โรคพยาธิแส้ม้า
(Trichuriasis, Trichocephaliasis )

เป็นโรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลมชนิด Trichuris trichiura (whip worm หรือพยาธิแส้ม้า) ตัวแก่อาศัยอยู่ที่ตอนปลายลำไส้เล็กส่วน ileum และลำไส้ใหญ่บริเวณ cecum และ colon โรค trichuriasis พบได้ทั่วไปโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อน และมีระดับสาธารณสุขต่ำกว่ามาตรฐาน หรือในประชากรที่มีระดับการครองชีพต่ำและขาดการโภชนาการที่ดี ถือเป็นพยาธิตัวกลมในลำไส้ที่พบได้มากเป็นอันดับสองรองจาก พยาธิปากขอ(40.56%)

สำหรับประเทศไทยพยาธิแส้ม้าเป็นพยาธิที่พบได้ทั่วไป อัตราการติดพยาธิแส้ม้าโดยเฉลี่ยทั่วประเทศคิดเป็นร้อยละ 6.46 พบมากที่สุดทางภาคใต้โดยมีอัตราการติดพยาธิแส้ม้าร้อยละ 32.5 เมี่อเทียบกับภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 4.46, 0.12 และ0.01 ตามลำดับ

การติดต่อ-โดยทานไข่ระยะฟักตัวเข้าสู่ทางเดินอาหาร ในลำไส้เล็กตัวอ่อนออกจากไข่ เจริญเติบโตเป็นตัวเแก่ เพศผู้และเพศเมีย โดยส่วนปลาย (anterior end) ฝังตัวอยู่ที่เยื่อบุผนังลำไส้พร้อมกับดูดเลือดจากผนังลำไส้เป็นอาหาร ทำให้พบเห็นเป็นกระจุกของพยาธิสีขาวตัวเล็กเป็นจำนวนมาก พบบริเวณตอนปลายลำไส้เล็กส่วน ileum และลำไส้ใหญ่ส่วน cecum

อาการทางคลีนิค ส่วนมากไม่มีอาการ แต่ถ้าตัวแก่มีมากเกินไป (โดยเฉลี่ย 400 ตัวขึ้นไป) จะทำให้มีอาการท้องร่วง และปอดท้องอย่างแรง อาการท้องร่วงอาจรุนแรงทำให้ถ่ายเป็นมูกเลือดได้ (bloody diarrhea) นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ป่วยซีด คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ถ้าเป็นกับเด็ก จะมีอาการซีด ท้องร่วงเรื้อรัง เกิดทุกขโภชนา(malnutrition) มี clubbing และส่วนมากมี rectal prolapse ถ้ามีตัวแก่มากเกินไปทำให้เกิดอาการลำไส้อุดตัน หรือช่องท้องอักเสบในกรณีเกิดไชทะลุผนังลำไส้ ในรายที่เป็นนานและมีตัวแก่จำนวนมาก อาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางชนิด iron-deficiency anemia ผู้ป่วนที่ติดเชื้อพยาธิแส้ม้ามีโอกาสที่จะติดเชื้อปาราสิตอื่นๆได้ เช่น พยาธิไส้เดือน และเชื้ออะมิบาเป็นต้น

พยาธิสภาพ ลำไส้มีสีคล้ำจากเลือดคั่ง และมีการบวมที่เยื่อบุผิว บางครั้งอาจพบแผลที่ผนังลำไส้ได้ พยาธิสภาพจากกล้องจุลทรรศน์พบว่า crypts ของเยื่อบุผนังลำไส้ ขยายออกมีการขับเมือกออกมามากกว่าปกติและมี fibrin พร้อมกับเซลล์อักเสบชนิด neutrophils บางครั้งพบเลือดออกในชั้น submucosa การอับเสบมักจะไม่ลามไปเกินกว่าชั้น muscularis mucosa อาจพบตัวแก่ที่ยังไม่เจริญเต็มที่ฝังอยู่ในเยื่อบุผนังลำไส้ ในรายที่เกิดอาการรุนแรงและตาย พบจำนวนพยาธิแส้ม้าในลำไส้โดยเฉลี่ยประมาณ 400 ตัวต่อคน ตัวแก่ของพยาธิชนิดนี้อาจพบได้ในรูของไส้ติ่ง ทำให้เกิดไส้ติ่งอักเสบ (appendicitis) ได้

การวินิจฉัย โดยการตรวจพบไข่พยาธิในอุจจระ หรือพบตัวแก่จากชิ้นเนื้อทางพยาธิ