โรคที่เกิดจากพยาธิใบไม้ในปอด (Lung flukes)

Paragonimiasis

(Oriental lung flukes, pulmonary distomiasis, endemic hemoptysis)
 

โรคนี้ เกิดจาก พยาธิ Paragonimus westermani ปัจจุบัน พบว่า species อื่นๆ ก็สามารถ เกิดใน คน ได้ เช่น P. africanus, P. skrjabini และ P. heterotremus เป็นต้น สำหรับ P. westermani เป็นพยาธิใบไม ้ที่สำคัญ พบได้ใน ประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ตอกกลางของ ประเทศจีน และฟิลิปปินส์ สำหรับ ประเทศไทย มีรายงาน ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2471 จาก จังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อมาปี พ.ศ.2498 ถึง พ.ศ. 2500 พบ ระบาดที่ อำเภอหนองหมู จังหวัดสระบุรี นับเป็น การพบ แหล่ง แพร่กระจาย ครั้งแรกใน ปรเทศไทย และยังมี รายงาน พบ ระบาด ที่ นครนายก จันทบุรี นอกจากนั้น ยังมี รายงาน ผู้ป่วย ที่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพิษณุโลก อย่างละราย เป็นต้น

วงจรชีวิต ตัวแก่ ที่อาศัย อยู่ใน ปอด จะผลิต ไข่ ซึ่งมี ตัวอ่อน ของพยาธิ ไว้ใน หลอดลม เป็น จำนวนมาก ไข่ เหล่านี้ จะถูก ไอ ออกมา จาก ปอด หรือ กลืนลง สู่ ทางเดินอาหาร และ ปะปน ออกมา กับ อุจจระ ตัวอ่อน miracidia จะฟักตัว ออกมา เมื่ออยู่ ในน้ำ ตัวอ่อน เหล่านี้ จะว่าย ไปใน น้ำ และ ไช เข้าไป อาศัย ใน หอย น้ำจืด เพื่อเจริญ เติบโต กลายเป็น ตัวอ่อน cercariae จากนั้น ตัวอ่อน ระยะนี้ จะออกจาก หอย ว่ายไป อาศัย อยู่ใน สัตว์น้ำ จำพวก ปู และกุ้ง และ เจริญเติบโต ไปเป็น ตัวอ่อน ระยะ ติดต่อ metacercariae
 

คน ติดโรคนี้ โดยกิน เนื้อปู บางชนิด แบบ ดิบๆ สุกๆ เข้าสู่ ลำไส้ ตัวอ่อน metacercariae จะไช เข้าสู่ ผนังลำไส้ บริเวณ duodenum และ ทะลุ ออกสู่ ช่องท้อง ไช ไปที่ กระบังลม และ ทะลุ เข้าสู่ ช่องปอด เยื่อหุ้มปอด และในที่สุด ไชเข้าสู่ เนื้อปอด เพื่อเจริญ เติบโต เป็น ตัวแก่ และทำให้เกิด พยาธิสภาพ ต่างๆ ภายใน ปอด ต่อไป สัตว์อื่นๆ สามารถ ติดเชื้อ นี้ได้ เช่นกัน เช่น สุนัข แมว หมู เป็นต้น

พยาธิสภาพและอาการทางคลีนิค เกิดจาก การไช ไปใน อวัยวะ ต่างๆใน ร่างกาย คน ตาม ทางเดิน ในวงจร ชีวิต หรือ นอกทางเดินปกติ ของมัน แบ่งตาม กลุ่มอาการ ดังนี้

Abdominal paragonimiasis เป็นกลุ่ม อาการ ทางคลินิค ซึ่งพบ ไม่บ่อยนัก ขณะที่ ตัวอ่อน ไชทะลุ ผ่าน อวัยวะ ต่างๆ เพื่อไปที่ ปอด ผู้ป่วย จะมี อาการ ปวดท้อง และ ท้องเสีย บางครั้ง คลำก้อน ได้ในท้อง อาจตรวจพบ ตัวพยาธิ ได้ใน ตับ และ ตับอ่อน ต่อมน้ำเหลือง อาจโต และอักเสบ อาจเกิด หนองฝี ที่บริเวณ ผิวหนัง และ เนื้อเยื้อต่างๆ อวัยวะอื่น ในร่างกาย อาจ ตรวจพบ ตัวพยาธิ ไชไปได้ เช่น ลูกตา หรือ เนื้อเยื่อรอบๆ ลูกตา หัวใจ และ เยื่อหุ้มหัวใจ ช่องอก เต้านม ไต และ ไขกระดูก

Pulmonary paragonimiasis เมื่อตัวอ่อน ไชทะลุ เข้าสู่ ปอด จะทำให้ เกิดช่องว่าง ขนาดเล็ก ทั่วไป ในเนื้อ ปอด และ เกิด การอักเสบ ขึ้น เซลล์อักเสบ ส่วนใหญ่เป็น ชนิด eosinophils และ polymorphonuclear cells พร้อมกับ มีเยื่อหุ้ม fibrous มาล้อมรอบ ตัวพยาธิ ภายใน ช่องว่าง เหล่านี้ พบน้ำขุ่นๆ สีน้ำตาล คล้ายสีกะปิ ภายใน พบไข่ พยาธิ เป็น จำนวนมาก ไข่เหล่านี้ เมื่ออยู่ใน หลอลม ขนาดเล็ก ทำให้ เกิด การอักเสบ แบบ granuloma รอบๆ หลอดลม นอกจากนั้น ยังอาจพบ ภาวะ แทรกซ้อน ในปอด ร่วมด้วย เช่น ปอดอักเสบ เป็นต้น
 

ผู้ป่วย มีอาการ ไอเรื้อรัง ไอมี สมหะหรือ ไอปนเลือด เสมหะ มีลักษณะ เหนียว เป็นมัน สีคล้ำคล้าย สนิมเหล็ก หายใจ ลำบาก เจ็บแน่น หน้าอก ภาพรังสี พบเป็น diffuse infiltration หรือ เป็นก้อน (nodule) หรือเป็น วงแหวน ทึบแสง (annular) นอกจากนี้ อาจเกิด เป็น หนอง ในปอด มีลม หรือ น้ำใน ช่องปอดได้ ตรวจเสมหะ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะพบ ไข่ ของพยาธิ ชนิดนี้

Cerebral paragonimiasis ทางเดิน เข้าสู่ สมอง ของตัวอ่อน เป็นอย่างใด ยังไม่เป็น ที่ทราบแน่ชัด เข้าใจว่า อาจผ่าน มาตาม กระแสโลหิต หรือ เยื่อรอบๆ หลอดเลือด และเส้นประสาท เมื่อเข้าถึง สมอง ทำให้เกิด การตาย ของเนื้อ สมอง บริเวณที่ ตัวอ่อน ไชไปอยู่ และเกิดเป็น cyst หุ้มด้วย ผนังบาง ภายใน cyst พบไข่ ของพยาธิ พร้อมกับ เศษเนื้อตาย และผลึก Charcot - leyden เนื้อเยื่อรอบๆ cyst ประกอบ ด้วยเซลล์อักเสบ ชนิด eosinophils, plasma cells และ lymphocytes ต่อมาพยาธิสภาพ เปลี่ยนเป็น แบบ granuloma หุ้มรอบ ๆ ไข่เหล่านี้
 

ผู้ป่วย มีอาการ ของ space-occupying lesion อาจพบ การชัก แบบ Jacksonian มีอาการ อ่อนเปลี้ย สายตา ผิดปกติ อาจตรวจ พบ optic atrophy และ papilledema อาการ ส่วนมาก พบใน เด็ก นอกจากนี้ อาจพบ พยาธิสภาพ ในไขสันหลัง ทำให้เกิด เป็นอัมพาต ขาดความรู้สึก เจ็บปวด เกิด ปัสสวะ หรืออุจจระ ราดได้

Cutnaneous paragonimiasis ตรวจพบก้อน หรือ ซิส ที่ผิวหนัง อาจไม่มี พยาธิสภาพ ที่ปอด เลย ภายใน ก้อน หรือ ซิส พบตัวอ่อน และ การอักเสบ ของเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ ยังพบ ลักษณะ อาการบวม เคลื่อนที่ แบบ cutaneous larva migran ที่เกิดจาก P. heterotremus ตาม ร่างกายได้

การวินิจฉัย ตรวจพบ ไข่ใน เสมหะ หรืออุจจาระ หรือตรวจปฎิกิริยาน้ำเหลือง