รศ.นพ.จรัญ
มหาทุมะรัตน์ เป็นอาจารย์ศัลยแพทยตกแต่ง
หัวหน้าหน่วย ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เกิดเมื่อวันที่ 25 ม.ค.2492
ที่จังหวัดอยุธยา จบการศึกษาชั้นต้นจาก ร.ร.อยุธยาวิทยาลัย ชั้นมัธยมศึกษาตอบปลาย
จาก ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาพญาไท และแพทยศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ 23 จากคณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.2516 เคยไปปฏิบัติงานที่ รพ.สรรพสิทธิ์ประสงค์
อุบลราชธานี และฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้าน ที่ภาควิชาศัลยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการแพทย์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้
ความขำนาญ สาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป , อนุมัตรบัตร แสดงความรู้ความชำนาญสาขาศัลยศาสตร์ตกแต่งจากแพทยสภา
รศ.นพ.จรัญ
มหาทุมะรัตน์ เป็นอาจารย์ในหน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
ในปี พ.ศ.2526 ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ไปศึกษาต่อ ทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง
และศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ชนิดรุนแรง ที่ Australian Craniofacial Unit
, Adelaide , Australia และที่ Nassau County Medical Center
และ New York University Medical Center , New York U.S.A. ได้รับประกาศนียบัตรทางด้านศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ
(Craniofacial surgery)
ระหว่างที่ศึกษาฝึกอบรมอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย
ได้เสนอความคิดต่ออาจารย์ คือ Dr.DAVID J. DAVID ในการจัดแบ่ง Classification
โรคความพิการบนใบหน้าที่ผิดปกติมาแต่กำเนิด คือ โรค Hemifacial
(Craniofacial) Microsomia ซึ่งประกอบไปด้วยความพิการของใบหน้าส่วนกระดูก (Skeleton ), ใบหู (Auricle) และเนื้อเยื่อ (Soft Tissue) จัดเป็น S.A.T. Classification ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Plastic
Reconstructive Surgery ของสหรัฐอเมริกา ในเดือนตุลาคม 2530 คำว่า S.A.
นั้นยังหมายถึงรัฐ South Australia และ T
คือThailand อันหมายถึงความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ
หลังสำเร็จการศึกษา รศ.นพ.จรัญ ได้กลับมาจัดตั้งคณะทำงานแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ (Craniofacial Team) รพ.จุฬาลงกรณ์ ในปี พ.ศ.2529 ประกอบด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ประมาณ 12 สาขา นับเป็นคณะทำงานแก้ไขความพิการบนใบหน้าฯ ที่สมบูรณ์แบบเทียบเท่าอารยะประเทศเป็นคณะแรกในประเทศไทย ซึ่งได้ร่วมกันทำการรักษาผู้ป่วยที่มีความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ชนิดรุนแรง ไปแล้วกว่า1,000 ราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ร่วมกับ น.พ.ช่อเพียว เตโชฬาร ประสาทศัลยแพทย์ คิดค้นวิจัยการผ่าตัดรักษาโรคงวงช้างซึ่งพบชุกชุมในประเทศไทย วิธีใหม่ ที่มีประสิทธิผลและประหยัดค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า วิธีจุฬาเทคนิค วิธีการผ่าตัดนี้ได้เผยแพร่ไปในระดับประเทศและนานาชาติ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทั้งในต่างประเทศ โดยได้กล่าวถึงพระนามจุฬาลงกรณ์ อันเป็นที่มาของชื่อ จุฬาเทคนิค ให้ชาวโลกได้รับรู้ และนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วย จากผลงานนี้ซึ่งทำร่วมกับ อ.นพ.ช่อเพียว เตโชฬาร ทำให้ได้รับพระราชทานรางวัล ม.มหิดล บีบราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย ประจำปี พ.ศ.2542 เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้มักมีฐานะยากจน รศ.นพ.จรัญ จึงได้ริเริ่มก่อตั้งกองทุนวิจัยผู้ป่วยพิการบนใบหน้าฯ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ , กองทุนสงเคราะห์ผู้ป่วยพิการบนใบหน้าฯในมูลนิธิตึก สก.และ กองทุนศูนย์แก้ไขความพิการพิการบนใบหน้าฯ จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่องานวิจัย, สงเคราะห์ผู้ป่วยยากจนเหล่านั้น
รศ.นพ.จรัญ
ได้จัดตั้งศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าฯ จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ในวโรกาส
เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 4 รอบ และได้รับการอนุมัติซึ่งโครงการกำลังดำเนินการอยู่
นอกจากนี้ยังได้ช่วยเหลือสังคมร่วมกับสภากาชาดไทย โดยเป็นกรรมการและออกหน่วย
แพทย์เคลื่อนที่ไปให้บริการการผ่าตัดแก้ไขความพิการบนใบหน้าฯ ตามจังหวัดต่างๆ
และเป็นแพทย์อาสาในโครงการพอ.สว.อีกด้วย
รศ.นพ.จรัญ
เป็นผู้ทำชื่อเสียงให้กับประเทศไทย โดยได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร The international Society of
Craniofacial Sergery ในฐานะตัวแทนทวีปเอเซีย,เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการบริหารสมาคม
The Asian Pacific Craniofacial Association และเป็น Editorial
Board,The journal of Craniofacial Sergery U.S.A.
นอกจากนี้ยังเป็นประธาน,วิทยากรรับเชิญ ในการประชุมระดับนานาชาติอีกหลายครั้ง
รศ.นพ.จรัญ
ได้รับรางวัลอื่นๆ เช่น รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ดีเด่น จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย 2544, แพทย์ดีเด่น รพ.จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย 2542 ,
ศิษย์เก่าดีเด่นสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ พ.ศ.2542 และ พ.ศ.2545 ฯลฯ
ปัจจุบัน รศ.นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์
ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง,รองหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ฝ่ายบริหารจุฬาฯ
หัวหน้าศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าฯ จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย,ประธานชมรมคณาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯ และ นายกสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย
ฯลฯ