สิ่งที่ควรรู้ในการแปลผลปฏิกริยาน้ำเหลืองสำหรับโรคติดเชื้อ

สำหรับปฏิกริยาน้ำเหลืองที่ตรวจหาแอนติบอดีนั้น มีข้อควรรู้ดังนี้
1. ชนิดของแอนติบอดี
2. ประเภทของการติดเชื้อ
ีประเภทของการติดเชื้อ
ในทีนี้ขอใช้การติดเชื้อไวรัสเป็นแบบจำลอง แบ่งออกเป็น
1. การติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือผู้ป่วยไม่เคยติดเชื้อไวรัสดังกล่าวมาก่อน ในกรณีนี้ ร่างกายมักจะสร้างแอนติบอดีทั้งชนิด IgM และ IgG โดยระดับของแอนติบอดีที่สร้าง มักจะไม่มากเท่าในกรณีการติดเชื้อซ้ำ เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ร่างกายได้สัมผัสกับแอนติเจนของ จุลชีพดังกล่าว
2. การติดเชื้อซ้ำ (reinfection) คือเคยได้รับจุลชีพชนิดนั้นและภูมิคุ้มกันของร่างกายกำจัดเชื้อได้แล้ว แต่ภูมิคุ้มกันที่มีไม่เพียงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อซ้ำ เช่น หัดเยอรมัน (rubella) ดังกล่าวแล้วข้างต้น หรือ โรคสุกใส (chickenpox) ซึ่งปกติแล้วมักจะไม่เป็นซ้ำอีก แต่พบว่าเป็นซ้ำได้ในผู้ป่วยบางราย (พบน้อยมาก) เป็นต้น การติดเชื้อซ้ำ โดยทั่วไปจะทำให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีชนิด IgG ขึ้นเร็วและในระดับสูง เมื่อเทียบกับการติดเชื้อครั้งแรก ส่วนแอนติบอดีชนิด IgM จะพบในระดับที่ต่ำกว่า แต่ยังสามารถตรวจพบได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้การทดสอบที่ไวพอ

3. การติดเชื้อระยะยาวหรือถาวร (persistent infection) คือเมื่อติดเชื้อไวรัสดังกล่าวแล้ว ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อออกได้ ไวรัสจะแฝงตัวอยู่ในเซลล์บางอย่างของผู้ป่วยไปตลอด ในกรณีนี้ ไวรัสบางชนิดอาจทำให้เกิดการดำเนินของโรคไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆ เช่น ไวรัสเอดส์ ค่อยๆ ทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือไวรัสตับอักเสบบีหรือไวรัสตับอักเสบซี อาจทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรังในผู้ป่วยบางราย จนสุดท้ายแล้วบางรายอาจเกิดโรคตับแข็ง (cirrhosis) และบางรายเกิดมะเร็งในตับ (hepatocellular carcinoma) ส่วนไวรัสบางตัว มักจะแฝงตัวอยู่เฉยๆ ไม่แสดงอาการทางคลินิกที่ชัดเจน ในประชากรส่วนใหญ่ แต่ในผู้ที่ติดเชื้อบางราย (ซึ่งพบได้น้อยมาก) อาจเกิดอาการทางคลินิกจากการติดเชื้อหรือจากการกำเริบ (reactivation) ของเชื้อที่ซ่อนอยู่ได้เป็นครั้งคราว เช่น ไวรัสในกลุ่มเฮอร์ปีส์หลายตัว (เช่น Herpes simplex, Varicella zoster virus, Epstein-Barr virus, Human herpes virus 6) เป็นต้น ซึ่งสำหรับไวรัสกลุ่มนี้ การตรวจหาแอนติบอดีในช่วงเวลาต่างๆ อาจพบระดับของ IgM และ IgG สูงขึ้นและต่ำลงเป็นช่วงๆ ได้ ซึ่งอาจเป็นหรือไม่เป็นสาเหตุโดยตรงกับความเจ็บป่วยในขณะนั้น จึงอาจก่อให้เกิดความ สับสนในการวินิจฉัยโรคได้ หากไม่เข้าใจข้อเท็จจริงดังกล่าว

การแปลผลการตรวจปฏิกริยาน้ำเหลือง จึงต้องอาศัยความรู้พื้นฐานดังกล่าวมาประกอบ ดังจะกล่าวในรายละเอียด สำหรับไวรัสที่สำคัญ ที่อยู่ในความสนใจของแพทย์ 3 ชนิด ได้แก่ ไวรัสเอดส์ ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี