|
ในสหรัฐอเมริกามะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้ชายและเป็นโรคมะเร็งในเพศชายที่มีอัตราการตายเป็นอันดับที่สอง
(33) ในปี ค.ศ.
1995
พบผู้ป่วยใหม่จำนวน
244,000 ราย
และเสียชีวิตจำนวน 40,400
ราย
อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีข้อแนะนำในการตรวจคัดกรองหามะเร็งต่อมลูกหมากเนื่องมาจากยังมีข้อถกเถียงสองประการคือ
ประการแรกยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่าการตรวจคัดกรองมีประโยชน์โดยเฉพาะในการลดอัตราการตาย
(34)
และประการที่สองทำให้มีการเพิ่มอุบัติการณ์ของโรคเนื่องมาจากตรวจพบในรายที่ไม่มีอาการและยังไม่ทราบว่าจะมีประโยชน์คุ้มค่าจากการตรวจหรือไม่
(35,36) |
|
|
|
|
 |
ภาพตัดขวางของต่อมลูกหมากแสดงก้อนมะเร็งต่อมลูกหมาก
|
|
|
|
|
การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากมี
3 วิธีหลักคือ |
1. |
การตรวจด้วยนิ้วมือ
(Digital rectal examination หรือ DRE)
ซึ่งเป็นวิธีการตรวจดั้งเดิมและแพร่หลาย
การตรวจด้วยนิ้วมือซึ่งเป็นวิธีการตรวจดั้งเดิมและแพร่หลายมีความไวร้อยละ
33 ถึง 69
มีความจำเพาะร้อยละ 49
ถึง 97
ผู้ป่วยที่มีผลบวกต่อการตรวจด้วย
DRE 3 รายจะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเพียง
1 ราย (37-41) |
2. |
การตรวจซีรั่มหาระดับ
Prostate-specific antigen (PSA)
ได้รับความสนใจตั้งแต่ปี
ค.ศ. 1980
เนื่องมาจากสามารถตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากตั้งแต่ระยะแรกและสามารถใช้ติดตามผลหลังจากการผ่าตัดต่อมลูกหมาก
(42,43)
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ยังไม่มีการแพร่กระจาย
1 ใน 3
รายก็สามารถตรวจพบระดับ
PSA
เป็นปกติได้และในเนื้องอกของต่อมลูกหมากที่ไม่ใช่มะเร็งเช่น
BPH ก็พบว่ามีระดับ PSA
สูงได้บ่อยครั้ง (37-48)
แพทย์บางท่านแนะนำให้ใช้หลายๆ
วิธีร่วมกันเพื่อสามารถวินิจฉัยได้ดีขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการใช้ระดับ
PSA ร่วมกับอายุด้วย |
3. |
การตรวจด้วยอุลตร้าซาวด์ผ่านทางทวารหนัก
(Transrectal ultrasonography หรือ TRUS)
สามารถตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากขนาดเล็กที่ไม่สามารถคลำได้
มีความไวร้อยละ 41 ถึง
79
ขึ้นกับความสามารถของผู้ตรวจ
แต่พบว่าการทำ biopsy
การใช้ TRUS
มีความแม่นยำกว่าการใช้นิ้วมือ
(37) |
|
|
|
 |
 |
ภาพอุลตร้าซาวด์ผ่านทางทวารหนักแสดงก้อนมะเร็งในต่อมลูกหมาก
|
|
|
|
|
|
Gerber
และคณะศึกษาการตรวจคัดกรองด้วยวิธี
DRE
แต่ก็ไม่พบว่าสามารถลดอัตราการการตายหรือการแพร่กระจายของมะเร็งต่อมลูกหมากได้
(49)
ส่วนการตรวจด้วย PSA
หรือ TRUS
ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะบอกถึงอัตราการมีชีวิตรอดของผู้ป่วยได้
(35)
ประโยชน์จากการตรวจคัดกรองหามะเร็งต่อมลูกหมากนั้นในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบว่าจะมีประโยชน์จริงหรือไม่
คงต้องรอการศึกษาซึ่งกำลังดำเนินงานอยู่รวมสองการศึกษาแต่ก็คงต้องใช้เวลาอีกประมาณ10
ปีจึงจะสรุปผลได้ |
|
|
|
แนวทางการตรวจคัดกรองหามะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่มี
เนื่องจากแต่ละสถาบันมีวิธีการตรวจแตกต่างกันไปเช่น
สถาบันมะเร็งแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาไม่แนะนำให้ตรวจหา
PSA ในประชากรทั่วไป (1)
แต่สมาคมโรคมะเร็งของสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ตรวจ
DRE ร่วมกับ PSA ทุกปีในผู้ชายที่อายุตั้งแต่
50
ปีหรืออาจเร็วกว่านั้นในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเช่น
คนที่มีเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกัน
หรือผู้ที่ประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
(51)
แต่ข้อแนะนำดังกล่าวก็ขาดข้อมูลสนับสนุนในอัตราการรอดชีวิตและอัตราการตาย
รวมทั้งประโยชน์ที่ได้จะคุ้มค่าหรือไม่
(35,36,52,53) |