พยาธิเข็มหมุด เป็นหนอนพยาธิที่พบได้ทั่วโลก
และมีแพร่กระจายมากกว่าหนอนพยาธิชนิดอื่นๆ
เนื่องจากเป็นพยาธิที่อยู่ใกล้ชิดกับคนและสิ่งแวดล้อมในแหล่งที่อยู่อาศัย
ประมาณว่าประชากรทั่วโลกกว่า 200 ล้านคน ที่มีโรคพยาธิเข็มหมุด
จะพบได้มากในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นในเขตอบอุ่น
(temperate area) มากกว่าเขตร้อน (tropical area) โดยที่อุบัติการแตกต่างกันตั้งแต่
3% ถึง 80% ชาวเอสกิโมมีอัตราติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดถึง
66% ในขณะที่ชาวบราซิลมีอัตราพบพยาธิเข็มหมุด
60% และในเมืองวอชิงตัน ดี ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา
มีผู้ติดโรค 12-14% แม้ว่าโรคพยาธิเข็มหมุดจะพบมากในผู้มีรายได้น้อย
แต่สามารถพบได้ในผู้ที่มีฐานะดีได้เช่นกัน
ห้องนอนเป็นที่ซึ่งตรวจพบไข่พยาธิเข็มหมุดมากที่สุด
สำหรับประเทศไทย พบได้ในทุกภาคของประเทศ
โดยมีอัตราความชุกเฉลี่ย 0.27% (พ.ศ.2534) อย่างไรก็ตาม
เนื่องจากผลที่ได้เป็นการตรวจจากอุจจาระซึ่งมีโอกาสพบไข่พยาธิน้อย
ดังนั้นค่าความชุกดังกล่าวอาจน้อยกว่าความเป็นจริง
ในบ้านของผู้ที่เป็นโรคพยาธิเข็มหมุด
จะพบไข่ติดตามผ้าปูที่นอน
ผ้าเช็ดหน้า เฟอร์นิเจอร์ และฝุ่นตามส่วนต่างๆ
ของบ้าน ในอากาศที่มีความชื้น
30% ถึง 54% และอุณหภูมิ 20-24.5 องศาเซลเซียส จะพบว่าไข่ที่สามารถอยู่รอดได้ถึง
2 วัน มีน้อยกว่า 10% ในที่อากาศแห้ง และอุณหภูมิที่สูงกว่า
25 องศาเซลเซียส ไข่จะถูกทำลายภายใน 24 ชั่วโมง
ในขณะที่ในฤดูร้อนซึ่งอุณหภูมิสูง 36-37
องศาเซลเซียส มีความชื้น 38% ถึง 41% ไข่ที่จะอยู่รอดได้ถึง
3 ชั่วโมง มีน้อยกว่า 10% ไข่พยาธิเข็มหมุดที่กระจายอยู่ในบ้าน
มีโอกาสติดสู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้อย่างง่ายมาก
ดังนั้นโรคพยาธิเข็มหมุดจึงเป็นโรคของครอบครัวก็ว่าได้
ไม่ว่าจะได้รับไข่โดยตรง จากการปนเปื้อนมากับมือ
(hand-to-mouth) หรือสูดหายใจ (inhalation) เข้าไป หรือไข่ที่ปนเปื้อนมากับอาหารและเครื่องดื่ม
ทำให้อุบัติการของโรคนี้ยังคงสูงทั่วโลก
โดยเฉพาะที่ๆ ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างแออัด เช่น สถานเลี้ยง |