แพทย์จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศ 'Franz Redeker Prize'
ประจำปี 1998

เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งว่า ผลงานวิจัยเรื่อง "Economic Impact of Tuberculosis at the Household Level" ของ ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย และ ผู้อำนวยการ ร่วมศูนย์ฝึกอบรม ระบาดวิทยา คลินิกนานาชาติ และ อจ.สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์  แห่งภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันฯ  คณะแพทยศาสตร์ ได้รับ ตัดสินให้ได้รับ รางวัลชนะเลิศ  'Franz Redeker Prize'   ประจำปี 1998 จากการประกวด ผลงานวิจัยทั่วโลก โดยมี การประกาศผล และมอบ รางวัลใน การประชุม "29th WORLD CONFERENCE OF INTERNATIONAL UNION AGAINST TB AND LUNG DISEASE GLOBAL CONGRESS ON LUNG HEALTH" ณ โรงแรมแชงกรี-ล่า เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่ผ่านมา
งานวิจัยชิ้นนี้ เป็นตัวอย่าง ของงานวิจัย ในลักษณะสหสถาบัน ประกอบด้วย กองวัณโรค  (นพ.วัลลภ ปายะนันทน์, คุณสุนันท์ ณ สงขลา, คุณศิรินภา วังมณี, คุณสุขสันต์ จิตติมณี) และ คณะสาธารณสุข  มหาวิทยาลัยมหิดล  (อ.สุคนธา คงศีล) โดยมี Dr.Holger Sawert แห่งองค์การอนามัยโลก เป็นที่ปรึกษา
จากการศึกษาคนไข้วัณโรค ที่มารับบริการ ในทุก ๆ ระดับทั้ง 4 ภาค ของประเทศ การศึกษานี้ ได้ตอกย้ำ ถึง ผลกระทบ ทางเศรษฐกิจ อย่างมหาศาล ต่อตัวคนไข้เอง  ต่อครอบครัว  ต่อครัวเรือน และต่อสังคมโดยรวม เมื่อมีสมาชิก ในครัวเรือน ป่วยด้วยวัณโรค ในครอบครัว ที่ยากจน ต้องสูญเสียค่าใช้จ่าย กว่า 15% ของรายได้ ครัวเรือน ในขณะที่ รายได้ลดลง ประมาณ 5% จากผล ของความเจ็บป่วย โดยค่าใช้จ่าย ดังกล่าว นำมาจาก เงินออม และ เงินที่สมาชิก ในครัวเรือน ส่งมาให้ และ ยังพบว่า 16% ต้องขาย สมบัติ ส่วนตัว เพื่อนำมาใช้ ในการรักษา
งานวิจัยนี้ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ โดย Prof. Dr. R. Dierkesmann ประธานมูลนิธิฯ ระหว่าง การมอบ รางวัล  ตอนหนึ่ง ว่า "This paper has been judged the most interesting of the submitted studies, with some real programme implications, as innovative and very well researched. " The authors recognize that most cost-effectiveness studies in tuberculosis control have examined the provider component. In contrast, the authors set out to investigate the direct and indirect costs to patients. Furthermore, they analyze in detail what financial changes occur before and during illness, and how the additional costs incurred are being met. The results are sobering. Patients pay for services that they are not supposed to pay for the poorest are often forced to take out loans or to sell property. The results are shocking indeed and the authors make several concrete and realistic proposals on how to alleviate some of the financial constraints to patients".
One reviewer regards this kind of research as the best science can offer. "It examines a neglected problem, it uses excellent data collection and analytical methods, it is an eye-opener not only to researchers, but to society at large, and it concludes with realistic proposals to approach this problem".
ภาพในพิธีรับรางวัลชนะเลิศ