การอักเสบของลูกอัณฑะ
(Inflammation in Testes and epididymis)
เรียบเรียงโดย สรรเพชญ เบญจวงศ์กุลชัย พบ.
  1. Introduction
  2. Granulomatous (Autoimmune) Orchitis
  3. Spermatic granuloma
  4. โรคหนองใน (Gonorrhea)
  5. ลูกอัณฑะอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสคางทู (Mumps orchitis)
  6. ลูกอัณฑะอักเสบ จาก การติดเชื้อวัณโรค (Tuberculous orchitis and epididymitis)
  7. ลูกอัณฑะอักเสบจากการติดโรคซิฟิลิส (Syphilitic orchitis)
  8. Chronic vaginaliti (Chronic proliferative periorchitis, pseudofibromatous periorchitis)

Introduction (คำนำ)
    ลูกอัณฑะอักเสบ ในทางการแพทย์ เรียกว่า  orchitis (ออไคติส) และ การอักเสบ ของอวัยวะ เอพิดิไดมิส (epididymis)  เรียกว่า เอพิดิไดไมติส (epididymitis) แบ่งการอักเสบ ของลูกอัณฑะ ออกเป็น 2 ชนิด     การอักเสบ ของลูกอัณฑะ ส่วนมาก เป็นผลตาม มาจากการอักเสบ ของอวัยวะ เอพิดิไดมิส ก่อน แล้วจึง ลามมาสู่ ลูกอัณฑะ การอักเสบ ของอวัยวะ ทั้งสองส่วนนี้ มักเกิดร่วมกับ การอักเสบ ของทางเดินปัสสวะ เช่น   กะเพาะปัสสวะอักเสบ  ท่อปัสสวะอักเสบ  หรือ การอักเสบของ ต่อมลูกหมาก  เป็นต้น  โดยผ่านทาง ท่อนำน้ำเชื้อ (vas deferens) หรือ หลอดน้ำเหลือง บริเวณ ท่ออสุจิ (spermatic  cord) การอักเสบ ของลูกอัณฑะ มักพบใน ผู้ใหญ่ พบน้อย ในเด็ก ถ้าพบ ในเด็ก มักพบร่วมกับ ความผิดปกติ แต่กำเนิดของ อวัยวะสืบพันธุ์ และ ระบบขับถ่าย สาเหตุส่วนใหญ่ เกิดจาก การติดเชื้อบักเตรี  เช่น  ในเด็ก มักพบเป็น ชนิด  gram-negative  bacilli  ในผู้ใหญ่ ถ้าเป็น ในวัยเจริญพันธุ์ มักเกิดจาก เชื้อ  Chlamydia  trachomatis และ Neisseria gonorrhoeae ถ้าเป็น ในผู้สูงอายุ มักเป็นชนิด  E.coli  และ  Pseudomonas spp. นอกจากนี้ อาจเกิด เป็นผลตามจาก โรคติดเชื้อ ในร่างกายบางชนิด  เช่น  โรคคางทูม โรคฝีดาษ โรคติดเชื้อ ปาราสิต ชนิด filariasis เป็นต้น
    พยาธิสภาพ พบว่า ลูกอัณฑะ มีลักษณะ บวมโต  หลอดเลือด ที่อวัยวะ และ บริเวณใกล้เคียง ขยายใหญ่ และมี เลือดคั่ง             เซลล์อักเสบ จำพวก neutrophils, macrophages และ lymphocytes พบกระจัดกระจาย ทั่วไป และ แทรกเข้าไป ตาม เนื้อเยื่อ ของอวัยวะ เอพิดิไดมิส  และ ลามเข้าไป ในเนื้อเยื่อของ ลูกอัณฑะ    โดยเฉพาะเข้าไปใน หลอดสร้างอสุจิ (seminiferous tubules)    ทำให้บริเวณ ระหว่างเนื้อเยื่อของ ลูกอัณฑะ เกิดบวมน้ำ  ในบางกรณี การอักเสบรุนแรง ทำให้เกิดเป็น หนองฝี ในบริเวณ บางแห่งของ ลูกอัณฑะ ทำให้เนื้อเยื่อ ลูกอัณฑะ รวมทั้ง หลอดสร้างอสุจิ ถูกทำลาย และ มีจำนวนลดลง การอักเสบ ถ้าเป็นนาน และ เรื้อรัง จะเกิดเป็น เยื่อ  fibrous หรือ hyaline แทรกอยู่ ระหว่าง หลอดสร้างอสุจิ   ขัดขวาง การสร้างตัวอสุจิ และ การนำ เชื้ออสุจิ ออกสู่ภายนอก ผู้ป่วยเป็น หมันได้

Granulomatous (Autoimmune) Orchitis
    สาเหตุการเกิด  granulomatous orchitis ชนิด nonspecific ยังไม่ทราบแน่ชัด   ส่วนมาก เกิดกับ ชายวัย กลางคน  และ มีประวัติ การบอบช้ำ มาก่อน  พยาธิสภาพ โดยทั่วไป พบว่า ลูกอัณฑะ มีขนาดโต กว่าปกติ สีขาวเทา หรือ สีน้ำตาล พบลักษณะ การอักเสบ แบบ    granulomatous   อยู่ระหว่าง หลอดสร้างอสุจิ  บริเวณอักเสบ พบกลุ่มเซลล์ หลายชนิด  เช่น  epitheloid cells,  plasma  cells, lymphocytes, multinucleated giant cells,   และ polymorphonuclear cells และ ยังพบว่า ผนังของ หลอดสร้างอสุจิ หนาขึ้น   ประกอบ ด้วย เยื่อไฟบรัส และ เซลล์อักเสบ กระจายทั่วไป บริเวณระหว่าง หลอดสร้างอสุจิ

Spermatic granuloma เกิดจาก เชื้ออสุจิ หลุดรอด ออกจาก ท่อนำน้ำเชื้อ เข้าไปใน เนื้อเยื่อ stroma   บริเวณ เอพิดิไดมิส  ทำให้เนื้อเยื้อ บริเวณดังกล่าวเกิด การอักเสบ แบบ  granulomatous มีลักษณะ เป็นก้อน tubercle สีเหลืองปนขาว ขนาด เล็ก  ประมาณ 0.5 ถึง 2.5 เซนติเมตร ภายใน granuloma พบเชื้ออสุจ ิพร้อมกับ เซลล์อักเสบ และ epitheloid cells สาเหตุ อาจเกิดจาก ท่อนำน้ำเชื้อ แตกจาก ความบอบช้ำ  หรือ ปลายท่อ ที่ผูกไว้ จากการ ทำหมันชาย หลุด ปล่อย เชื้ออสุจิ กระจายออกไป Specific inflammations

  1. Spermatic granuloma, testis, low power, microscopy
  2. Spermatic granuloma, testis, high power, microscopy

โรคหนองใน (Gonorrhea)
    การอักเสบ ใดๆที่เกิดกับ บริเวณ  posterior  urethra อาจนำไปสู่ การอักเสบ ของ ต่อมลูกหมาก  รวมถึง seminal vesicles และ ลามสู่ เอพิดิไดมิส ได้  เช่นเชื้อ Neisseria gonorrhoeae ทำให้เกิด การอักเสบ ในบริเวณดังกล่าว พร้อมกับ เกิดเป็นหย่อม หนองฝี ใน เอพิดิไดมิส  ถ้าหาก ไม่ได้รับ การรักษา ที่ถูกต้อง   เชื้ออาจลามไปถึง ลูกอัณฑะ  ทำให้เกิด การติดเชื้อใน ลูกอัณฑะ และ เกิดเป็น หนองฝีได้

ลูกอัณฑะอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสคางทู (Mumps orchitis)
    การอักเสบ ของลูกอัณฑะ เนื่องจาก การติดเชื้อไวรัสคางทูม พร้อมกับ ต่อมน้ำลายอักเสบ นั้น  พบร่วมประมาณ ร้อยละ  20 ถึง 30 ส่วนมาก เกิดกับ ผู้ ใหญ่   พยาธิสภาพทั่วไป พบว่า ลูกอัณฑะ โตกว่าปกติ  และ พบหย่อมเลือดออก บริเวณ tunica  albuginea ในระยะแรก ของการอักเสบพบว่า ลูกอัณฑะ มีการบวมทั่วไป  ต่อมา พบเซลล์อักเสบ ชนิดเฉียบพลัน กระจัดกระจาย อยู่ตาม เนื้อเยื่อระหว่าง หลอดสร้างอสุจิ  หลอดสร้างอสุจิ ส่วนใหญ่ ขยายใหญ่  พร้อมกับพบ เซลล์อักเสบ เหล่านี้ ขังอยู่ภายใน           เซลล์อักเสบ ประกอบด้วย เซลล์ neutrophils,  lymphocytes,  histiocytes.  ไม่ค่อยพบ หย่อมเนื้อตาย ในบริเวณ หลอดสร้างอสุจิ   ในรายที่มี การอักเสบรุนแรง   พบเพียง การเสื่อมของเซลล์    germinal   และ เซลล์สร้างอสุจิ เท่านั้น   หรือ อาจพบ การสร้างเซลล์อสุจิ น้อยลง  ในกรณี ที่เกิด การอักเสบนาน  พบว่า เซลล์อักเสบ ส่วนใหญ่เป็น เซลล์  lymphocytes  จำนวน หลอดสร้างอสุจิ ลดลง  และผนัง หลอดสร้างอสุจิ หนา พร้อมกับมี เยื่อเกี่ยวพัน เพิ่มมากขึ้น   ทำให้ ลูกอัณฑะ มีขนาด เล็กลง เกิด การฝ่อ ของหลอดสร้างอสุจิ อาจถึงกับ ทำให้ผู้ป่วย เป็นหมันได้

ลูกอัณฑะอักเสบ จาก การติดเชื้อวัณโรค (Tuberculous orchitis and epididymitis) วัณโรค ของ ลูกอัณฑะ  และของ เอพิดิไดมิส  มักจะพบร่วมกัน  และเกิด ข้างใดข้างหนึ่ง  ผู้ป่วยส่วมมาก มีประวัติเป็น วัณโรคที่ปอด หรือที่ ระบบทางเดินปัสสวะ มาก่อน พยาธิสภาพ พบเป็นก้อน สีเหลืองขาว ขนาดเล็ก กระจายทั่วไป บริเวณ เอพิดิไดมิส  หรือลูกอัณฑะ หน้าตัด ทึบ มีสีเหลืองปนขาว เหมือน เนย การอักเสบเป็นแบบ  caseating  granulomatous เหมือนวัณโรค ที่พบบริเวณอื่น ถ้าย้อมด้วยสี acid fast พบเชื้อ Mycobacterium tuberculosis

  1. Tuberculous orchitis, gross
  2. Tuberculous orchitis, low magnification, microscopy
  3. Tuberculous orchitis, medium magnification, microscopy
  4. Tuberculous orchitis involving epididymis, low magnification, microscopy

ลูกอัณฑะอักเสบจากการติดโรคซิฟิลิส (Syphilitic orchitis)
    ผู้ที่เป็น โรคซิฟิลิส   มักจะพบ พยาธิสภาพ ของโรคซิฟิลิส ในลูกอัณฑะ ของผู้ป่วยด้วยเสมอ พยาธิสภาพ อาจเป็น แบบการอักเสบ ทั่วไป พร้อมเยื่อไฟบรัส กระจายทั่วไป ในลูกอัณฑะ หรือ พบเป็น ก้อนกัมม่า (gummas) ก้อนเดียว หรือ หลายก้อนก็ได้  ลูกอัณฑะ ที่เป็น โรคซิฟิลิส มีขนาดโต กว่าปกติ โดยมากแข็ง กลม หน้าตัดทึบ มีสีขาวเทา ปนเหลือง  ในรายที่ เป็น กัมม่า มีลักษณะเหลือง ขาวนูน ออกจากเนื้อเยื่อ รอบข้าง  กัมม่ามีลักษณะเป็น เนื้อตาย ตรงกลางก้อน และ ล้อมรอบด้วย เยื่อไฟบรัส   เซลล์พลาสม่า (plasma   cell) และ   multinucleated giant cells ถ้าย้อมพิเศษ (Levaditi หรือ Warthin Starry stain)  จะพบเชื้อ  spirochetes  ในบริเวณ กัมม่าได้ สำหรับ ในรายที่ เป็นเรื้อรัง ขนาดของลูกอัณฑะ มักเล็กลง  พยาธิสภาพ โดยทั่วไป พบเป็น เยื่อไฟบรัส ส่วนใหญ่ หลอดสร้าง เชื้ออสุจิ มักฝ่อ    ผนังหลอด หนา เป็นสีแดงชมพู  นอกจากนี้ พบว่า interstitial cells มีจำนวน มากขึ้น

Chronic vaginaliti (Chronic proliferative periorchitis, pseudofibromatous periorchitis) ลูกอัณฑะ แข็งเป็น ตุ่มก้อน  ส่วนมาก เกิดบริเวณ  tunica vaginalis และ พบว่า ก้อนเหล่านี้ เกิดจาก การเพิ่มจำนวน ของเยื่อไฟบรัส   สาเหตุ การอักเสบชนิดนี้ ยังไม่เป็นที่ทราบ แน่ชัด  มักเกิดกับ ผู้ป่วย อายุระหว่าง 20 ถึง 40 ปี พยาธิสภาพ ทั่วไปพบว่า บริเวณ  tunica  vaginalis หนาขึ้น พบก้อน กลมมี ขนาดต่างๆกัน  เส้นผ่า ศูนย์กลาง ระหว่าง  1  มิลลิเมตร ถึง 2 เซนติเมตร กระจาย ไปทั่ว ทั้งบริเวณ  tunica vaginalis และ epididymis  ที่หน้าตัด ลูกอัณฑะ พบก้อน เหล่านี้ กระจายทั่วไป  มีขอบเขตชัดเจน  สีขาว ทึบ บางก้อนแข็ง เนื่องจาก มี หินปูนพอก ภาพจาก กล้องจุลทรรศน์ พบว่า ประกอบด้วย กลุ่มเซลล์ ที่มีขนาด ยาว   ส่วนมากเป็น ไฟบรัส และ  คอลเลเก้น (collagen)  เซลล์เหล่านี้ ประสานกัน เป็นฟ่อน หรือ  เป็นวงๆ  อาจพบ เซลล์อักเสบ ในก้อนเหล่านี้ได้บ้าง แต่ส่วนใหญ่ ที่พบเป็น เซลล์ lymphocytes และ เซลล์พลาสม่า