แนวทางการดูแลรักษา
การใช้ยาทา (topical therapy)
การใช้ยาแบบ systemic therapy
การรักษาโดยวิธีอื่นๆ
1. การใช้ยาทา (topical therapy) ได้แก่
สารที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง
(Emollient) โดยการทาโลชั่น ออย์ vaseline urea cream ร่วมกับการทำ wet dressing หรือ occlusion
ยาคอติโคสเตอรอย์ชนิดทา
ซึ่งสามารถช่วยลดการอักเสบและอาการคันได้ อย่างไรก็ดี เนื่องจากโรคโรคภูมิแพ้ชนิด Atopic dermatitis เป็นโรคที่เรื้อรังและมักเป็นบริเวณกว้าง ควรเลือกใช้ชนิดของยาคอติโคสเตอรอย์ชนิดทาให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงอายุของผู้ป่วย ความกว้างของบริเวณที่เกิดผื่น ความรุนแรงของโรค และบริเวณที่เกิดผื่น เลือกความแรงของยาที่พอเหมาะ โดยใช้ความแรงที่น้อยที่สุดที่สามารถควบคุมโรคได้ และหยุดใช้เมื่อสามารถควบคุมโรคได้ ขณะเดียวกันควรเฝ้าระวังผลข้างเคียงจากการใช้ยา พบว่าผลข้างเคียงของการใช้ยาคอติโคสเตอรอย์ชนิดทา มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความแรงของยาและระยะเวลาที่ใช้ยา
ยาทากลุ่ม Immunomodulators
Tacrolimus(FK506) เป็น calcineurin inhibitor ยับยั้ง T lymphocyte, Langerhans cell, mast cell และ keratinocyte ยาผลิตมาในรูปของ ointment มีความเข้มข้นอยุ่ระหว่าง 0.03%-0.1% จัดเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคและมีความปลอดภัยสูง สามารถใช้ได้ทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ ผลข้างเคียงเล็กน้อยคืออาจรู้สึกแสบร้อนเวลาทายา อาจเกิด flushing เมื่อผู้ป่วยรับประทานแอลกอฮอล์ จึงเป็นยาที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาเพื่อลดการใช้ยาคอติโคสเตรอย์ได้
Pimecrolimus เป็น calcineurin inhibitor ยับยั้งการหลั่ง cytokines และ mediators ของ mast cell และ basophil ยาผลิตมาในรูปของครีม มีความเข้มข้น 1% ทาวันละ 2 ครั้ง ไม่พบผลข้างเคียงในการใช้ยา เป็นยาที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาเพื่อลดการใช้ยาคอติโคสเตรอย์ได้ อย่างไรก็ดียามีราคาแพงมาก
ยาปฏิชีวนะชนิดทา
ได้แก่ Mupirocin ซึ่งสามารฆ่าเชื้อ S. aureus ได้ดี สามารถนำมาใช้ในกรณีที่ผื่นมีลักษณะคล้ายมีการติดเชื้อร่วมด้วย
Coal tar
ช่วยลดอาการคันและการอักเสบ ทำให้สามารถลดความแรงและระยะเวลาของคอติโคสเตอรอย์ได้ สำหรับผลข้างเคียงของยาที่พบได้คือ ยาอาจระคายเคืองผิวหนังหรือทำให้เกิดต่อมขนอักเสบ(folliculitis) อาจทำให้ผู้ป่วยไวแสงมากขึ้น
ยาทา Doxepin
เป็น tricyclic antidepressant และ H
1
, H
2
histamine receptor blocking agant ช่วยลดอาการคันได้ หากทายาเป็นบริเวณกว้างอาจเกิดผลข้างเคียงคือง่วงซึมได้
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย