การตรวจเต้านมโดยแพทย์

(clinical breast examination) 


แนะนำให้ผู้หญิงได้รับการตรวจเต้านมโดยแพทย์ทุกปี โดยเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 25 ปี

 
แพทย์ผู้ตรวจสังเกตสีผิว ขนาด รูปร่าง ตำแหน่งของเต้านมและหัวนม โดยให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าดังต่อไปนี้
 
  1. วางแขนทั้งสองข้างไว้ข้างลำตัว

  2. ยกแขนทั้งสองข้างให้สูงเหนือศีรษะ

  3. วางมือทั้งสองข้างที่สะโพก

  4. เอนลำตัวส่วนบนไปข้างหน้า

 

วางแขนทั้งสองข้างไว้ข้างลำตัว ยกแขนทั้งสองข้างให้สูงเหนือศีรษะ วางมือทั้งสองข้างที่สะโพก เอนลำตัวส่วนบนไปท้างข้างหน้า

 

  การตรวจต่อมน้ำเหลือง
 
  1. แพทย์ผู้ตรวจหันหน้าเข้าหาผู้ป่วย
  2. คลำต่อมน้ำเหลืองเหนือและใต้ไหปลาร้า
  3. ให้ผู้ป่วยทำตัวตามสบายเพื่อคลายกล้ามเนื้อ pectoral
  4. คลำต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้
  5. ต่อมน้ำเหลืองที่ผิดปรกติมักจะแข็ง (firm) และมีขนาดโตกว่า 0.5 เซนติเมตร

 

การคลำต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้

 

  การคลำเต้านม
 
  1. เริ่มต้นจากการตรวจผู้ป่วยในท่านอนหงายและนอนหนุนหมอนใต้สะบัก (scapulla) ข้างที่ตรวจด้วย
  2. วางแขนผู้ป่วยข้างเดียวกับเต้านมข้างที่ตรวจไว้เหนือศีรษะ
  3. แพทย์ผู้ตรวจใช้อุ้งนิ้วมือของนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางทั้งสองข้าง
  4. เทคนิคการคลำมีหลายแบบ แบบที่นิยมปฏิบัติจะเริ่มต้นคลำจากบริเวณหัวนมวนออกมาทั่วทั้งเต้านม
  5. บีบหัวนมเบา ๆ เพื่อดูของเหลวที่ไหลจากหัวนม ซึ่งปรกติต้องไม่พบ

 

จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงาย เริ่มต้นการคลำเต้านม

การคลำใช้อุ้งนิ้วมือสามนิ้ว

 

เทคนิคการคลำเต้านมแบบต่าง ๆ

 

ข้อควรระวัง
  1. ก่อนเริ่มการตรวจควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจขั้นตอนในการตรวจด้วย
  2. การตรวจเต้านมในผู้ป่วยที่ให้นมบุตร ให้ทำการตรวจหลังจากผู้ป่วยให้บุตรนมแล้วหรือใช้ปั๊มดูดนมออก เพื่อให้เต้านมนุ่มขึ้นสามารถทำการตรวจได้ง่าย
  3. การตรวจเต้านมในผู้ที่ฝังอุปกรณ์เสริมเต้านมให้ทำการตรวจเช่นเดียวกัน