ไข้จับสั่น
(Malaria)
เป็นโรค ที่พบได้ทั่วโลก โรคติดต่อ ชนิดนี้เป็น ปัญหาหลัก ในทาง สาธารณสุขของ ประเทศไทย ในด้าน การกำจัด และป้องกัน นอกจากนี้ ยังเป็น ปัญหา ในด้าน การรักษา เพราะเชื้อ มาลาเรีย มักจะ ดื้อยา ที่รักษา มีผู้ป่วย เสียชีวิตจาก โรคนี้เป็น จำนวนมาก เป็นปัญหา คู่มากับ ประวัติศาสตร์ ของโลก มีผู้ ประมาณ กันว่าในปี ค.ศ.1973 เฉพาะทวีปอัฟริกา มีผู้ป่วย ด้วยโรค มาลาเรีย ถึง 96 ล้านคน แม้ใน ยามสงคราม เชื้อมาลาเรีย ทำให้ กองทหาร ป่วยเป็น โรคนี้และ เสียชีวิตไป เป็นจำนวนมาก จนบางคน กล่าวไม่เกิน ความจริง ไปว่า เชื้อมาลาเรีย ได้ทำลาย กองทัพ มากกว่า ฝ่ายข้าศึก ทำลายเสียอีก
เชื้อปาราสิต ชนิดนี้ มีชื่อ ทางการแพทย์ ว่า Plasmodium มีอยู่ 4 ชนิด คือ P.vivax, P.falciparum, P.malariae และ P.ovale คนเป็น reservoir ที่สำคัญ พาหะนำโรค นี้ได้แก่ ยุง ก้นปล่อง ตัวเมีย (Anopheles)

วงจรชีวิต วงจรชีวิต แบ่งเป็น 2 แบบ แบบไม่อาศัยเพศ (asexual or schizogony) อยู่ในคน ส่วนแบบ อาศัยเพศ (sexual or sporogony) อยู่ในยุง เมื่อยุง กัดคน เชื้อ sporozoites จากยุง เข้าสู่ กระแสเลือด และ เข้าไป สู่เซลล์ตับ ภายในเซลล์ตับ เจริญเติบโต เป็นระยะ schizonts ต่อมาเซลล์ตับ แตกออก และ schizonts ปล่อยเชื้อ ระยะ merozoites เข้าสู่ กระแสเลือด เพื่อเข้าไป อาศัยอยู่ใน เม็ดเลือดแดง ต่อไป จากนั้น merozoites เจริญ ต่อไป เป็น trophozoites ภายใน เม็ดเลือดแดง ระหว่างที่ กำลังเจริญ เติบโตอยู่ใน เม็ดเลือดแดง เชื้อมาลาเรีย จะ เปลี่ยนแปลง ฮีโมโกลบิน ไปเป็น malarial pigment (hemozoin) ซึ่งเป็น สารผลึก ที่สะท้อนแสง ให้เห็นได้ (birefringent) ขณะผ่าน แสงโพลาไรส (polarized light) เมื่อ เม็ดเลือดแดง แตก เชื้อ trophozoites จะเข้าไป อยู่ใน เม็ดเลือดแดง ตัวใหม่ ต่อไป ส่วนสาร malarial pigment จะถูกจับ กินโดย เซลล์ reticuloendothelial system นอกจากนี้ trophozoites ที่อยู่ใน เม็ดเลือดแดง ยังอาจ แพร่พันธุ์ต่อไป เป็นแบบ schizogony ในคน หรือแบบ gametogony เพื่อเข้าสู่ตัวยูง Anopheles ต่อไป

อาการทางคลีนิค: ผู้ป่วยมีไข้ และ หนาวสั่น เป็นระยะๆ สลับกันไป เนื่องจาก การแตกของ เม็ดเลือดแดง ที่มีเชื้อ มาลาเรีย พร้อมกับมี การขยายตัวของ หลอดเลือดฝอย อุณหภูมิใน ร่างกาย สูงขึ้น พร้อมกับ อัตราการเต้น ของหัวใจ และการหายใจ เพิ่มมากขึ้น หลังจาก ไข้ลด ผู้ป่วยส่วนมาก มีเหงื่อ ออกมาก และผิวหนัง เย็นชื้น พร้อมกับ อุณหภูมิใน ร่างกายลดลง เกิดการหนาวสั่น หลังจากนั้น เมื่อ เชื้อมาลาเรีย ที่อยู่ใน เม็ดเลือดแดง ชุดใหม่เริ่ม แตกอีก อาการไข้ ก็จะเริ่มต้น รอบใหม่อีกครั้ง ระยะเวลา ส่วนมากห่างกัน ประมาณ 48 ชั่วโมง ผู้ป่วย ส่วนมาก ซีด(anemia) เกิดจาก การแตกของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) ตลอดระยะที่มี การติดเชื้อ ใน เม็ดเลือดแดง และเกิด hypersplenism ทำให้มี จำนวนเม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือด (platelets) ลดลง เกิดภาวะ thrombocytopenia, plasma fibrinogen อาจเพิ่มขึ้น หรือลดลง และตามมาด้วยความผิดปกติ ของการแข็งตัว ของเลือด (coagulopathy) ชนิด DIC ได้
 

สาเหตุ การตาย ของ ผู้ป่วย ส่วนมาก เกิดจากมี พยาธิสภาพใน สมอง บางราย เกิดจาก การทำงาน ของ ไต ล้มเหลว (renal failure) หรือเกิดจากระบบ การหายใจ ล้มเหลว (pulmonary insufficiency) เนื่องจาก ปอดบวม หรือจาก หลายสาเหตุ ร่วมกัน

 
ในกรณี ที่เกิดกับ สมอง (cerebral malaria) ผู้ป่วย จะมี อาการ ซึม สับสน และ ในที่สุด ไม่รู้สึกตัว ในกรณี ที่เกิดกับ ไต ผู้ป่วย มีปัสสวะ น้อยลง พบไข่ขาว และฮีโมโกลบิน ใน น้ำปัสสวะ ในราย ที่เกิด ปอดบวม จะมี อาการ หายใจหอบ เกิดอาการ acute pulmonary insuffiency ร่วมกับ DIC และ ตาย ในที่สุดได้ ในกรณี ที่เกิดกับ ลำไส้ พบอาการ ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน เป็นเลือด

 
นอกจากนั้น ยังพบว่า โรคเลือด บางชนิด ที่ถ่ายทอด ทางกรรมพันธุ์ เช่น sickle hemoglobinopathy และ glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency พบใน ประชากร ที่อาศัย อยู่ใน แหล่งระบาด ของโรค มาลาเรีย ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะ เม็ดเลือดแดง แตกง่าย ทำให้ เชื้อมาลาเรีย อยู่ใน เม็ดเลือด ไม่นาน

Congenital malaria: เป็นใน เด็กแรกเกิด ได้รับ เชื้อ มาจาก มารดา โดยตรง ในขณะ ตั้งครรภ์ และ ผ่าน เข้าสู่ ทารก ในระหว่าง คลอด เชื่อว่า ผ่านทางรก ขณะแยกตัว ออกจาก มดลูก ระหว่างคลอด และ เด็ก ต้องไม่เคย เข้าไปใน แดนมาลาเรีย หรือติดเชื้อ มาจาก ยุง เชื้อมาลาเรีย ที่พบเป็น ชนิด P.falciparum และ P.vivax รายงาน ส่วนมาก เกิดจาก P.vivax เด็ก ส่วนมาก มีอาการ หลังจากคลอด ประมาณ 3 ถึง 8 อาทิตย์ มีไข้ ตับ ม้าม โต ซีด ตัวเหลือง ซึม ร้องกวน ไม่ดูดมม อาเจียน

พยาธิสภาพ: เชื้อมาลาเรีย ในเม็ดเลือดแดง ถูกพัดพา ไปตาม หลอดเลือดต่างๆ ในร่างกาย จนถึง ระดับเส้นเลือดฝอย ของอวัยวะต่างๆ เม็ดเลือดแดง เหล่านี้มี คุณสมบัติ เกาะติดผนัง หลอดเลือด ได้ง่าย ทำให้เลือด เกิดความหนืด มากขึ้น เมื่อไหล่ผ่าน เส้นเลือดฝอย ขณะเดียวกัน ส่วนประกอบ การแข็งตัว ของเลือด มีความผิดปกติ ไปด้วย จากการเปลี่ยนแปลง ทั้งในส่วนของ เม็ดเลือดแดง เอง และในส่วน พลาสม่า ของเลือด รวมทั้ง การเกิด ก้อนตะกอนไฟบริน (fibrin thrombi) ในหลอดเลือด ขนาดเล็ก โดยเฉพาะที่ สมอง ปอด หัวใจ ตับ และไต เป็นต้น ทำให้ เซลล์ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ขาดออกซิเจน มากน้อย เท่าไร ขึ้นกับ ชนิดของ อวัยวะ และสภาวะ ทางร่างกาย ของผู้ป่วย ขณะนั้น อวัยวะที่ สำคัญเหล่านี้ ได้แก่ สมอง ตับ ม้าม และปอด เกิด focal necrosis ได้
 

เซลล์ ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย มีปฎิกิริยา ต่อการ ติดเชื้อ มาลาเรีย ด้วยการเพิ่ม จำนวน เซลล์กินเชื้อ (reticulo-endothelial system) เช่น Kupffer cell ในตับ และmacrophage ในม้าม เป็นต้น นอกจากนี้ malarial pigment ถ้ามา สะสม ในอวัยวะ มาก ทำให้ อวัยวะ ที่ติดเชื้อ มีสี เทาคล้ำ (slate-gray) เห็นได้ชัดที่ สมอง และม้าม

พยาธิสภาพของสมอง พบว่า สมอง มีลักษณะ บวม และหนัก กว่าปกติ gyri กว้าง ขึ้นและ แบนราบ เนื้อสมอง ติดสี เทาเข้ม และ พบว่า สมองส่วน uncinate, cingulate gyri และ cerebellar tonsils เกิดเป็น แอ่ง หรือ ร่อง จากการ กดทับ ของสมองที่ บวม หน้าตัด สมอง พบการคั่ง ของเลือด (congestion) และมี จุดเลือดออก (petechiae) ใน white matter ภาพจาก กล้องจุลทรรศน์ พบ malarial pigment ใน หลอดเลือดฝอย (ring hemorrhage) พร้อมกับ หลอดเลือด ขยายออก และมี  การคั่งของ เม็ดเลือดแดง ตรวจพบ หย่อมเนื้อตาย (necrosis) ของ สมอง บริเวณใกล้เคียง พร้อมกับมี จุดเลือดออก พบว่า glia cell เพิ่มจำนวน มากขึ้น บางครั้ง พบหย่อมของ demyelinization และ axonal degeneration เนื่องจาก ผลของ การขาด ออกซิเจน

พยาธิสภาพของตับ พบว่า หนัก กว่าปกติ มีสี เทาเข้ม หรือ เหลือง หน้าตัดของ ตับ พบ การคั่งของเลือด ในเนื้อ ตับ (congestion) พยาธิสภาพ ทางกล้องจุลทรรศน์ พบ Kupffer cell เพิ่มจำนวนมากขึ้น และเซลล์ โต กว่าปกติ ภายใน เซลล์พบ malarial pigment ตัวปาราสิต และ เม็ดเลือดแดง สำหรับเซลล์ ตับพบ cloudy swelling หรือ fatty metamorphosis สำหรับ บริเวณ central vein พบ centrilobular necrosis

พยาธิสภาพของม้าม ม้าม โต กว่าปกติ มีสี เทาคล้ำ (slate-gray) และนิ่ม กว่าปกติ พยาธิสภาพ จากกล้องจุลทรรศน์ พบ ลักษณะ congestion และเซลล์พวก reticulo-endothelial system เพิ่มจำนวน มากขึ้น และพบ malarial pigment เป็น จำนวนมาก ในเนื้อเยื่อ ของม้าม

พยาธิสภาพของไต ไต มีขนาด โตขึ้น เล็กน้อย และ บวม เมื่อตรวจด้วย กล้องจุลทรรศน์ พบ malarial pigment ใน glomeruli และใน หลอดเลือด ขนาดเล็ก แถว cortex และ medulla ใน ผู้ป่วย ที่มี ภาวะช็อค และมี ปัสสาวะ น้อย กว่าปกติ จะพบมี tubular necosis และ hemoglobin cast ภาวะ การติดเชื้อ มาลาเรีย ทำให้เกิดโรค ทางภูมิต้านทาน ในไต ได้ เช่น เกิด immune complex glomerulonephritis เป็นต้น

พยาธิสภาพของหัวใจ ห้องทั้งสี่ ของหัวใจ ขยาย ออกกว้าง และเนื้อหัวใจ นิ่ม หรืออาจพบ จุดเลือดออก บริเวณ เยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium) และ เยื่อบุผนังหัวใจ (endocardium) ภายใน กล้ามเนื้อหัวใจ (myocardium) พบ เลือดคั่ง ในหลอดเลือดฝอย พร้อม malarial pigment นอกจากนี้ เซลล์อักเสบ พวก lymphocyte และ histiocyte พบได้ ประปราย

พยาธิสภาพของปอด พบมี congestion และ edema (บวมน้ำ) ใน ถุงลมปอด (alveoli) พบ malarial pigment ใน หลอดเลือดฝอย และ ผนังของ ถุงลมปอด หนาขึ้น พบ เซลล์อักเสบ ชนิด monocytes, lymphocytes และ plasma cells

พยาธิสภาพของลำไส้ มีการ บวม และ เลือดคั่ง ในหลอดเลือด ของ ผนังลำไส้ หรืออาจพบ หย่อมเลือดออก กระจายในชั้น ผนังลำไส้ เม็ดเลือดแดง ที่ติด เชื้อมาลาเรีย สามารถพบ เห็นได้ ทั่วไป โดย พบมาก ที่ เยื่อบุผนังลำไส้

พยาธิสภาพของไขกระดูก  ตรวจพบ malarial pigment ใน เซลล์กิน สารแปลกปลอม (phagocytic cells) และใน เม็ดเลือดแดง จำนวน เม็ดเลือดแดง และ เม็ดเลือดขาว เพิ่มมากขึ้น

พยาธิสภาพของรก  ในกรณี ที่แม่ ติดเชื้อ มาลาเรีย หลัง ระยะครรภ์ สามเดือนแรก รก จะติดเชื้อ ได้ง่ายขึ้น พบ เชื้อมาลาเรีย เป็น จำนวนมาก ใน กระแสเลือด ส่วนของแม่ ในตัวรก อาจทำให้ เกิดการ แท้งลูก หรือ อาจทำให้ แม่ถึง กับ เสียชีวิต ได้

นอกจากนี้ อาจพบ malarial pigment ใน ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ได้ เช่น ผิวหนัง กล้ามเนื้อ หรือ เนื้อเยื่อต่าง ๆ เป็นต้น
การวินิจฉัย: โดยการ เจาะเลือด ทำ blood smear ทั้ง แบบบาง และ แบบหนา เพื่อ ย้อมหา เชื้อ plasmodium หรือจาก การตรวจศพ ดูจาก ชิ้นเนื้อ ด้วย กล้องจุลทรรศน์ เพื่อหา malarial pigment เป็นเม็ดกลม ขนาดเล็ก สีน้ำตาลดำ ซึ่งสะท้อนแสง ให้เห็น เมื่อผ่าน แสงโพลาไรส แต่อย่างไร ก็ตาม การตรวจหา malarial pigment จาก ชิ้นเนื้อ พยาธิตาม วิธีการ ดังกล่าว อาจ วินิจฉัย ตะกอน ฟอร์มาลิน ในชิ้นเนื้อ ผิดเป็น malarial pigment ได้ หรือ ตรวจหา การติดเชื้อ มาลาเรีย ด้วยปฎิกิริยา น้ำเหลือง ได้ เช่น indirect hemagglutination antibody (IHA), ELISA, indirect fluorescent antibody test(IFA), complement fixation(CF).