ชนิดและลักษณะโครงสร้างของข้อต่อ (Types and microscopic features of joints)
กระดูกแข็ง 2 ท่อนเชื่อมต่อกันด้วยข้อต่อ (joints) หรือ articulations เพื่อทำให้แท่งกระดูกแข็งงอและเคลื่อนที่ได้ แบ่งกลุ่มการทำงานของข้อต่อออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
ภาพที่ 12
1. Synovial joints (รูปที่ 12) ได้แก่ diarthroses เช่น temporomandibular และ knee joints เป็นข้อต่อที่เคลื่อนได้อย่างอิสระปลายแต่ละข้างของกระดูกแข็ง คลุมด้วย articular surfaces และทั้งหมดเชื่อมหรือหุ้มด้วย fibrous (articular) capsule และแผ่นเอ็น (ligaments) โดย articular surfaces หล่อลื่นด้วย synovial fluid ผิวด้านในของ capsule เป็น synovial membrane ส่วน articular surfaces เป็น hyaline cartilage
joint capsule มี 2 ชั้น ชั้นนอกเป็นเนื้อประสานที่หนาบรรจุหลอดเลือด-น้ำเหลือง และเส้นประสาท ชั้นในเป็น synovial membrane ซึ่งประกอบด้วย 1-3 ชั้นของ synovial cells ซึ่งมี 2 ชนิด คือ (1) Type A macrophage like synovial cells (2) Type B fibroblast like-synovial cells ไม่มี basal lamina รองรับ หลอดเลือดใน synovial membrane เป็นชนิด fenestrated capillaries มีจำนวนมาก ส่วน synovial fluid ผลิตมาจาก synovial cells และ ultrafilltrate ของหลอดเลือดแดงฝอย ของเหลวดังกล่าวมีองค์ประกอบของ hyaluronic acid, glycoproteins และ leukocytes จำนวนมาก
2. Non-synovial joints เป็นข้อต่อที่จำกัดการเคลื่อน ไม่มี free articular surface แต่มีเนื้อประสานชนิดหนาแทนที่ อาจแบ่งออกเป็น 3 ชนิด
2.1 Dense fibrous tissue พบสร้างเป็น sutures ทีกะโหลกศีรษะมีความสำคัญเพราะช่วยปั้นรูปร่างของกะโหลกศีรษะเด็กอ่อนให้ผ่านออกทางช่องคลอดได้ง่าย เรียกข้อต่อชนิดนี้ว่า Syndesmoses (fibrous tissue joint) เมื่ออายุมากขึ้นเนื้อประสานถูกแทนที่ด้วยกระดูกแข็ง เรียกชื่อใหม่ว่า Synostoses
2.2 Hyaline cartilage ข้อต่อชนิดนี้เรียกว่า Synchondrosis หรือ primary cartilagenous joint พบตรงที่กระดูกซี่โครงคู่ที่ 1 ต่อกับกระดูกอ่อน sternum และพบแห่งเดียว
2.3 Fibrocartilage มีกระดูกบางชนิดที่ปลายทั้ง 2 ของกระดูกแข็งคลุมด้วย fibrocartilage และเชื่อมกันโดยไม่มี synovial space กระดูกข้อต่อแบบนี้เรียกว่า symphysis หรือ secondary cartilagenous joints พบใน pubic symphysis และที่ intervertebral discs
Rheumatoid arthritis เป็นโรคของข้อต่อที่มีการอักเสบเรื้อรัง ลักษณะทางพยาธิสภาพคือเริ่มจากการเพิ่มความหนาของ synovial membrane ตามด้วยการเพิ่มขนาดของ synovial lining cells และเพิ่มจำนวนของ synovial villi มี T และ B cells และ plasma cells แทรกกระจายอยู่ในเนื้อประสานของ synovial membrane ใน synovial fluid มี T cells และ macrophages ผลทำให้เกิดการกัดกร่อนของ articular cartilage และทำลายเลยเข้ามาถึงเนื้อกระดูกแข็ง
 
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย