Toxoplasmosis
Congenital toxoplasmosis
  • Acute toxoplasmosis
    1. Toxoplasma lymphadenitis
    2. Toxoplasma encephalitis
  • Chronic toxoplasmosis
  •  เชื้อปาราสิต ของโรคนี้ คือ Toxoplasma gondii (คำว่า Toxo หมายถึง โค้ง หรือ งอแบบคันศร) ปกติมี อยู่ใน ธรรมชาติ พบได้ ทั่วไป ในโลก มักพบ ในสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนม โดยเฉพาะ สัตว์เลี้ยง ตามบ้าน เช่น สุนัช แมว หนู หมู ไก่ เป็ด และคน รวมทั้ง ในสัตว์จำพวก นก Toxoplasma gondii จัดเป็น เชื้อปาราสิต ในกลุ่ม coccidia มีรูปร่าง ได้ 3 แบบ ได้แก่ trophozoite, tissue cyst และoocyst สำหรับ oocyst พบได้ใน อุจจระ ของสัตว์ ที่เป็น definitive host ได้แก่ แมว หนู เป็นต้น ระยะ oocyst ปะปน อยู่ตาม น้ำ และ พื้นดินที่ ชื้นแฉะ สำหรับใน คน พบแต่ ระยะ trophozoite และcyst เท่านั้น

    การติดต่อ: สัตว์จำพวก แมว เชื้อ toxoplasma ระยะ trophozoite อาศัย และ เจริญเติบโต อยู่ใน เยื่อบุผนัง ลำไส้เล็ก ภายใน เนื้อเยื่อ เหล่านี้มี การขยายพันธุ์ โดยวิธี ไม่อาศัยเพศ เป็น schizonte และ วิธี อาศัยเพศ เป็น gametocyte จนได้ ระยะ oocyst ซึ่งจะ ถูกปล่อย ออกมา ปะปน กับ อุจจระของ สัตว์จำพวก แมว (ขนาด และ รูปร่าง ระยะ oocyst ของ toxoplasma gondii แยกยากจาก oocyst ของ Isospora belli) โรคนี้ ติดต่อ เข้าสู่ คน ได้ โดยคน ทานเนื้อสัตว์ ที่เป็น โรคนี้ ดิบๆ สุกๆ (ระยะ cyst) หรือทาน oocyst ที่ปะปน ในอุจจระ ของสัตว์ นอกจากนี้ ยังติดต่อ ผ่านทาง เลือด เช่น จากการติดเชื้อ ในห้องปฎิบัติการ โดยบังเอิญ รวมทั้ง ติดจากการ ปลูกถ่าย อวัยวะ แม่ ที่มี เชื้อนี้ใน เลือด สามารถถ่าย ผ่านรก ไปสู่ เด็กใน ครรภ์ได้
     

    ในร่างกาย คน เชื้อ toxoplasma มีชีวิต 2 ระยะ ระยะ tachyzoites (รวมถึง แบบ trophozoites ด้วย) เชื้อ ระยะ นี้ มีการ แบ่งตัว อย่างรวดเร็ว ภายในเซลล์ ร่างกายคน ทำให้ได้ เชื้อเป็น จำนวนมาก ไปรวมกัน อยู่บริเวณ vacuole ของเซลล์ เรียก การอยู่เป็น กลุ่ม นี้ว่า group เมื่อ group แตก จะเข้าสู่ เซลล์อื่นๆ เช่นนี้ เรื่อยไป สำหรับระยะ bradyzoites นั้น เชื้อ มีการแบ่งตัว ช้าลง และ มีการ สะสมสาร ที่ติดสี PAS และ ล้อมรอบ ด้วยเยื่อที่ เป็น argyrophilic ทำให้ เกิดเป็น cyst ระยะนี้ อยู่ใน ร่างกาย นานเป็นปี โดยเฉพาะ ในรายที่ ติดเชื้อ เรื้อรัง พบ cyst ได้ตาม เนื้อเยื่อของ อวัยวะต่างๆ เช่น สมอง และ กล้ามเนื้อชนิดต่างๆ เป็นต้น การเปลี่ยนรูปจาก group มาเป็น cyst นี้ จะค่อยเป็น ค่อยไป ทั้งนี้ ชึ้นกับ ภาวะของ ภูมิต้านทาน ในร่างกาย เมื่อ cyst แตก จะปลดปล่อย เชื้อ ทำให้เกิด การอักเสบ ในเนื่อเยื่อ คน ติดเชื้อ นี้ได้โดย ไม่แสดงอาการ มีเป็น จำนวนมาก แต่เป็น โรคนี้น้อย ในประเทศไทย จากการสำรวจ ปฎิกิริยาภูมิต้านทาน ต่อโรคนี้ (พ.ศ.2532) พบว่ามีอุบัติการ ค่อนข้างสูง ทั้งในเด็ก และ ผู้ใหญ่ โดยเฉพาะ ในชนบท สูงกว่า ในเมือง เมื่อเป็น มักจะมี อาการ รุนแรง และ ยาก ต่อการรักษา

     
    สำหรับ ในประเทศไทย  ปีพ.ศ.2502 ได้พยายาม ตรวจหา การติดเชื้อ นี้โดย การตรวจหา ปฎิกิริยาภูมิต้านทาน ต่อเชื้อ ด้วยวิธี toxoplasmin skin test ในผู้ใหญ่ และ เด็กนักเรียน ปัญญาอ่อน แต่ได้ผล ในทางลบ และในปี พ.ศ. 2506 ใน สมองแมว ก็ตรวจ ไม่พบ เช่นกัน แต่อย่างไร ก็ตาม ผู้รายงาน เชื่อว่า ต้องมี การติดเชื้อ นี้ใน สัตว์และ ประชากร ในประเทศ อย่างแน่นอน ในปีพ.ศ.2508 ได้มีรายงาน การตรวจพบ เชื้อนี้ใน หนู ที่จับได้ จากเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา นับว่าเป็น รายงานแรก ที่พิสูจน์ว่า มีเชื้อนี้ ในไทย ต่อมา ได้มีรายงาน การตรวจพบ ปฎิกิริยาภูมิต้านทาน ต่อเชื้อนี้ ในประชากรไทย โดยไม่พบ อาการของโรค แต่อย่างไร ก็ตาม ไม่ค่อยมี รายงาน ผู้ป่วย โรคนี้ในไทย อาจเป็น เพราะว่า ยากต่อ การวินิจฉัย จนปีพ.ศ.2523 ได้มีรายงาน การตรวจ พบผู้ป่วยไทย 3 รายพร้อม การวินิจฉัย ด้วยปฎิกิริยา ทางน้ำเหลือง และพบ ตัวเชื้อจาก กล้องจุลทรรศน์ ธรรมดา และกล้องจุลทรรศน์ อิเล็คตรอน

    อาการทางคลีนิคและพยาธิสภาพ: toxoplasmosis ในคน ขึ้นกับอายุ และภาวะภูมิคุ้มกัน ในร่างกาย ขณะนั้น โดยทั่วไป แบ่งตาม ระยะเวลา ของโรค จึงแบ่งโรคนี้ ออกเป็น กลุ่มใหญ่ ได้ดังนี้

    1. ชนิดเป็นมาแต่กำเนิด (congenital toxoplasmosis)

    2. ชนิดเป็นหลังเกิด (acquired toxoplasmosis) แบ่งออกเป็น
     

    Congenital toxoplasmosis เกิดกับเด็กทารก เชื้อผ่านจากรกเข้าสู่เส้นเลือดดำสายสะดือ (umbilical vein) ไปที่ตับก่อน จากนั้นเชื้อกระจายไปตามหลอดเลือดและท่อน้ำเหลืองเพื่อไปติดตามอวัยวะต่างๆ เช่น ทำให้เกิดปอดอักเสบ(pneumonia) หัวใจอักเสบ(myocarditis) เซลล์ของเนื้อเยื่อเหล่านี้ถูกทำลายโดยเชื้อ toxoplasma เด็กส่วนมากมีไข้ ชัก และตัวเหลือง(jaundice) อาการตัวเหลืองอาจเกิดจากตับอักเสบ(hepatitis) หรือเม็ดเลือดแดงแตก(hemolysis) พยาธิสภาพที่พบส่วนมากเกิดกับสมอง พบมี hydrocephalus มีหย่อมของเนื้อตาย (necrosis) ในสมอง โดยเฉพาะแถว periventricular area บริเวณเหล่านี้มี microglia เพิ่มขึ้นพร้อมกับมี lymphocytes และ mononuclear cells นอกจากนั้นยังพบการพอกของสารแคลเซี่ยมได้ และยังพบการอักเสบที่ลูกตาทั้ง2 ข้างเป็นแบบ chorioretinitis เด็กที่พบความผิดปกติของตา พร้อมกับมีหินปูนในสมองจากภาพรังสี ต้องคำนึงถึงโรคนี้ไว้

    Acute toxoplasmosis ผู้ป่วย มาด้วยเรื่อง ไข้ ไม่ทราบ สาเหตุ โดยมากมี ต่อมน้ำเหลือง โต และอวัยวะต่างๆ มักติด เชื้อนี้ ได้ เช่น หัวใจ ปอด ตับ และระบบประสาท และสมอง เป็นต้น ชนิดเฉียบพลัน นี้มีการ แพร่กระจาย ของเชื้อ ไปตาม ร่างกาย อย่างรวดเร็ว

    Toxoplasma lymphadenitis ผู้ป่วย  มีไข้ ต่อมน้ำเหลือง โต โดยเฉพาะ บริเวณที่ คอ และ หลังหู และ พบว่า ต่อมน้ำเหลือง มีจำนวน follicle เพิ่ม มากขึ้น พร้อมกับ ลักษณะ ของ sinus histiocytosis โดยมี epitheloid histiocytes เข้ามาอยู่รอบๆ follicle เป็นจำนวนมาก ตัวเชื้อ มักไม่ค่อยพบ

    Toxoplasma encephalitis ในสมอง พบหย่อม การตกเลือด และการตาย ของเนื้อสมอง นอกจากนี้ ยังพบ thrombosis ในเส้นเลือด พร้อมกับ ตรวจพบเชื้อ trophozoites ที่บริเวณนี้ ชิ้นเนื้อ ที่ได้ยัง สามารนนำไป ตรวจเพิ่มเติม ด้วยวิธี immunoperoxidase และ immunofluorescence สำหรับผู้ป่วย ที่มี ภูมิคุ้มกัน ปกพร่อง เช่น โรคเอดส์ (AIDS) มีอุบัติการ การเกิดโรค นี้ค่อนข้างสูง ประมาณ 12 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วย มีอาการ ทางประสาท และสมอง และ มีพยาธิสภาพ ของการอักเสบ และเป็น ฝีหนองใน สมอง
     

    นอกจากนี้ ยังทำให้ เกิดโรค interstitial pneumonitis, myocarditis, chorioretinitis และ hepatitis ได้ และ ในบางครั้ง พบอาการ แสดงออกทาง ผิวหนัง ร่วมด้วย พยาธิสภาพ ที่เกิดกับ ผิวหนัง พบน้อย และไม่ค่อย แสดงลักษณะ ทางพยาธิสภาพ ที่แน่นอน ประกอบด้วย ตุ่มนูนแดง หรือ เป็นตุ่มใส และอาจ ขุ่นเป็น หนอง พบแถว ใบหน้า และ แขนขา

    Chronic toxoplasmosis ชนิดเรื้อรัง ผู้ป่วย  เหล่านี้ จะไม่มี อาการ ของโรค แต่อย่างไร แต่ตรวจพบ โดยตรวจทาง ภูมิคุ้มกัน เช่นพบใน มารดาที่ตั้งครรภ์ อาจมี หรือไม่มี ผลทำให้ เกิดความผิดปกติ ต่อ เด็กในครรภ์ ผู้ป่วย ที่เป็นโรคนี้ จะพบ ระยะ cyst ตามเนื้อเยื่อต่างๆ  เช่น สมอง และ หัวใจ

    การวินิจฉัย นอกจากการ ตรวจพบ เชื้อ toxoplasma gondii ในชิ้นเนื้อ ทางพยาธิแล้ว การตรวจหา ปฎิกิริยา ภูมิต้านทาน ต่อเชื้อ เป็นที่นิยม ในปัจจุบัน เช่น วิธี indirect haemagglutination test, Sabin-Feldman dye test, indirect immunofluorescent antibody technic, complement fixation, enzyme-linked immunosorbent assay เป็นต้น ใน ผู้ป่วย ตั้งครรภ์ แพทย์มัก แนะนำ ให้ทำการตรวจ หาปฎิกิริยา ภูมิต้านทาน ต่อเชื้อ โดยทั่วไป ถือการ เพิ่มขึ้น ของ titre จากเดิม สี่เท่า ร่วมกับ การหา Ig-M antibodies เป็น การติดเชื้อ ชนิดเฉียบพลัน และ อาจใช้ การตรวจ ทางกล้องจุลทรรศน์ อิเล็คตรอน ช่วยใน การวินิจฉัย