภาพบน) ถือกำเนิดมาจาก
blood monocyte เช่นกัน
หน้าที่ เก็บกินสารที่มีขนาดใหญ่ หรือกลุ่มแบคทีเรียที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวเซลล์์
|