เชื้อปาราสิต เมื่อไปอยู่ตาม อวัยวะต่างๆแล้ว ร่างกาย จะมีปฎิกิริยา ตอบโต้ต่อ เชื้อปาราสิต เพื่อกำจัดมัน ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

ก. ปฎิกิริยาเฉพาะที่ (local reaction)

1. โดยการกินเชื้อปาราสิต (phagocytosis) อาศัยเซลล์จาก mononuclear phagocytic system.
2. เกิดการอักเสบ (inflammatory reaction) ส่วนใหญ่เป็นชนิดเรื้อรัง (chronic inflammation) ได้แก่
เซลล์อักเสบชนิด eosinophils, lymphocytes และ plasma cells.
3. เกิดการสะสมของเยื้อพังพืด (fibrosis) มาล้อมรอบตัวปาราสิต เพื่อหยุดยั้งการเคลื่อนที่ของมัน
4. เกิดการพอกของสารแคลเซี่ยม (calcification) ในระยะสุดท้ายของการอักเสบ และมี fibrosis ล้อมรอบตัวปาราสิตแล้ว ร่างกายอาจสะสมสารแคลเซี่ยมมาพอกตัวปาราสิตอีกชั้นหนึ่ง เพื่อเสริมสร้างเกาะหุ้มตัวปาราสิตให้แข็งแรงขึ้น ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นภายหลังเชื้อปาราสิตตายแล้ว

ข. ปฎิกิริยาทั่วไป (systemic reaction) ผู้ป่วยมีไข้และภูมิคุ้มกัน (immunity) มากขึ้น