โรคที่เกิดจากพยาธิใบไม้ในตับ (Liver flukes)
Opisthorchiasis
 
เกิดจาก พยาธิใบไม้ ในตับ Opisthorchis felineus และ Opisthorchis viverrini ชนิดหลังนี้ พบมาก ทางภาคอีสาน ของประเทศไทย ลาว และ ภาคตะวันตก ของมาเลเชีย ส่วน ชนิดแรก พบมาก ในประเทศลิเบีย บางส่วน ของตะวันออกกลาง  และ ยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะ ประเทศโปแลนด์ และ รัสเซีย ทางแถบเอเชีย พบมาก ในประเทศเวียดนาม พบ ประปราย ในประเทศอินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น สัตว์จำพวก สุนัข และแมว เป็น definitive host คนถือ เป็น accidental host

 
ประเทศไทย จากการสำรวจ เมื่อปี พ.ศ.2523-2524 โดยตรวจ อุจจาระ ประชากรไทย ทั่วทั้งประเทศ พบไข่ พยาธิ Opisthorchis viverrini 14.72% โดย ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ พบ 34.60% ภาคกลางพบ 6.68% ภาคเหนือพบ 5.59% และ ภาคใต้พบเพียง 0.01%

 
เมื่อ เทียบกับ การสำรวจ เมื่อปี พ.ศ.2500 พบ พยาธิใบไม ้ในตับ ทั่วประเทศ คิดเป็น ร้อยละ 22.1 โดยแบ่งเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบ 29.8% ภาคเหนือพบ 10.3% ภาคกลางพบ 0.3% ภาคใต้ ไม่พบเลย

 
เนื่องจาก ประชากร ทาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชอบทาน เนื้อปลาดิบๆ  นำมา ทำเป็น ก้อยปลา โดย คลุก หรือ ยำกับ มะนาว และ พริก นอกจากนี้ ยังมี ปลาส้ม และปลาจ่อม เป็นต้น ทำให้ ภาคนี้ มีประชากร ติดเชื้อ ปาราสิต ชนิดนี้ กันมาก และ มากกว่า ปาราสิต ชนิดอื่นๆ ที่มีในภาคนี้

วงจรชีวิต ตัวแก่ อาศัย อยู่ใน ท่อน้ำดี ปล่อยไข่ ที่มี ตัวอ่อน (embryonated eggs) ปะปน ออกมากับ อุจจระ จากนั้น สัตว์ จำพวก หอย (snail) มาทาน ไข่ เหล่านี้ เข้าไป ตัวอ่อน เพิ่มจำนวน และ เจริญเติบโต ในตัว หอย จนได้ ตัวอ่อน ระยะ cercariae และ ตัวอ่อน ระยะ cercariae เหล่านี้ จะว่าย ออกจาก หอย ไปตามน้ำ และ เข้าไป เจริญ เป็นตัวอ่อน ระยะ ติดต่อ metacercariae โดยอยู่ เป็นซิส ในสัตว์น้ำ บางชนิด เช่น ปลาน้ำจีด เป็นต้น สัตว์ที่ เป็น definitive host มาทาน สัตว์น้ำ เหล่านี้ อย่างดิบๆ สุกๆ เข้าไปใน ทางเดินอาหาร ที่บริเวณ ลำไส้ แถว duodenum ตัวอ่อน metacercariae จะหลุด ออกจาก ซิส เดินทางไปที่ ท่อน้ำดี และ เจริญเป็น ตัวแก่ ในท่อน้ำดี เหล่านี้ ต่อไป ครบวงจรชีวิต

การติดเชื้อ เกิดจาก คน ทานเนื้อ ปลาดิบ ตัวอ่อน (metacercariae) ในเนื้อปลา จะเกาะ ติดที่ผนัง ลำไส้ ของคน แถวบริเวณ duodenum และไปที่ Ampulla of Vater, common bile duct กับ intrahepatic duct ที่บริเวณ ท่อเหล่านี้ ตัวอ่อน เจริญเติบโต เป็น ตัวแก่ ถ้ามี จำนวน มากพอ อาจทำให้ การไหล ของน้ำดี ไม่สะดวก เกิดการ อุดตัน ของท่อน้ำดี ได้

อาการทางคลีนิค อาการ และ การตรวจพบ ขึ้นกับ จำนวน มากน้อย ของ การติดเชื้อ ซึ่งจะ เพิ่มขึ้น ตามจำนวน ครั้งที่ ทานเนื้อ ปลาดิบ ที่มี ตัวอ่อน metacercariae ฝังอยู่ บางราย อาจไม่มี อาการใดๆ ตลอดชีวิต ของ การติดเชื้อ แม้ว่า ตัวแก่ ในท่อน้ำดี จะผลิตไข่ ออกมา อย่างสม่ำเสมอ ตลอดเวลา โดย ไม่ได้ ทานปลาดิบ เพิ่มเติม
 

ระยะเริ่มแรก ส่วนใหญ่ มีอาการ เบื่ออาหาร ท้องเดิน รู้สึกแน่นท้อง อึดอัด บริเวณ ใต้ชายโครงขวา ตับโต และเจ็บ บางครั้ง บางราย อาจมี อาการ ตัวเหลือง ได้เล็กน้อย ตรวจเลือด วิเคราะห์ การทำงาน ของตับ มักจะ ไม่พบ ความผิดปกติ ที่ชัดเจน อาจต้อง ตรวจ อุจจระ หลายครั้ง เพื่อหา ไข่พยาธิ ในเลือด พบ eosinophil เพิ่มเล็กน้อย (ไม่เกิน 20%) ระยะ เรื้อรัง ถ้ามี การติดเชื้อ เพิ่มขึ้น และมี ไข่ผลิต ออกมา เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิด พยาธิสภาพ ต่อ ท่อน้ำดี และ ตับ ผู้ป่วย ระยะนี้ จะมี อาการ ตาเหลือง ตัวเหลือง เนื่องจาก เกิดการ อุดตัน ท่อน้ำดี และ ท่อน้ำดี อักเสบ ทำให้เกิด หนองฝี ในตับ เกิด ซิส ในตับ ตับอ่อนอักเสบ เกิด fistula เป็นต้น นอกจากนั้น มักพบ ร่วมกับ การเป็น โรคตับแข็ง และ มะเร็งของ ท่อน้ำดี ในตับ โดย พยาธิใบไม้ ในตับ มีส่วนร่วมกับ อาหาร บางอย่าง ที่มีสาร พวก nitrosamine ค่อนข้างสูง เช่น ปลาร้า เป็นต้น ทำให ้ก่อ มะเร็ง ในตับได้

พยาธิสภาพ ระยะ แรก ตัวอ่อน metacercariae ทำให้เกิด การอักเสบ ในท่อน้ำดี และ เนื้อเยื่อ บริเวณ พอทัล(portal) และ ในเนื้อตับ พบ การตาย แบบ focal coagulation necrosis ต่อมา เมื่อเจริญ เป็น ตัวแก่ และ ปล่อยไข่ ท่อน้ำดี มีการเพิ่ม จำนวน มากขึ้น และเกิด adenomatous hyperplasia ของเยื่อบุผิว ท่อน้ำดี ร่วมด้วย นอกจากนี้ ตัวแก่ และ ไข่ยัง เหนี่ยวนำ ให้เกิด การอักเสบ แบบ granulomatous ได้อีกด้วย ต่อมา ในระยะ เรื้อรัง เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน บริเวณ พอทัล มาพอก มากขึ้น ทำให้เกิด เป็น แผลเป็น ในตับ

การวินิจฉัยโรค โดยกา รตรวจพบ ไข่พยาธิ ในอุจจาระ หรือใน ของเหลว ที่ดูดจาก ลำไส้เล็ก ส่วนต้น