|
ในสหรัฐอเมริกามะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญเป็นอันดับที่สองของมะเร็งทั้งหมดในเพศชายและหญิง (34) ในปี ค.ศ. 1995 มีผู้ป่วยใหม่จำนวน 138,200 รายและเสียชีวิต 55,300 ราย (20) ธรรมชาติของโรคมะเร็งชนิดนี้ผู้ป่วยมักจะมีชีวิตอยู่ค่อนข้างนาน ปัจจัยเสี่ยงของโรคได้แก่การมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้ (54-57) |
![]() |
![]() |
ภาพแสดงตำแหน่งของลำไส้ใหญ่ (colon) | มะเร็งลำไส้ใหญ่บริเวณส่วน ascending |
ภาพแสดงก้อนมะเร็งในลำไส้ใหญ่ |
การตรวจคัดกรองมีด้วยกัน 2 วิธีคือ | |
1. | การตรวจ fecal occult blood test มีความไวร้อยละ 22 - 92 ความจำเพาะร้อยละ 90 - 99 positive predictive value ร้อยละ 2.2 ถึง 50 ความไวสูงถ้าก้อน polyp มีขนาดเกินกว่า 1 ซม. มีการศึกษาเปรียบเทียบในผู้ป่วยจำนวนมากหลายการศึกษาพบว่าการตรวจคัดกรองหามะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มแรก (Dukes' A และ B) มีความไวแตกต่างกันมากตั้งแต่ร้อยละ 22 ถึง 92 แต่ค่อนข้างมีความจำเพาะสูง (ร้อยละ 90 ถึง 99) ดังตารางที่ 2 เนื่องจากมีความไวต่ำจึงเป็นข้อจำกัดของการตรวจ fecal occult blood test ทำให้มีผลในการลดอัตราการตายจากการตรวจคัดกรองไม่มากเท่าที่ควร ในปี ค.ศ.1995 Toribara และ Sleisenger (59) สรุปว่าในขณะที่ยังไม่มีการทดสอบใดที่มีความไวกว่าการตรวจ fecal occult blood นั้นการใช้การตรวจชนิดนี้เพื่อหามะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะเริ่มแรกขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ |
ตารางที่ 2 แสดงการศึกษาการตรวจกรองหามะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ที่ไม่มีอาการโดยการตรวจ Fecal occult blood (3) |
2. | การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (flexible sigmoidoscopy) ถ้าเปรียบเทียบกับการตรวจอุจจาระแล้วการตรวจวิธีนี้ให้ผลการตรวจที่มีความไวและความจำเพาะสูงกว่า (59) มีการศึกษาย้อนหลังพบว่าการตรวจวิธีนี้ให้ผลในการลดอัตราการตายลงได้ร้อยละ 60 - 80 (60-62) Newcomb และคณะ (63) ทบทวนข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่จำนวน 66 ราย และกลุ่มควบคุม 196 รายจาก Greater Marshfield Health Plan พบว่าอัตราตายจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายลดลงจากการตรวจด้วยการส่องกล้องเพียงครั้งเดียว โดยมี odd ratio 0.21 (95%CI 0.08 - 0.52) และจากการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังของ Kaiser-Permanente Medical Care Program (63) พบว่าการตรวจคัดกรองด้วยวิธีนี้ลดอัตราการตายลงร้อยละ 60 โดยมี odd ratio 0.41 (95%CI 0.25 - 0.69) |
ภาพแสดงรอยโรคในลำไส้ใหญ่ที่พบจากการส่องกล้องตรวจ |
|||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลำไส้ใหญ่ปกติ | มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด adenocarcinoma ในลำไส้ใหญ่ | ||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
polyp ลักษณะต่าง ๆ ในลำไส้ใหญ่ |
โดยสรุปการตรวจคัดกรองหามะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายแนะนำให้ตรวจ fecal occult blood ปีละครั้งและตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลายด้วยการส่องกล้องทุก 3 - 5 ปี มีผู้แนะนำ (64) ให้ทำการตรวจตั้งแต่อายุ 50 - 75 ปี |