ประวัติ
 
                   ประวัติของผู้ป่วยสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวินิจฉัยแยกโรคดังนี้

                   1. ประวัติของมารดาในการได้รับยาหรือป่วยเป็นโรคบางชนิดในระหว่างการตั้งครรถ์ เช่น
                        - มารดาเป็นโรคเบาหวาน  คิดถึงโรค TGA, hypertrophic cardiomyopathy
                        - มารดาเป็นโรค SLE คิดถึงโรค complete heart block
                        - มารดามีการติดเชื้อหัดเยอรมันในระหว่างการตั้งครรถ์ คิดถึงโรค PPS, PDA
                        - มารดาดื่มเหล้า คิดถึงโรค VSD
                        - มารดาได้รับยา Hydantoin คิดถึงโรค PS
                        - มารดาได้รับยา Lithium คิดถึงโรค Ebstein anomaly of tricuspid valve
                   2. ประวัติการคลอด เช่น
                        - ทารกที่คลอดก่อนกำหนด คิดถึงโรค PDA
                        - ทารกมีประวัติสำลักน้ำคร่ำ คิดถึงโรค persistent pulmonary hypertension
                   3. อายุที่เริ่มมีอาการทางคลินิก เช่นอาการเขียวหรือภาวะหัวใจหัวใจล้มเหลว ระยะเวลาของการ ที่เริ่มเกิดอาการเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของโลหิต ภายหลังคลอด ได้แก่มีการปิดของ foramen ovale และ ductus arteriosus ร่วมกับมีความต้านทานของหลอดเลือดในปอดลดลง
                        3.1 ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) ถ้าเกิดขึ้นภายหลังคลอด l-3 วันคิดถึง myocardial
                              dysfunction, TI, PI แต่ถ้ามีอาการในอายุ 2-3 เดือนคิดถึง large VSD, PDA,COAT, EFE
                        3.2 อาการเขียว ถ้าเกิดภายหลังคลอด 1-3 วันคิดถึง TGA แต่ถ้าเกิดใน 3-14 วันคิดถึง TA, PA, severe TOF,
                              pulmonary atresia with VSD
                   4. อาการอื่นๆเช่น อาการเขียวที่เป็นมากขึ้นเวลาร้อง (PS,TOF) อาการ hypoxic spell (TOF), มีอาการปวดขาเวลา
ออกกำลังกาย (COAT) หรือ มีอาการเจ็บหน้าอกหรือเหนื่อยง่าย เป็นลมเวลาออกกำลังกาย (AS,PS)
 

Home Page I Menu I บทนำ I คำย่อที่ใช้  I แนวทางการวินิจฉัย I หลักการวินิจฉัยแยกโรค I ตัวอย่างผู้ป่วย I บรรณานุกรม