ระบบการไหลเวียนโลหิตของผิวหนัง (Cutaneous
vasculature)
ได้แก่ ระบบหลอดเลือด
(Cutaneous blood vessels) และระบบน้ำเหลือง (Lymphatic vessels)
1.ระบบไหลเวียนหลอดเลือด (Cutaneous
blood vessels) ผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมาก
เพื่อนำอาหารมาหล่อเลี้ยง, เป็นระบบที่ควบคุมความร้อนของร่างกาย
(Ther-moregulation) ควบคุมความดันในร่างกาย
(Blood pressure) การหายของแผลที่ผิวหนัง
(wound repair) และเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน (immune
system) ผิวหนัง
 |
เริ่มต้นจากเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่ (Artery) ที่อยู่ในชั้น Hypodermis
แตกแขนงขึ้นมาในชั้น deep reticular dermis
ซึ่งจะประกอบเป็น Horizontal plexus จาก Horizontal plexus นี้ก็จะมีเส้นเลือดแตกแขนงวิ่งขึ้นบน
(Vertical)
ไปสู่ชั้น epidermis
เรียกว่า Ascending arterioles เส้นเลือด Ascending arterioles
เหล่านี้ก็จะเชื่อมต่อกันเป็น vascular arcades โดยตรงบริเวณรอย
ต่อระหว่าง reticular dermis กับ papillary
dermis เส้นเลือดจะประกอบเป็น Subpapillary plexus จาก plexus
นี้จะมีเส้นเลือดเล็กๆ แตกแขนงไปประกอบ
เป็น capillary loops ใน dermal papillae (Dermal
ridges) โดยเส้นเลือดที่วิ่ง
ขึ้นไปใน dermal papillae จะเป็นเส้นเลือดแดง (ascending
capillary loops)
ส่วนเส้นเลือดที่วิ่งลงมาจะเป็น
Descending venous capillary loops เป็น
เส้นเลือดดำที่นำเลือดที่มีออกซิเจนต่ำกลับลงมาไปเทเข้า
Descending venules ตรงรอยต่อระหว่าง reticulum dermis กับ papillary
dermis แล้วนำเลือดไปเท
เข้าเส้นเลือดดำใหญ่ Vein ในชั้น Hypodermis
เพื่อนำเลือดกลับสู่หัวใจต่อไป |
บางตำแหน่งของร่างกายจะมีการติดต่อระหว่างเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำโดยตรง
(Arteriovenous communication) เช่น บริเวณ palms and soles นั้น
เรียกว่า Glomus ซึ่งจะอยู่ใกล้ชิดกับเส้นประสาท ซึ่ง Glomus นี้มีส่วนสำคัญในการควบคุม
การไหลเวียนเลือดในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
(Themore- gulation)
2. ระบบไหลเวียนน้ำเหลือง
(Cutaneous lymphatic vessels) ระบบน้ำเหลืองของผิวหนังมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการ
ควบคุมความดันของของเหลวที่อยู่นอกเซลล์
(Interstitial fluid) โดยจะดูดกลับ (Resorption) พวกของเหลว เซลล์
โปรตีน
ไขมัน เชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น
ที่รั่วไหลออกมาจากเส้นเลือด กลับเข้ามาอยู่ในหลอดน้ำเหลือง เป็นการทำความสะอาดบริเวณ
ที่อยู่นอกเซลล์ (interstitial tissues) ให้กับร่างกาย
การไหลเวียนของน้ำเหลืองจะขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวอวัยวะ
และการหดตัวของกล้ามเนื้อของร่างกาย ผนังหลอดน้ำเหลือง
จะบาง มีลิ้น (Valves) เพื่อป้องกันการไหลกลับและการคั่งค้าง
(Stasis) ของของเหลว
การไหลเวียนของน้ำเหลืองในชั้น
dermis จะไหลเวียนตามวงจรของกระแสเลือด (cutaneous blood circulation) แต่จะ
พบมากและหนาแน่นในส่วนบนของ reticular dermis |