มีผู้ป่วยจำนวนน้อยมาก
(< 5%) ที่ตรวจพบไข่พยาธิเข็มหมุดในอุจจาระ
การวินิจฉัยที่ได้ผล คือการตรวจพบไข่ (และพยาธิตัวเมียในบางครั้ง)
จากบริเวณรอบๆ ทวารหนัก ซึ่งทำได้โดยใช้เทปกาวใสที่เรียกว่า
วิธี cellophane tape impression หรือ Scotch
tape technique
ซึ่งหลักการคือ
ใช้เทปกาวใส (scotch tape) แปะติดกับรอบๆ บริเวณทวารหนัก
แล้วนำไปติดบนแผ่นสไลด์ ในการตรวจหาไข่ด้วยกล้องจุลทรรศน์ต่อไป
อาจใช้ Toluol หรือ iodine in xylol หยดดู เพื่อทำให้ใสชัดขึ้น
โดยทั่วไปการทำ cellophane tape impression หรือ Scotch tape technique
นี้ จะได้ผลดีถ้าทำในเวลาเช้าก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้าห้องน้ำ
ดังนั้นเพื่อความสะดวก จึงควรแนะนำให้ผู้ป่วย
หรือผู้ปกครองเด็กที่เป็นโรครู้จักวิธีทำที่บ้าน
เพื่อนำมาตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป นอกจากนี้
อาจใช้วิธี cotton wool swab มาตรวจได้เช่นกัน เป็นที่น่าสังเกตว่าเด็กกว่า
1 ใน 3 ที่เป็นโรคพยาธิเข็มหมุด จะตรวจพบไข่ได้จากขี้เล็บ
โอกาสที่จะตรวจพบไข่จากการตรวจครั้งเดียว
มีเพียง 50% ในขณะที่การตรวจติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้ผลพบถึง
90% การตรวจจึงควรทำซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง เนื่องจากพยาธิไม่ได้วางไข่ทุกวัน
แนะนำให้ตรวจซ้ำเป็นเวลา 7 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าโรคหายขาด |