Scarlet fever
Sandpaper - like maculopapular rash at trunk
Strawberry tongue
Desquamation of sole at 2nd week
เกิดจากการติดเชื้อ group A streptococci type A เป็นส่วนใหญ่
แต่อาจพบ type B หรือ C ก็ได้ ทำให้เกิดคออักเสบ
แล้วตัวเชื้อปล่อยสาร erythrogenic toxin ทำให้เกิดอาการขึ้นในเด็ก
ส่วนใหญ่มักพบในผู้ป่วยที่มีอายุ
4-8 ปี
ผู้ป่วยจะมีไข้สูง เจ็บคอ tonsil อักเสบ ปวดเมื่อยตามตัว
ต่อมน้ำเหลืองโต มีผื่นขึ้น 12-48 ชั่วโมง หลังจากมีอาการไข้
และเจ็บคอ ผื่นเป็นลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ
สีแดง กดแล้วจางลง ลูบดูจะสากมือ (sandpaper
like) ผื่นเริ่มที่คอ หน้า ลำตัวส่วนบน แล้วกระจายไปทั่วตัวในเวลา
2-3 วัน แต่จะไม่มีผื่นที่ฝ่ามือ และฝ่าเท้า
หน้าจะแดง แต่รอบปากจะซีด (circumoral pallor)
ผื่นหนาแน่น บริเวณข้อพับ เช่น ที่รักแร้ ข้อพับแขน
ข้อพับขา บางครั้งเห็นเป็น petechiae เรียงเป็นเส้น
เรียกว่า Pastias lines ใน 2-3 วันแรก ทอนซิลจะแดง ลิ้นจะขาว
แต่ tongue papillae จะแดง เรียก white strawberry tongue ในวันที่
4-5 ฝ้าขาวที่ลิ้นหายไป เห็นลิ้นแดงมาก
และ tongue papillae เป็นตุ่มนูนแดง เรียกว่า red strawberry
tongue และมักมีจุด petechiae ที่เพดานอ่อนด้วย
ในวันที่ 4-5 นี้ ผื่นที่ลำตัวจะจางลง ในสัปดาห์ที่
2 ผิวหนังจะเริ่มลอก เป็นแผ่นบางๆ โดยเริ่มลอกที่หน้า
ลำตัว แขนขาก่อน ส่วนมือและเท้าจะลอกหลังสุดในสัปดาห์ที่
2-3 อาจเห็นเป็นแผ่น 2 เดือนต่อมา จะพบ Beaus line
ซึ่งเป็นร่องที่เล็บ และมีอาการผมร่วงแบบ
telogen effluvium ได้ด้วย
การวินิจฉัยแยกโรค
1. Staphylococcal scarlet fever
Desquamation of hand and trunk on the first week
มักเกิดจากติดเชื้อแผลผ่าตัดหรือการติดเชื้อที่ผิวหนัง ผื่นลักษณะคล้ายกับ
scarlet fever จากเชื้อ GABHS แต่ไม่พบ strawberry tongue และจะลอกเร็วกว่า
คือ ลอกในวันที่ 2-5 หลังจากมีผื่น
ลักษณะของ Scarlet fever จากเชื้อ GABHS และ S. aureus
ลักษณะทางคลินิก |
Scarlet fever |
Streptococcal infection |
Staphylococcal infection |
Scarlatiniform rash |
+ |
+ |
Pastia's line |
+ |
+ |
Strawberry tonque |
+ |
- |
Desquamation |
2-3 อาทิตย์ |
2-5 วัน |
Toxin |
erythrogenic types A,B,C |
exfoliatin from phage group II |
2. Staphylococcal toxic shock syndrome
การวินิจฉัย TSS อาศัยหลักเกณฑ์ของ Centers for disease control, Atlanta,
Georgia ดังนี้คือ
ก. ไข้สูงมากกว่าหรือเท่ากับ 38.9 องศาเซลเซียส
ข. ผื่นแบบ diffuse erythroderma และมักจะมีการลอกของผื่น 1-2 สัปดาห์
หลังจากเริ่มมีอาการ
ค. ความดันโลหิตต่ำ (ความดันเลือด systolic น้อยกว่า 90 มม. ปรอท ในผู้ใหญ่หรือน้อยกว่า
5 เปอร์เซ็นไทล์ ในเด็กอายุน้อยกว่า 16 ปี มี orthostatic hypotension)
ง. มีความผิดปกติของระบบอวัยวะต่อไปนี้มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ระบบ
- ระบบทางเดินอาหาร มีอาการอาเจียน หรือท้องร่วง
- ระบบกล้ามเนื้อ มีอาการปวด เจ็บกล้ามเนื้อ หรือ creatinine phosphokinase
ขึ้นสูงกว่าค่าปกติ 2 เท่า ในกระแสเลือด
- ระบบเยื่อบุต่างๆ เช่น ชองคลอด ช่องปาก ตาขาว มีอาการอักเสบแดง
- ระบบไต มี blood urea nitrogen หรือ creatinine ในกระแสเลือดสูงกว่าค่าปกติ
2 เท่า หรือมีเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะมากกว่า
5 cells ต่อ high power field โดยที่ไม่มีการติดเชื้อของระบบนี้
- ตับ มี total bilirubin, SGOT หรือ SGPT ในกระแสเลือดสูงกว่าค่าปกติ 2 เท่า
- ระบบเลือด มีจำนวนเกร็ดเลือดน้อยกว่า 100,000/ลบ.มม.
- ระบบประสาทส่วนกลางมี encephalopathy หรือมีการเปลี่ยนแปลงของระดับการรับรู้ความรู้สึก
โดยตรวจไม่พบว่ามี focal neurological signs, ไม่มีอาการไข้และความดันเลือดต่ำในขณะนั้น
จ. ผลการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการต่อไปนี้
- เพาะเชื้อจากกระแสเลือด pharynx หรือน้ำไขสันหลัง อาจจะให้ผลบวกหรือลบก็ได้
- Serologic test สำหรับ Rocky mountain spotted fever, leptospirosis โรคหัดให้ผล
3. Staphylococcal scalded skin
syndrome
4. Kawasaki disease
bilateral coujuctival chemosis
erythema and edma of both feet in the first week
Desquamation of hand on the second week, usualy begins at the tips
of fingers
ผู้ป่วยมักมีไข้สูงมากกว่า 5 วัน ผื่นอาจเป็นได้หลายแบบ
แต่ไม่เป็นตุ่มน้ำ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าลอกใน 1-2
สัปดาห์ ที่เยื่อบุจะแดง ลิ้นเป็น strawberry tongue
แต่จะพบว่ามีเยื่อบุตาแดงทั้ง
2 ข้าง โดยไม่เป็นหนอง ต่อมน้ำเหลืองข้างคอโตเพียงข้างเดียว
ขนาดมากกว่า 1.5 ซม. และมีเกร็ดเลือดสูงในสัปดาห์ที่
2
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1. การตรวจ CBC พบ WBC สูงประมาณ 12,000-16,000 เซลล์ ต่อ ลบ.มม. ส่วนใหญ่เป็น
PMN
2. การเพาะเชื้อที่บริเวณต่อมทอนซิลพบเชื้อ GABHS
3. เจาะหา ASO, anti DNA-ase B สูง
ภาวะแทรกซ้อน
1. ในระยะแรก อาจพบต่อมทอนซิลเป็นหนอง หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ
ปอดบวม หรือภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต ซึ่งพบน้อยมาก
2. ในระยะหลัง อาจพบไข้รูมาติค หรือ ไตอักเสบได้
การรักษา
1. ให้ยาปฏิชีวนะ Penicillin ถ้าแพ้ให้เป็น erythromycin
2. การรักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ ถ้าผู้ป่วยกินได้น้อยดูแลเรื่องสารน้ำและอิเลคโทรลัยต์
|| BACK
|| TOP || NEXT
|| การติดเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อย ||
HOME || MD.CU.CAI
||